โครงการอบรมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการอบรมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L4141-01-02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ลำใหม่ |
วันที่อนุมัติ | 13 พฤศจิกายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 26 มิถุนายน 2568 - 26 มิถุนายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 1 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 51,255.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวขนิษฐา แพมิ่ง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลลำใหม่ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.583,101.205place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
นโยบายการแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นโยบายหนึ่งของรัฐบาลที่ถูกกำหนดให้เป็นนโยบายเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการ โดยกำหนดให้เป็น “วาระแห่งชาติ”ซึ่งปัจจุบันการแพร่ระบาดของยาเสพติดได้กลับมาสู่สภาวะที่มีความรุนแรง ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ความสงบสุขของประชาชนและสังคม รวมทั้งเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ ประชาชน เยาวชน และเด็กนักเรียนทั้งในเมืองและชนบทได้ตกเป็นทาสของยาเสพติด โดยเฉพาะกัญชา ยาบ้า หรือแม้แต่สารเสพติดที่มีขายทั่วไปอยู่ตามท้องตลาด ได้แก่ สุรา บุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า และสารเสพติดชนิดอื่น ๆ จากปัญหายาเสพติดที่ทวีความรุนแรงและใกล้ตัวเราในขณะนี้ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่หน่วยงานทุกภาคส่วน ทุกองค์กร และทุกชุมชนจะต้องร่วมกัน เพื่อขจัดมหันตภัยร้ายนี้ให้หมดสิ้นไป
สถานศึกษาเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนและป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดลงสู่ นักเรียน ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยปัจจัยเสี่ยง พื้นที่เสี่ยงต่อการเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด การแพร่ระบาดของยาเสพติดในกลุ่มเด็กและนักเรียนในสถานศึกษามีสาเหตุสำคัญจากโครงสร้างทางสังคมของโรงเรียน จากการที่บิดามารดาหรือผู้ปกครองมีความรู้น้อย ไม่สามารถให้ความรู้หรือโน้มน้าวเด็กนักเรียนได้โดยธรรมชาติเด็กนักเรียนจะอยู่ในวัยที่อยากรู้ อยากเห็น อยากลอง และมักจะปฏิเสธในความหวังดีของพ่อแม่ ผู้ปกครอง จากความตระหนักถึงความร้ายแรงของการแพร่ระบาดยาเสพติดสู่เด็กนักเรียนในโรงเรียนซึ่งเป็นอนาคตของชาติ จึงได้แสวงหาวิธีการที่จะสกัดกั้นยาเสพติดให้พ้นจากโรงเรียนมาโดยตลอด จากการศึกษาค้นคว้ารูปแบบต่าง ๆ ของการป้องกันยาเสพติดในโรงเรียน จึงต้องผนึกกำลังระหว่าง ตำรวจ โรงเรียน ครูอาจารย์ บิดา มารดา ผู้ปกครอง ชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบล และหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ เข้าแก้ไขปัญหายาเสพติด เพื่อร่วมใจกันต้านภัยยาเสพติด เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการหลีกเลี่ยงการใช้ยาเสพติดและความรุนแรง โดยเน้นการให้ข้อมูลที่เที่ยงตรงเกี่ยวกับยาเสพติด สุรา บุหรี่ กัญชา เฮโรอีน ยาบ้า และบุหรี่ไฟฟ้า สอนให้เด็กเกิดทักษะในการตัดสินใจ แสดงให้เด็กเห็นถึงวิธีหลีกเลี่ยงแรงกดดันกลุ่มเพื่อร่วมวัย และเสนอทางเลือกอื่นๆ ให้กับเด็ก นอกเหนือจากการใช้ยาเสพติด และความรุนแรง
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลลำใหม่ ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหายาเสพติด ที่ต้องดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดมิให้เกิดขึ้นในพื้นที่หรือลดการแพร่ระบาดให้น้อยลง โดยหน่วยงานทุกภาคส่วนได้ร่วมมือ รวมพลังกันในการขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาเสพติด ประกอบกับตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2552 มาตรา 66 องค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มาตรา 67 (3) องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการป้องกันโรคและระงับโรคไม่ติดต่อ และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 16 (19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษารักษาพยาบาล จึงได้จัดทำโครงการอบรมป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดประจำปี พ.ศ. 2568ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้กับนักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพที่แข็งแรง และไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อควบคุมการขยายตัวของปัญหายาเสพติดและลดการแพร่ระบาดของยาเสพติดในสถานศึกษา
|
||
2 | เพื่อให้นักเรียนได้รู้ทักษะ รู้ถึงโทษและพิษภัยของยาเสพติด ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพแข็งแรง
|
||
3 | เพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา
|
||
4 | เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการรณรงค์ป้องกันและเผยแพร่ความรู้ให้ชุมชน ได้รับทราบการป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติด
|
||
5 | เพื่อสนับสนุนการป้องกันยาเสพติดตามนโยบายของรัฐบาล
|
1 สามารถควบคุมการขยายตัวของปัญหายาเสพติดและลดการแพร่ระบาดของยาเสพติดในสถานศึกษาได้
2 นักเรียนได้รู้ทักษะ รู้ถึงโทษและพิษภัยของยาเสพติด ซึ่งจะทำให้นักเรียนมีสุขภาพที่ดี และแข็งแรง
3 ทุกภาคส่วนที่เข้ามามีส่วนร่วมสามารถแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาได้
4 นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการรณรงค์ป้องกันและเผยแพร่ความรู้ให้ชุมชนได้รับทราบการป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติด
5 ได้ดำเนินการสนับสนุนการป้องกันยาเสพติดตามนโยบายของรัฐบาล
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2567 14:26 น.