โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการอาบน้ำและจัดการศพ (มายัต) ตามหลักศาสนาและหลักสุขลักษณะในชุมชน
ชื่อโครงการ | โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการอาบน้ำและจัดการศพ (มายัต) ตามหลักศาสนาและหลักสุขลักษณะในชุมชน |
รหัสโครงการ | L3035 – 2568 – 01 - 003 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลสะดาวา |
วันที่อนุมัติ | 17 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 24 กรกฎาคม 2568 - 24 กรกฎาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 17,600.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลสะดาวา อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.821,101.311place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : ระบุ |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
เมื่อมีเหตุการณ์การเสียชีวิต เกิดขึ้นกับคนในชุมชน สิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้มีชีวิตอยู่นั้น คือการจัดการศพ ไม่ว่าจะเป็นการอาบน้ำทำความสะอาดหรือชำระสิ่งสกปรกต่างๆ ที่ติดมากับศพการจัดการศพให้ถูกต้องตามสุขลักษณะ และหลักการตามศาสนบัญญัติ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากว่าผู้จัดการศพไม่มีความรู้ ในการจัดการศพให้ถูกต้องตามสุขลักษณะ อาจนำไปสู่การติดเชื้อต่าง ๆ จากศพหรือเกิดการแพร่กระจายเชื้อโรคที่มากับศพได้ เมื่อมุสลิมเสียชีวิตญาติหรือผู้เกี่ยวข้องจะต้องอาบน้ำ ห่อละหมาดขอพรและฝังศพที่สุสาน (กุโบร์) ตามหลักการศาสนาอิสลาม โดยต้องรีบจัดการให้เสร็จภายในเวลา 24 ชั่วโมง อิสลามส่งเสริมให้ผู้ที่จะทำการอาบน้ำให้กับศพนั้น จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการอาบน้ำศพตามหลักการที่ถูกต้อง ซึ่งขั้นตอนการอาบน้ำและห่อศพผู้เสียชีวิตนั้น โดยส่วนใหญ่จะทำกันที่บ้านของผู้เสียชีวิต และมักจะไม่มีการป้องกันอย่างถูกต้องตามหลักสุขลักษณะ เช่น การสวมถุงมือยางที่ไม่ถูกต้อง ไม่มีการสวมผ้าปิดปาก เป็นต้น ซึ่งการเสียชีวิตของมนุษย์นั้น มีลักษณะหลายรูปแบบ ตามเหตุการณ์และสภาพการณ์ที่แตกต่างกัน สิ่งเหล่านี้อาจทำให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อทั้งต่อผู้ที่จัดการศพเองและคนในชุมชนได้
ดังนั้น ญาติหรือผู้ที่ทำการอาบน้ำศพ จำเป็นอย่างยิ่งต้องมีความรู้ความเข้าใจเพื่อส่งเสริมป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อ ทางกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลสะดาวา ได้เล็งเห็นปัญหาสำคัญนี้ จึงได้เสนอจัด “โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการอาบน้ำและจัดการศพ (มายัต) ตามหลักศาสนาและหลักสุขลักษณะในชุมชน” โดยใช้หลักศาสนาอิสลาม เพื่อให้ผู้ทำหน้าที่ในการจัดการศพมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการอาบน้ำศพ การห่อศพ และการจัดการศพที่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลามและตามหลักสุขลักษณะ เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อที่อาจเกิดขึ้นแก่ผู้ทำหน้าที่ในการจัดการศพ และคนในชุมชนต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้ที่ทำหน้าที่จัดการศพในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการอาบน้ำศพ การห่อศพ การจัดการศพที่ถูกต้องตามสุขลักษณะ ตามหลักศาสนาอิสลาม และได้รับการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ผู้ที่ทำหน้าที่จัดการศพในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการอาบน้ำศพ การห่อศพ การจัดการศพที่ถูกต้องตามสุขลักษณะ ตามหลักศาสนาอิสลาม และได้รับการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ร้อยละ 80 |
||
2 | เพื่อให้ผู้ที่ทำหน้าที่จัดการศพในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการป้องกันโรคติดต่อในการจัดการศพ ตามหลักสุขลักษณะ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อที่อาจเกิดขึ้นจากการจัดการศพ ผู้ที่ทำหน้าที่จัดการศพในชุมชน มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการป้องกันโรคติดต่อในการจัดการศพตามหลักสุขลักษณะ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อที่อาจเกิดขึ้นจากการจัดการศพ ร้อยละ 80 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- ผู้ทำหน้าที่อาบน้ำศพหรือผู้ที่สนใจมีความตระหนักและเห็นความสำคัญของการอาบน้ำและการจัดการศพ (มายัต) ตามหลักการศาสนาและตามหลักสุขลักษณะ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
- ผู้ทำหน้าที่อาบน้ำศพ หรือผู้ที่สนใจมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการอาบน้ำศพ การห่อศพ การจัดการศพที่ถูกต้องตามหลัก ศาสนาอิสลาม และได้รับการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2567 10:56 น.