กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการเฝ้าระวัง ภาวะโภชนาการ และส่งเสริมการพัฒนาการเด็กโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบ้านฝาละมี ประจำปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ L3339-68-01-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบ้านฝาละมี
วันที่อนุมัติ 7 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 15 ตุลาคม 2568
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบ้านฝาละมี
พี่เลี้ยงโครงการ นางวาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 175 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กเล็ก (0-6ปี) ที่ประเมินแล้วมีภาวะพัฒนาการล่าช้า
7.50
2 ร้อยละของเด็กเล็ก (2-6ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ
12.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะ (Well-being) ทั้งมิติทางกาย ใจ สังคม และปัญญา (จิตวิญญาณ) และมิติของคน ครอบครัว และสังคมมากขึ้น โดยเริ่มจากวัยต้นของชีวิต คือ เด็กปฐมวัยซึ่งเป็นวัยที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นวัยที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และเป็นวัยที่เริ่มต้นการรับรู้และรับรู้เพื่อเป็นพื้นฐานของช่วงวัยต่อไป ปัญหาในการดำเนินส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยในชุมชน เขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านฝาละมี พบว่า เด็กยังประสบปัญหาภาวะทุพโภชนาการเป็นจำนวนมาก จากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็ก 0-6 ปี พบว่า เด็ก0-6ปี เขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านฝาละมี ปัญหาภาวะทุพโภชนาการร้อยละ 13.73 , 15.32 , และ 18.50 ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่สูง ปัญหาทุพโภชนาการนี้อาจจะส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านสติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมของเด็กตามมา จำเป็นต้องมีการส่งเสริมภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็กให้มีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้านของชีวิต การแก้ไขปัญหาโดยการมีมุมส่งเสริมโภชนาการและพัฒนาการเด็ก ในสถานพยาบาลและการดำเนินงานแก้ไขปัญหาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กลำพังเจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดน้อยหรือหมดไปได้สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็กและส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฝาละมี จึงได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี ขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักให้ครอบครัวและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดภาวะพัฒนาการล่าช้าเด็กเล็ก (0-6 ปี) ลง

ร้อยละของเด็กเล็ก (0-6 ปี) ที่ประเมินแล้วมีภาวะพัฒนาการล่าช้า

7.50 3.00
2 เพื่อลดภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการของเด็กเล็ก (0-3 ปี) ลง

ร้อยละของเด็กเล็ก (2-6 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

12.00 7.00
3 เพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพของพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็กในการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี

ผู้ปกครองของเด็กมีความรู้ ความเข้าใจ ถึงภาวะโภชนาการและพัฒนาการในเด็ก 0-6 ปี

70.00 90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30,000.00 0 0.00
1 - 30 ม.ค. 68 ร่วมกันประชุมวางแผน สำรวจข้อมูล และจำนวนกลุ่มเป้าหมาย 0 0.00 -
1 ก.พ. 68 - 31 มี.ค. 68 จัดการฝึกอบรมให้ความรู้ / ฝึกทักษะ เรื่องโภชนาการ และการตรวจพัฒนาการเด็ก 0 0.00 -
1 มี.ค. 68 - 31 พ.ค. 68 จัดหาวัสดุและอุปกรณ์ในการดำเนินงานเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ และ การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0 25,000.00 -
1 เม.ย. 68 - 31 ส.ค. 68 สนับสนุนอาหารเสริม ให้แก่เด็ก ที่ขาดสารอาหาร หรือมีภาวะโลหิตจาง 0 5,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1..เด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนทุกคนมีพัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วน และได้รับการติดตามดูแลส่งต่อทันทีเมื่อมีพัฒนาการล่าช้า
2. พื้นที่มีการดำเนินงานเป็นไปตามมาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็ก เจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้รับการพัฒนาศักยภาพ ทักษะ สามารถถ่ายทอดนโยบายลงสู่พื้นที่ ท้องถิ่นตลอดจนครอบครัวมีความรู้ความเข้าใจและสามารถดูแลตัวเองได้ 3.อาสาสมัครสาธารณสุข และผู้ปกครอง มีความรู้ และทักษะการเฝ้าระวังคัดกรองพัฒนาการเด็ก 0- 5 ปี 4.เด็กที่มีพัฒนาการไม่สมวัยได้รับการแก้ไขปัญหาและส่งต่อเพื่อเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2567 00:00 น.