โครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเด็กก่อนวัยเรียนและเด็กวัยเรียน
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเด็กก่อนวัยเรียนและเด็กวัยเรียน |
รหัสโครงการ | L7251-01-05 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลบ่อตรุ |
วันที่อนุมัติ | 18 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 31 มกราคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 29,232.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวอาภรณ์ คงทอง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.631,100.374place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 550 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สุขภาพช่องปากมีความสำคัญต่อสุขภาพร่างกายของทุกคน โดยเฉพาะในเด็กปฐมวัย โรคฟันผุในเด็กสามารถพบได้ตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นในช่วงขวบปีแรก และอัตราการผุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 1-3 ปี สาเหตุหลักที่ทำใหญ่ที่ทำให้เด็กมีฟันผุ มาจากพฤติกรรมในการเลี้ยงดูบุตรที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงการดูแลทำความสะอาดช่องปากไม่ถูกวิธี และมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมก่อให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรง ทำให้เด็กมีความเจ็บปวด เคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติ ได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอและส่งผลต่อพัฒนาการ การเจริญเติบโตของเด็กได้ การเกิดฟันผุในฟันน้ำนม นอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพของเด็กในขณะนั้นแล้ว ยังมีผลเสียต่อฟันแท้ของเด็กมรอนาคตด้วย กล่าวคือ ฟันน้ำนมที่เสีย ถูกถอนหรือหลุดไปก่อนที่ฟันแท้จะขึ้นแทนมี่ จะทำให้ฟันที่อยู่ติดกันรวน เก ล้ม เอียง เข้าหาช่องว่าง ทำให้ฟันแท้ที่จะขึ้นแทนที่ตำแหน่งนั้นไม่สามารถขึ้นได้อย่างปกติ อาจจะขึ้นในลักษณะบิด ซ้อนกันหรือมีขนาดใหญ่ ไม่เหมาะสมกับใบหน้าของเด็ก ซึ่งจะเป็นปมด้อยทำให้เด็กไม่กล้าในการแสดงออก โรคฟันผุเกิดขึ้นได้บ่อยในเด็กวัยนี้เนื่องจากเด็กช่วยเหลือตนเองได้น้อย ไม่ให้ความสนใจในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง ผู้ปกครองจึงเป็นบุคคลสำคัญที่ช่วยลดการเกิดโรคฟันผุในเด็ก ดังนั้นการดูแลคนกลุ่มวัยนี้จึงมีความสำคัญมาก เพราะสุขภาพช่องปากนั้นถือเป็นประตูนำไปสู่การมีสุขภาพร่างกายที่ดี ในเด็กเล็กที่มีปัญหาฟันน้ำนมผุ แม้่จะไม่รุนแรงจนเป็นเหตุให้เสียชีวิต แต่ก็เป็นโรคที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของเด็กทั้งในด้านการเจริญเติบโตและสุขภาพโดยรวม การแก้ไขปัญหาดังกล่าวทำให้โดยการให้สุขศึกษาการตรวจสุขภาพช่องปาก และการบริการทันตกรรมบำบัดรักษา และการติดตามประเมินผล ในพื้นที่เทศบาลตำบลบ่อตรุ ซึ่งมีประชากรกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียน ที่มีปัญหาฟันผุกว่าร้อยละ 50 ดังนั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลบ่อตรุ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหา ดังกล่าว และให้ความสำคัญในการเฝ้าระวังทันตสุขภาพของเด็ก จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเด็กก่อนวัยเรียนและเด็กวัยเรียน ประจำปีงบประมาณ 2568 ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อสร้างเสริมสุขภาพอนามัยช่องปากให้แก่เด็กก่อนวัยเรียนและเด็กวัยเรียน ได้แก่ การตรวจสุขภาพช่องปากเบื้องต้น การให้ความรู้และการส่งเสริมให้มีการแปรงฟันที่ถูกวิธี ลดปัญหาสุขภาพในช่องปากป้องกันโรคฟันผุ
|
||
2 | เพื่อส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก ในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กได้อย่างถูกสุขลักษณะและเหมาะสม
|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- ขั้นตอนวางแผนงาน ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินโครงการ
- เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น เทศบาลตำบลบ่อตรุ
- ขั้นตอนการดำเนินงาน
3.1 ประสานงานกับโรงพยาบา่ลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันวางแผนดำเนินการ
3.2 ประชาสัมพัน์โครงการ ผ่านแกนนำระดับหมู่บ้าน, อาสาสมัครสาธารณสุข, สื่อวิทยุกระจายเสียงชุมชน เป็นต้น
3.3 ประสานวิทยากร เจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุขจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่ เพื่อจัดกิจกรรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพช่องปากและตรวจสุขภาพช่องปากเบื้องต้นของเด็กก่อนวัยเรียนและเด็กวัยเรียน - ดำเนินโครงการตามแผนงาน 4.1 ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมโครงการตามกลุ่มเป้าหมาย 4.2 เจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุข ให้ความรู้และฝึกทักษะในการทำความสะอาดช่องปากและฟัน พร้อมสาธิตขั้นตอนการดูแลสุขภาพช่องปากแก่เด็กและผู้ปกครอง 4.3 เจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุข ตรวจสุขภาพช่องปากและฟันเบื้องต้น ให้แก่เด็กที่เข้าร่วมโครงการและให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกวิธีแก่เด็กและผู้ปกครอง เด็กที่ตรวจพบปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันได้รับการแนะนำเพื่อเข้ารับการรักษาในสถานบริการจากเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านทันตสาธารณสุข 4.4 มอบแปรงสีฟันและยาสีฟันผสมฟลูออไรด์แก่เด็กที่เข้าร่วมโครงการตามกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้เด็กฝึกปฏิบัติการแปรงฟันที่ถูกวิธี
- สรุปผลการดำเนินงานโครงการและรายงานผลการดำเนินงานให้แก่กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น เทศบาลตำบลบ่อตรุ
- เด็กที่เข้าร่วมโครงการได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพช่องปากและฟันเบื้องต้น เด็กที่ตรวจพบปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันได้รับการแนะนำเพื่อเข้ารับการรักษาในสถานบริการจากเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านทันตสาธารณสุข
- ผู้ปกครองหรือผู้ดูแล เกิดทักษะและมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กที่ดีอย่างต่อเนื่อง ลดการเกิดปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันในอนาคต
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2567 09:34 น.