โครงการใส่ใจ ดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการในชุมชน
ชื่อโครงการ | โครงการใส่ใจ ดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการในชุมชน |
รหัสโครงการ | L7251-01-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กลุ่มงานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลระโนด |
วันที่อนุมัติ | 18 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2568 - 30 เมษายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 20,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวพรรณทิพา ขาวเรือง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.631,100.374place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันอำเภอระโนด มีผู้พิการทั้งหมด 2,542 คน มีผู้พิการทางกายและการเคลื่อนไหว ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบทั้งหมดจำนวน 1,577 คน และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการถือเป็นหนึ่งในภารกิจที่สำคัญในสถานบริการระดับปฐมภูมิ โดยแนวคิดการฟื้นสมรรถภาพคนพิการที่เป็นที่ยอมรับและมีประสิทธิภาพ ที่ควรนำมาปฏิบัติ คือ การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาระบบบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ ที่เอื้อต่อการเข้าถึงบริการสอดคล้องตามนโยบายโครงการหลักประกันสุขภาพดีถ้วนหน้า ทำให้ผู้พิการได้รับการบริการด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพ และจัดหาอุปกรณ์เครื่อช่วยความพิการได้อย่างทั่วถึง และจากสถานการณ์ปี 2567 ผู้พิการในเขตเทศบาลตำบลบ่อตรุ มีจำนวนทั้งหมด 473 คน มีผู้พิการทางกายและการเคลื่อนไหว จำนวน 212 คน ซึ่งส่วนใหญ่ยังไม่สามารถเข้าถึงการบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ ทำให้ผู้พิการและการเคลื่อนไหว จำนวน 212 คน ซึ่งส่วนใหญ่ยังไม่สามารถเข้าถึงการบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ ทำให้ผู้พิการเกิดภาวะแทรกซ้อน และเกิดความพิการเพิ่มขึ้น ดังนั้นหน่วยงานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลระโนดร่วมกับ รพ.สต.บ่อตรุ รพ.สต.วัดสน และรพ.สต.ระวะ จึงได้จัดทำ " โครงการใส่ใจ ดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการในชุมชน " เพื่อให้ อสม. และ ผู้ดูแลผู้พิการ มีความรู้ ทักษะในฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม สามารถสำรวจผู้ป่วยที่มีความพิการ ที่ยังไม่ได้ดำเนินการจดทะเบียนผู้พิการในชุมชน และสามารถสำรวจจัดหาอุปกรณ์เครื่องช่วยผู้พิการให้ครอบคลุม และสามารถฝึกทักษะการใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยเดินได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม อีกทั้งพัฒนาระบบบริการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการโดยให้ชุมชนเข้่ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนระบบบริการสำหรับผู้พิการมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีกับผู้พิการทำให้ผู้พิการมีโอกาสได้รับการพัฒนาเต็มตามวัยศักยภาพ มีคุณภาพชีวิตที่ดีสามารถกลับมาดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ มีประสิทธิภาพ มีการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงทั้งในสถานบริการลงสู่บ้านครบวงจร สร้างเสริมสมรรถนะเกิดการพัฒนาศักยภาพความเข้มแข็ง ให้แก่บุคลากรสาธารณสุข แกนนำ ภาคีเครือข่าย ทั้งยังเกิดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างเครือข่ายสร้างเสริมผู้พิการได้อย่างทั่วถึงและยั่งยืน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ อสม.และผู้ดูแลผู้พิการ มีความรู้และทักษะในฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการ
|
||
2 | เพื่อให้ อสม.และผู้ดูแลผู้การ สามารถสำรวจผู้ป่วยที่มีความพิการ ที่่ยังไม่ได้ดำเนินการจดทะเบียนผู้พิการในชุมชน
|
||
3 | เพื่อให้อสม. และผู้ดูแลผู้พิการ สามารถสำรวจ และฝึกทักษะการใช้กายอุปกรณ์เครื่องช่วยเดิน ที่จำเป็นสำหรับผู้พิการในชุมชน
|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- ศึกษาข้อมูลของผู้พิการในชุมชน
- เขียนแผน/โครงการ เพื่อเสนออนุมัติงบประมาณ 3.ประชุมชี้แจงโครงการร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยงข้อง
- ประชาสัมพันธ์โครงการภายในชุมชน
- จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์และจัดทำแผนลงเพื่อดำเนินโครงการ
- จัดกิจกรรม "โครงการใส่ใจ ดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการในชุมชน" เข้าฐานอบรมเชิงปฏิบัติการ "ความรู้ สู่ภาคี" * ฐานการดูแลแผลกดทับและการดูดเสมหะ โดยมีแพทย์และพยาบาลเป็นพี่เลี้ยง โดยให้แนะนำการทำแผล, การจัดท่าต่างๆ เพื่อป้องกันแผลกดทับ , การดูดเสมหะที่ถูกวิธี * การใช้ยาที่ถูกวิธี โดยมีเภสัช เป็นพี่เลี้ยง ให้คำแนะนำวิธีการใช้ยาที่ถูกวิธี ผู้ป่วยใช้ยาอย่างไรให้ปลอดภัย * ฐานการบริโภคอาหาร โดยมีนักโภชนากรเป็นพี่เลี้ยง ให้คำแนะนำแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการทำอาหารผสม, ฐานการทำอาหารทางสายยาง, การปรุงอาหาร และการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ * ฐานการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ โดยมีนักกายภาพบำบัดและนักวิชาการเป็นพี่เลี้ยง ให้คำแนะนำการฝึกออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่ถูกวิธี , การฝึกนั่ง การฝึกยืน การฝึกเดิน การสำรวจและฝึกทักษะการใช้กายอุปกรณ์เครื่องช่วยเดิน ที่จำเป็นสำหรับผู้พิการในชุมชน สำรวจผู้ป่วยที่มีความพิการ ที่ยังไม่ได้ดำเนินการจดทะเบียนผู้พิการในชุมชน การฝึกการใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ เป็นต้น * ฐานการฟื้นฟูผู้พิการด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก โดยการนวดบำบัดรักษา การนวดกระตุ้นการกลืน และการประคบสมุนไพร * ฐานการฟื้นฟูสภาพจิตใจผู้พิการ โดยนักจิตวิทยา และนักวิชาการเป็นพี่เลี้ยง ให้การฟื้นฟูสภาพจิตใจและจิตวิญญาณ มุ่งมั่นจะมีชีวิตอยู่ ถึงแม้จะเจ็บป่วย แต่ก็เป็นการป่วยแต่กาย ใจไม่ป่วยเสริมสร้างพลังจิตใจ
- สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน
- เพื่อให้อสม.และผู้ดูแลผู้พิการ มีความรู้และทักษะในฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
- เพื่อให้อสม.และผู้ดูแลผู้พิการ สามารถสำรวจผู้ป่วยที่มีความพิการทางกาย และการเคลื่อนไหว ที่ยังไม่ได้ดำเนินการจดทะเบียนผู้พิการในชุมชน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
- เพื่อให้ อสม.และผู้ดูแลผู้พิการสามารถสำรวจ และฝึกทักษะการใช้กายอุปกรร์เครื่องช่วยเดิน ที่จำเป็นสำหรับผู้พิการในชุมชน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2567 09:07 น.