โครงการสร้างกระแสการมีส่วนร่วมทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุลูกน้ำยุงลายในชุมชน
ชื่อโครงการ | โครงการสร้างกระแสการมีส่วนร่วมทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุลูกน้ำยุงลายในชุมชน |
รหัสโครงการ | 68-L1473-02-02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลโคกสะบ้า |
วันที่อนุมัติ | 26 พฤศจิกายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 12,770.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางกุลธิดา สังข์ทอง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลโคกสะบ้า อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.49,99.714place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก และยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา โรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือน มีนาคม - กันยายน ของทุกปีซึ่งเป็นช่วงระหว่างปิดภาคเรียนพอดี และชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิษฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุนชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โรงเรียน อบต. โรงพยาบาลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่องโรคไข้เลือดออกสามารถป้องกันได้โดยการให้ประชาชนร่วมมือกันทำความสะอาด ปรับปรุงสภาพแวดล้อมของบ้านและชุมชน โดยนำมาตรการป้องกันโรคไข้เลือดออก 5 ป. 1 ข. มาใช้ ได้แก่ 1. ปิด ปิดภาชนะกักเก็บน้ำ 2. เปลี่ยนเปลี่ยนถ่ายน้ำ ทุก 7 วัน เช่น แจกันดอกไม้ ถังเก็บน้ำสำหรับอาบ 3. ปล่อยปลาหางนกยูง หรือปลากินลูกน้ำในอ่างบัว หรือที่กักเก็บน้ำที่ไม่มีฝาปิด 4. ปรับปรุง สิ่งแวดล้อมไม่ให้มีน้ำขังในที่ต่าง ๆ 5. ปฏิบัติการดังกล่าวข้างต้นเป็นประจำทุกสัปดาห์ และในช่วงฤดูร้อนต่อช่วงฤดูฝนต้องเพิ่ม 1 ข คือ ขัดภาชนะที่เคยใช้กักเก็บน้ำก่อนมารองรับน้ำครั้งใหม่
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลโคกสะบ้า ได้ตระหนักถึงความปลอดภัยของสุขภาพประชาชน จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์สร้างกระแสการมีส่วนร่วมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชนขึ้นเพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์และลูกน้ำยุงลายเพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธีและเหมาะสมและให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 4.1 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์และลูกน้ำยุงลาย 4.2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธีและเหมาะสม 4.3 เพื่อให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
5.1 ขั้นเตรียมการ
5.1.1 นำแนวคิดเสนอต่อผู้บริหาร
5.1.2 เขียนโครงการเสนอต่อผู้บังคับบัญชาเพื่อขออนุมัติ
5.1.3 ชี้แจงกิจกรรมแก่กลุ่มเป้าหมาย
5.2 ขั้นดำเนินการ
5.2.1 กิจกรรมสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายร่วมกับเจ้าบ้าน โดยสำรวจ ทุก 1 เดือน
5.2.2 จัดกิจกรรมสื่อสารความเสี่ยง โดยแจกแผ่นพับความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก อาการ/สาเหตุ วิธีการป้องกัน รวมไปถึงการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย จำนวน 3 ครั้ง ในเดือนมกราคม พฤษภาคมและสิงหาคม 2568
5.3 ประเมินผลการดำเนินโครงการ
10.1 ชุมชนมีการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์และลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
10.2 ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและมีพฤติกรรมในการควบคุมโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธีและเหมาะสม
10.3 ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
ทำให้ร้อยละของค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI,CI ลดลงไม่เกิน 10
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2567 19:24 น.