โครงการโภชนาการสมวัยสำหรับเด็กเล็ก
ชื่อโครงการ | โครงการโภชนาการสมวัยสำหรับเด็กเล็ก |
รหัสโครงการ | 68-L1473-03-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะบ้า |
วันที่อนุมัติ | 26 พฤศจิกายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 สิงหาคม 2568 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 3,485.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวรัตดิกาล ทองแก้ว |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลโคกสะบ้า อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.49,99.714place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 7 พ.ศ.2562 มาตรา 67 ภายใต้บังคับของกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบล มีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้ (5) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ และสอดคล้องกับมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ มาตรฐานด้านที่ 1 การบริหารจัดการพัฒนาเด็กปฐมวัย ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 การจัดการเพื่อส่งเสริมสุขภาพและการเรียนรู้
ตัวบ่งชี้ย่อย 1.4.1, ตัวบ่งชี้ที่ 1.5 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน ตัวบ่งชี้ย่อย 1.5.2, มาตรฐานด้านที่ 2 ครู/ผู้ดูแลเด็กให้การดูแล และจัดประสบการณ์และการเล่นเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 การส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายและการดูแลสุขภาพ ตัวบ่งชี้ย่อย 2.2.1และ 2.2.4 นั้น
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะบ้า ได้เล็งเห็นความสำคัญของการบริโภคอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด – 6 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ซึ่งเด็กในวัยนี้ควรจะได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม และการกินอาหารถูกต้อง พอเพียงจะทำให้มีโภชนาการที่ดี และนำไปสู่การมีสุขภาพดี ในทางตรงกันข้าม หากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ไม่เพียงพอจะทำให้ขาดสารอาหาร หรือถ้ากินอาหารมากเกินไปก็จะทำให้23เป็นโรคอ้วน อาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิต ของมนุษย์ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในเด็กวัยก่อนเรียน ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กได้เรียนรู้เรื่องการรับรสและพฤติกรรม การทานอาหาร การสร้างประสบการณ์ให้เด็กไม่เลือกทาน เป็นหน้าที่สำคัญของพ่อแม่ และการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่ถูกต้องอย่างแท้จริงเพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัยเติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป จึงได้จัดทำโครงการโภชนาการสมวัย ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อลดปัญหาภาวะทุพโภชนาการของเด็กนักเรียน 2.เพื่อส่งเสริมให้เด็กนักเรียนมีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย 3. เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กมีความรู้ ความเข้าใจ ถึงภาวะโภชนาการในเด็กแรกเกิด – 6 ปี 4. เพื่อให้ผู้ประกอบอาหารกลางวันเด็กมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับภาวะโภชนาการในเด็กแรกเกิด - 6 ปี
|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
- เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะโภชนาการเด็กแรกเกิด – 6 ปี ในช่วงภาคเรียนที่ผ่านมา
2. รายงานความเป็นมาของโครงการโภชนาการสมวัย
3. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ ผู้ปกครองนักเรียน ผู้ประกอบอาหาร เรื่องความสำคัญของการบริโภคอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน
- ติดตามชั่งน้ำหนักเด็ก จดบันทึก สรุปและประเมินผลโครงการ
- ปัญหาภาวะทุพโภชนาการของเด็กนักเรียนลดลง
- เด็กนักเรียนมีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย
- ผู้ปกครองของเด็กมีความรู้ ความเข้าใจ ถึงภาวะโภชนาการในเด็กแรกเกิด - 6 ปี
- แม่ครัวผู้ประกอบอาหารกลางวันเด็กมีความรู้ ความเข้าใจ ถึงภาวะโภชนาการในเด็กแรกเกิด - 6 ปี
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2567 21:11 น.