กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจคัดกรองโรคซึมเศร้าและการฆ่าตัวตายรายบุคคล
รหัสโครงการ 61-L2979-1-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ตำบลทุ่งพลา
วันที่อนุมัติ 11 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 12,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต.ทุ่งพลา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งพลา อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.641,101.152place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 1000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคซึมเศร้าเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่มีความรุนแรงและทวีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลกระทบอย่างมากต่อตนเอง ครอบครัวและสังคม การป้องกันโรคซึมเศร้าที่ได้ผล คือ Early detection และให้การช่วยเหลือทันทีตั้งแต่เริ่มมีอาการซึมเศร้า มีเครื่องมือประเมินที่ง่าย และมีความไวสาหรับใช้ในชุมชน โดยแกนนำชุมชน หรือประชาชนสามารถนำมาใช้ในการประเมินตนเองได้ด้วยตนเอง เรียกว่า “แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย หรือ DS 8 ”พัฒนาโดย ทวี ตั้งเสรีและคณะ (2551) แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้ามี 2 องค์ประกอบคือ Mood and cognitive behavior component และ Somatic component โดยมีค่าความไวร้อยละ 89.9 ความจำเพาะร้อยละ 71.9 ในส่วนของการคัดกรองความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายเหลือเพียงองค์ประกอบเดียวคือ Suicidal intention มีคำถาม 2 ข้อ มีค่าความไวร้อยละ 87.1 ความจำเพาะร้อยละ 89.4 แบบคัดกรองฉบับนี้ จึงแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ใช้คัดกรองผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า (ข้อ 1-6) ส่วนที่ 2 ใช้คัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย (ข้อที่ 7-8) เป็นแบบคัดกรองที่ง่ายและสะดวกต่อการนำไปใช้ในชุมชน
ถ้าผลประเมินพบว่า ถ้าตอบว่า “ มี” ตั้งแต่ 3 ข้อขึ้นไป หรือ 3 คะแนนขึ้นไป ในคำถามข้อที่ 1-6 ซึ่งเป็นคำถามของแบบคัดกรองภาวะซึมเศร้า หมายถึง “มีภาวะซึมเศร้า” จะได้รับการให้บริการปรึกษาหรือพบแพทย์ เพื่อการบำบัดรักษาและถ้าตอบว่า “ มี” ตั้งแต่ 1 ข้อขึ้นไป หรือ 1 คะแนนขึ้นไป ในข้อคำถามข้อที่ 7 – 8เป็นคำถามของแบบคัดกรองความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย หมายถึง “มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย” โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งพลา จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองโรคซึมเศร้าและการฆ่าตัวตายรายบุคคล ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขสามารถนำไป คัดกรองกลุ่มเสี่ยงและให้การช่วยเหลือเบื้องต้นตั้งแต่ในชุมชนป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้รับบริการหรือกลุ่มเสี่ยงได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายของการดำเนินงานด้านสุขภาพจิตและจิตเวช ได้แก่ โรคซึมเศร้าและการฆ่าตัวตายรายบุคคล ได้รับการคัดกรองแบบครอบคลุมทุกคน

 

2 2. เพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงเพื่อเข้าสู่กระบวนการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต

 

3 3. เพื่อค้นหาผู้ป่วยให้ได้รับการส่งต่อและการรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นตอนวางแผนงาน
    • ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ
    • แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ
    • ประสานดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    1. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งพลา
  2. ขั้นตอนการดำเนินงาน
    • อบรมเชิงปฏิบัติการบรรยายเนื้อหาโดยวิทยากร ดังนี้ -สอนทักษะการตรวจคัดกรองผู้มีภาวะเสี่ยงฆ่าตัวตาย
      -การให้คำปรึกษาเบื้องต้นแก่แกนนำสุขภาพป้องกันการฆ่าตัวตาย
      -กำหนดแผนการคัดกรองผู้มีภาวะเสี่ยงฆ่าตัวตายในหมู่บ้าน
    • ประชาสัมพันธ์โครงการและออกดำเนินการตรวจคัดกรอง ร่วมกับ อสม.ตามโปรแกรมที่วางไว้ โดยใช้แบบประเมินโรคซึมเศร้าและการฆ่าตัวตายรายบุคคล
    • สรุปผลการคัดกรองแยกกลุ่มผู้ที่พบภาวะเสี่ยงเพื่อเข้าสู่กระบวนการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต
    • บันทึกผลการปฏิบัติงานลงในโปรแกรมคัดกรองความเสี่ยง
  3. ประเมินผลการดำเนินงาน
  4. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งพลา
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับการตรวจคัดกรองเบื้องต้นและรู้สภาวะสุขภาพของตนเอง
  2. ประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตาม ดูแลให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้า ประชาชนกลุ่มที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการดูแลและส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องทำให้ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายทั้งภาครัฐและประชาชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ม.ค. 2561 13:21 น.