โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก |
รหัสโครงการ | L7251-01-04 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลบ่อตรุ |
วันที่อนุมัติ | 18 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 50,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวอาภรณ์ คงทอง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.631,100.374place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ ที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสีย ทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปีและพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 5-15 ปี แต่ปัจจุบันยังพบผู้ป่วย ไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย ดังนั้น การดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายเป็นพาหะนำโรค และณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้ ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้ คนในชุมชน ได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้นและชักนำให้ ประชาชน องค์กรชุมชน สถานศึกษา ศาสนสถาน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามสถานการณ์การเกิดโรคไข้เลือดออกยังคงมีการระบาดทุกปี เทศบาลตำบลบ่อตรุ เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก โดยมีการรายงาน ข้อมูลผู้ป่วยประจำ 2567 จำนวน 24 ราย (ข้อมูล จาก รพ.สต.บ่อตรุ,วัดสน ,ระวะ) โดยการระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมาก จะพบผู้ป่วยในช่วงเดือน พฤษภาคม - กันยายนของทุกปี และนิสัยของยุงชอบหากินเวลากลางวันจึงสันนิษฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน สถานศึกษาและศาสนาสถาน ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้อง อาศัยความร่วมมือทั้ง จากชุมชน โรงเรียน และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุม การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก เทศบาลตำบลบ่อตรุจึงได้จัดทำโครงการ "ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2568" ขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้เลือดออกและให้มีการทำงาน อย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชน วัด โรงเรียนตลิดจนทุกภาคส่วนร่วมมือผนึกพลังความคิดความร่วมมือแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกร่วมกัน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายและลดด่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชนโดย ค่า HI < 10 และค่า CI = 0
|
||
2 | เพื่อเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ และเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออก และมีการดำเนินการงนอย่างต่อเนื่อง
|
||
3 | เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพในชุมชน ได้ตระหนักเห็นความสำคัญและให้ความร่วมมือสนับสนุนการดำเนินงานของการป้องกันโรคไข้เลือดออก
|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- ขั้นตอนวางแผนงาน 1.1 ร่วมกันประชุมวางผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินโครงการ
- จัดทำโครงการเพื่อขอนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น เทศบาลตำบลบ่อตรุ
- ขั้นตอนการดำเนินงาน 3.1 ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันวางแผนดำเนินการเกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและขอความร่วมมือทุกภาคส่วน ร่วมกันรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์และกำจัดลูกน้ำยุงลาย โดยวิธี 1. ประชาสัมพันธ์โครงการ ผ่านแกนนำระดับหมู่บ้าน สื่อวิทยุกระจายเสียงชุมชน เป็นต้น 2. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ประชาชนในพื้นที่ในการจัดสภาพแวดล้อมที่พักอาศัย เพื่อลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดการแพร่ระบาดของยุงลายและโรคไข้เลือดออก เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง 3. จัดกิจกรรมเดินรณรงค์ร่วมกับภาคีเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ให้ชุมชนร่วมกันดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายพร้อมแจกแผ่นพับประชาสัมพันธ์และมอบทรายที่มีฟอสให้กับประชาชนและอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้านเพื่อร่วมรณรงค์ใส่ทรายที่มีฟอสในภาชนะใส่น้ำเพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลาย 4. สุ่มสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 5. เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออกและดำเนินการพ่นหมอกควันกำจัดยุงลายดัวเต็มวัยครอบคลุมทุกพื้นที่ก่อนเข้าสู่ฤดูฝน และเมื่อได้รับการรายงานพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในชุมขนในรัศมี 100 เมตร จากบ้านของผู้ป่วยเพื่อควบคุมการแพร่าระบาดในชุมขนอย่างทันท่วงที 6. ดำเนินการเข้าควบคุมโรคภายใน 24 ชั่วโมง หลังได้รับแจ้งผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ตามาตรการควบคุมโรค
- สรุปผลการดำเนินงานโครงการ และรายงานผลการดำเนินงานให้แก่่กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลบ่อตรุ
- มีการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายและลดค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชน
- เกิดการเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ และเตรียมความพร้อมพร้อมรับสถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออก
- เกิดการบูรณาการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับ กระตุ้นให้ประชาชน องค์กรชุมชนตลอดจนเครือข่ายสุขภาพในชุมชน ได้ตระหนัก และเก็นความสำคัญของการป้องกันโรคไข้เลือดออกและให้ความร่วมมือสนับสนุนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2567 09:28 น.