กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
ควบคุมโรคในโรงเรียน วัด และสถานที่ราชการ1 พฤษภาคม 2568
1
พฤษภาคม 2568รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนเทศบาลตำบลบ้านสวน
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.ประสานงาน ร่วมกับหน่วยงานกับครู นักเรียน อสม. ผู้นำชุมชน พระภิกษุ และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงาน

2.ประชาสัมพันธ์การรณรงค์พร้อมให้ความรู้แก่นักเรียน โดยใช้ระบบเสียงตามสายในโรงเรียน

3.รณรงค์พ่นสารเคมีกำจัดตัวแก่ยุงลาย ในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วัด และสถานที่ราชการ

4.อสม.นักเรียน พระภิกษุ และเจ้าหน้าที่พนักงานส่วนราชการ ในพื้นที่ ร่วมรณรงค์สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในภาชนะที่มีน้ำขัง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง แผนการพ่นยุง ลำดับที่ สถานที่ ว/ด/ป เวลา หมายเหตุ 1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบ้านสวน 01/05/68 15.30-16.30 น
2. รร.วัดประดู่เรียง 02/05/68 16.00-17.00 น
3. รร.วัดดอนศาลา 06/05/68 16.00-17.00 น
4. รร.ดอนศาลานำวิทยา 07/05/68 16.00-17.00 น
5. รร.วัดบ้านสวน 13/05/68 16.00-17.00 น
6. รร.วัดเขาอ้อ 14/05/68 16.00-17.00 น
7. วัดดอนศาลา 15/05/68 16.00-17.00 น
8. วัดเขาอ้อ 16/05/68 16.00-17.00 น
9. วัดบ้านสวน 19/05/68 16.00-17.00 น
10. วัดมะกอกเหนือ 20/05/68 16.00-17.00 น
11. วัดศักดิ์สิทธิ์ 21/05/68 16.00-17.00 น
12. วัดเขาดิน 22/05/68 16.00-17.00 น
ลำดับที่ สถานที่ ว/ด/ป เวลา หมายเหตุ 13. บริเวณปั้มน้ำมัน ชุมชนใกล้เคียงบ้านผู้ใหญ่วิรัตน์ หมู่ที่ 8 23/05/68 16.00-17.00 น
14. บริเวณชุมชนซอยศรีสาคร หมู่ที่ 8 26/05/68 16.00-17.00 น
15. บริเวณชุมชนหน้าวัดดอนศาลา หมู่ที่ 8 27/05/68 16.00-17.00 น
16. ชุมชนบริเวณริมถนนหน้าวัดมะกอกเหนือ 28/05/68 16.00-17.00 น
17. ชุมชนห้องแถววัดบ้านสวน 29/05/68 16.00-17.00 น
18. บริเวณซอยปากพลีออก 30/05/68 16.00-17.00 น
19. ชุมชนบ้านเขาดินและเขาผี 02/06/68 16.00-17.00 น

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.มีภาคีเครื่อข่ายในการร่วมวางแผนการดำเนินงาน

2.นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก

3.สามารถกำจัดตัวแก่ยุงลาย ในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วัด และสถานที่ราชการ

4.สามารถทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในภาชนะที่มีน้ำขังได้

ควบคุมโรคกรณีระบาด1 มกราคม 2568
1
มกราคม 2568รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนเทศบาลตำบลบ้านสวน
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.รายงานกองทุนฯ เมื่อมีผู้ป่วยระบาดในเขตพื้นที่
2.ประสานข้อมูลกับศูนย์ระบาดวิทยาระดับอำเภอ และการออกสวบสวนโรคเพื่อยืนยันข้อมูล และค้นหาแหล่งรังโรค 3.ประสานทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว(SRRT)ระดับตำบลมะกอกเหนือ
4.พ่นละอองเคมี ตามมาตรการ 0,3,7, และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย โดยคว่ำภาชนะที่มีน้ำขัง, ใส่ทรายอะเบท 5.อสม. สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 1 เดือน
6.รายงานการควบคุมโรค สรุปผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรค ค่าใช้จ่าย -จัดซื้อทรายอะเบท จำนวน 2 ถังๆละ 5000 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท -จัดซื้อหน้ากากอนามัย จำนวน 15 กล่องๆละ 100 บาท เป็นเงิน 1500 บาท -ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่พ่นละอองฝอย/หมอกควัน ครั้งๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 20,000 บาท

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประชาชนในพื้นที่ได้รับการป้องกันโรคที่เกิดจากยุงลาย

รณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน1 มกราคม 2568
1
มกราคม 2568รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนเทศบาลตำบลบ้านสวน
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.ประสานงาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ทีม SRRT ระดับตำบล ผู้นำชุมชน อสม.และประชาชนในชุมชนเพื่อวางแผนการดำเนินงาน 2.จัดหาทรายอะเบท น้ำยาสารเคมีกำจัดยุงลาย เครื่องพ่นสารเคมีกำจัดยุงตัวแก่ กำลังคนและอุปกรณ์ต่างๆเพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินงาน 3.ประชาสัมพันธ์โครงการรณรงค์พร้อมให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ โดยใช้หอกระจายข่าว และเสียงตามสายในหมู่บ้าน 4.รณรงค์สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย โดยพร้อมเพรียงกัน เดือนละ 1 ครั้ง ทั่วพื้นที่ 5.แต่งตั้งอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.)หมู่บ้านละ 3 คน เป็นคณะกรรมการสุ่มประเมินลูกน้ำยุงลาย โดยสุ่มประเมินไขว้สลับหมู่บ้าน เดือนละ 1 ครั้ง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.สามารถลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกให้เหลือไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร 2.ทำให้ประชาชนในชุมชน พฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมการป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก 3.ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก 4.ทำให้ประชาชนทำกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทำให้สามารถลดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายให้น้อยลง