โครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรใกล้ตัว
ชื่อโครงการ | โครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรใกล้ตัว |
รหัสโครงการ | L3035 -2568 – 01 - 006 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะดาวา |
วันที่อนุมัติ | 17 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 8 มกราคม 2568 - 30 มกราคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 28 กุมภาพันธ์ 2568 |
งบประมาณ | 33,017.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวณูเฟีย แวโดยี ตำแหน่ง แพทย์แผนไทย |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลสะดาวา อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.821,101.311place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 160 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : ระบุ |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันถ้าจะกล่าวถึงสัตว์ที่เป็นพาหะโรค สัตว์อันดับต้นๆที่คิดคงไม่พ้นยุง เนื่องจากยุงเป็น พาหะโรคร้ายต่างๆที่คร่าชีวิตคนเป็นจำนวนมาก ยุงเป็นพาหะนำโรคหลายชนิดที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ เช่น โรคไข้เลือดออก ไข้ซิก้า ไข้ปวดข้อยุงลาย ไข้มาลาเรีย โรคเท้าช้าง เป็นต้น โรคไข้เลือดออก ยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย และยังมีแนวโน้มว่าเป็น ปัญหาในอนาคต เนื่องจากความรุนแรงของโรคแปรผันตรงต่ออัตราการตาย และการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกส่งผล ต่อสุขภาพผู้ป่วย ครอบครัว ชุมชนและสังคม โรคไข้เลือดออกสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปี แต่จะมีการ ระบาดมากช่วงหน้าฝน โดยธรรมชาติของโรคไข้เลือดออกจะมีการระบาดปีเว้นปีหรือระบาดปีเว้น 2 ปี
จากการสำรวจ ตำบลสะดาวามีผู้ป่วยไข้เลือดออกใน ปีพ.ศ. 2565 2566 2567 จำนวนทั้งหมด 60 ราย 32ราย 50 ราย ตามลำดับ กลุ่มวัยที่พบการเกิดโรค ได้แก่ กลุ่มนักเรียน นักศึกษา และวัยทำงานรับจ้างทั่วไป เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก จะเห็นได้ว่าอัตราการป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อเทียบดูจากสถิติการเกิดโรคในปีที่ผ่านมา การระบาดของโรค ไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนพฤษภาคม – กันยายนของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนที่หนึ่ง พอดี และนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้น ได้ทั้งชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนและศาสนสถาน ทุกๆบ้าน ทุกๆ ครัวเรือนจึงเลือกใช้ยากันยุงกันอย่างแพร่หลาย เช่น ครีมทากันยุง ยาจุดกันยุง ยาฉีดกันยุง น้ำมันมันไล่ยุง แต่ยากันยุงเหล่านี้ก่อให้เกิดปัญหาขึ้นมากมาย เพราะมีสารที่เป็นอันตรายผสมอยู่ ซึ่งทำให้ผู้ใช้บางคนเกิดอาการแพ้ ผู้จัดทำได้พบว่ามีชาวบ้านในท้องถิ่นได้นำใบตะไคร้หอมนำมาทุบแล้วนำมาวางไว้ใกล้ตัว พบว่าสามารถไล่ยุงได้ จากการค้นคว้า ตะไคร้หอมเป็นสมุนไพรที่สามารถไล่ยุงได้ โดยใบตะไคร้หอม จะมีน้ามันหอมระเหยสกัด สามารถใช้ไล่แมลงได้ เมื่อนำน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอมมาทดสอบกับยุงที่เป็นพาหะของโรคมาลาเรีย ไข้เลือดออก ไข้ซิก้า ไข้ปวดข้อยุงลาย และเท้าช้าง พบว่า มีผลป้องกันยุงกัดได้นาน 8-10ชั่วโมง อีกทั้งยังมีนวัตกรรมจากสมุนไพรอีกมากมายที่สามารถใช้ป้องกันยุงได้ เช่น ธูปไล่ยุง ถุงหอมไล่ยุง สเปรย์กันยุง เทียนหอมกันยุง ที่ทำจากสมุนไพร เป็นต้น
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะดาวา กลุ่มงานแพทย์แผนไทย จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริม และแก้ปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างเร่งด่วน เพื่อดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ รวมถึง การสร้างเกราะป้องกันและรณรงค์ให้เกิดจิตสำนึกของชุมชนให้มีส่วนร่วมในการสร้างสุขภาพที่ดี ลดอัตราป่วยด้วย โรคติดต่อและภัยสุขภาพในชุมชนและการมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อดำเนินการป้องกันและ ควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ ทั้ง 8 หมู่บ้านในตำบลสะดาวา ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความใจเรื่องการป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ ผ่านการทำแบบทดสอบ รวมถึงสามารถสาธิตการป้องกัน ควบคุมโรคได้ |
||
2 | เพื่อส่งเสริมการใช้สมุนไพรในชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการใช้สมุนไพร ผ่านการทำแบบประเมินและแบบทดสอบ |
||
3 | เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอด ให้ความรู้กับคนในชุมชนรวมถึงลูกหลานได้นำไปใช้ต่อไป ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมายได้ความรู้ความเข้าใจผ่านการตอบคำถามและการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรเองได้ |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
1.กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ความเข้าใจในการแก้ปัญหา ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน และสามารถต่อยอดความรู้ที่ได้ให้กับคนในชุมชนและคนในครอบครัว 2.กลุ่มเป้าหมายแต่ละหมู่บ้านมีการใช้สมุนไพรในชุมชนอย่างเกิดประโยชน์ และส่งเสริมการใช้อย่างคุ้มค่า 3.กลุ่มเป้าหมายแต่ละหมู่บ้าน เกิดความเข้มแข็ง สามารถรวมกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการป้องกันโรคไข้เลือดออก และแจกจ่ายให้กับคนในชุมชน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2567 11:15 น.