โครงการเด็กไทยฟันดี(โรงเรียนบ้านกูยิ)
ชื่อโครงการ | โครงการเด็กไทยฟันดี(โรงเรียนบ้านกูยิ) |
รหัสโครงการ | 68-L2514-2-15 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กองทุนสนับสนุนเงินโครงการต่างๆ เพื่อโรงเรียนบ้านกูยิ |
วันที่อนุมัติ | 22 พฤษภาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 20,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอับดุลรอหิง สะกะแย |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลลาโละ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 162 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การส่งเสริมสุขภาพช่องปากเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งสำหรับการมีสุขภาพที่ดี ทั้งนี้สิ่งที่สำคัญ คือการดูแลตั้งแต่อยู่ครรภ์มารดาจนถึงวัยผู้สูงอายุ ในวัยเด็กการเกิดฟันผุในกลุ่มวัยเรียนจะทำให้เด็กมีอาการปวดฟัน เคี้ยวอาหารไม่ได้ รับประทานอาหารได้น้อย ทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหารเรื้อรัง และส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต เด็กมีปัญหาในเรื่องการนอนหลับทำให้เด็กมีการเจริญเติบโตช้าส่งผลต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ดังนั้นการดูแลส่งเสริมสุขภาพช่องปากให้เด็กวัยเรียน ต้องเริ่มจากการสร้างความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากต่อตนเอง ครอบครัวและโรงเรียน โดยสามารถจัดการปัจจัยที่เหมาะสมเพื่อการมีสุขภาพช่องปากที่ดี ให้กับเด็กทั้งเรื่องโภชนาการที่เหมาะสมหลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นโทษกับสุขภาพฟัน การดูแลทำความสะอาดช่องปากและฟันอย่างถูกวิธีการสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมรวมทั้งการปลูกฝังให้เด็กมีพฤติกรรมในอนาคตที่ดีต่อไป ซึ่งโรงเรียนบ้านกูยิให้ความสำคัญกับสุขภาพช่องปากของนักเรียนเป็นอย่างยิ่ง โดยเล็งเห็นว่าเด็กนักเรียนที่มีสุขภาพช่องปากและฟันที่ดีจะมีพัฒนาการที่สมบูรณ์และสามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพ โครงการ "เด็กไทยฟันดี" จึงถูกจัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขอนามัยช่องปากที่ดี ด้วยการจัดกิจกรรมแปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวัน และให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาฟันอย่างถูกวิธีและในปีที่ผ่านมาโรงเรียนบ้านกูยิได้รับผลกระทบจากอุทกภัยอย่างหนัก ทำให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในโรงเรียนได้รับความเสียหาย รวมถึงอุปกรณ์สำหรับแปรงฟัน เช่น แปรงสีฟัน แก้วน้ำ และที่แขวนอุปกรณ์แปรงฟัน และสถานที่ที่แปรงฟันของนักเรียนที่ช้ร่วมกันถูกน้ำท่วมจนไม่สามารถใช้งานได้อีก การขาดแคลนอุปกรณ์เหล่านี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก เพื่อฟื้นฟูสภาพแวดล้อมการเรียนรู้และสุขอนามัยของนักเรียน โรงเรียนจึงมีความจำเป็นต้องจัดหาอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการแปรงฟันใหม่ รวมถึงปรับปรุงพื้นที่สำหรับจัดเก็บและใช้งานให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยโครงการนี้ยังเป็นการสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากให้แก่นักเรียน และปลูกฝังพฤติกรรมที่ดีในการดูแลฟันอย่างยั่งยืน
ในการนี้จึงได้จัดทำโครงการเด็กไทยฟันดี เพื่อให้มีการดูแลส่งเสริมสุขภาพช่องปากที่ดีกลุ่มเด็กวัยเรียน ซึ่งมีการอบรมให้ความรู้กับเด็กวัยเรียนให้มีความรู้ ฝึกทักษะการแปรงฟันที่ถูกวิธี รวมถึงการได้รับการดูแลส่งต่อให้กับหน่วยบริการสาธารณสุขกรณีที่มีความจำเป็นต้องส่งต่อรักษาเร่งด่วน เพื่อนำไปสู่การมีสุขภาพช่องปากที่ดีทุกช่วงวัย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 20,000.00 | 0 | 0.00 | |
1 พ.ย. 67 - 30 ก.ย. 68 | อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องดูแลสุขภาพช่องปากให้กับเด็กวัยเรียน | 0 | 20,000.00 | - |
- เด็กวัยเรียนมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่พึงประสงค์และเข้าถึงบริการส่งเสริมสุขภาพช่องปากเพิ่มขึ้น
- เด็กวัยเรียนปราศจากฟันผุเพิ่มขึ้น
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 2567 00:00 น.