โครงการผู้สูงอายุตำบลสะดาวาสุขภาพฟันดี ด้วยวิถีอิสลาม
ชื่อโครงการ | โครงการผู้สูงอายุตำบลสะดาวาสุขภาพฟันดี ด้วยวิถีอิสลาม |
รหัสโครงการ | L3035 -2568 – 01 - 008 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะดาวา |
วันที่อนุมัติ | 17 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 15 มกราคม 2568 - 16 มกราคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 22,637.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวกัซตีนีย์ เจะซู |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลสะดาวา อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.821,101.311place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 40 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากรายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557 โดยสำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขพบว่า ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีภาวะสมองเสื่อมสูงถึงร้อยละ 8.1 โดยเมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น ความชุกของภาวะสมองเสื่อมจะเพิ่มมากขึ้น เทียบได้ว่าผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ทุก ๆ 12 คน จะพบเป็นโรคสมองเสื่อม 1 คน โดยที่ผ่านมากรมอนามัยมีนโยบายส่งเสริมสุขภาพและป้องกันปัญหาสุขภาพ โดยการคัดกรองภาวะสมองเสื่อมเบื้องต้น มีการพัฒนาและจัดทำฐานข้อมูล การอบรมอาสาสมัคร การพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข การพัฒนาระบบบริการในการดูแลผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม การจัดสภาพแวดล้อมให้มั่นคงปลอดภัย เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รู้จักตนเองและสิ่งรอบตัวตามความเป็นจริง เช่น การดำเนินงานตำบลดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว (ตำบล Long Term Care) เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี เข้าถึงระบบบริการอย่างถ้วนหน้าและเท่าเทียม ในด้านสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในประเทศไทยนั้น จากการสำรวจสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 พ.ศ. 2560 พบว่า กลุ่มผู้สูงอายุ 60 - 74 ปี มีผู้มีฟันถาวรใช้งานได้อย่างน้อย 20 ซี่ร้อยละ 56.1 ผู้มีฟันถาวรใช้งาน 20 ซี่และมีฟันหลัง 4 คู่สบร้อยละ 39.4 มีปัญหาการสูญเสียฟันทั้งปากร้อยละ 8.7 มีความจำเป็นในการใส่ฟันเทียมบางส่วน ร้อยละ 42.6 มีความจำเป็นในการใส่ฟันเทียมทั้งปากร้อยละ 2.7 ผู้ที่มีฟันผุที่ยังไม่ได้รับการรักษา ร้อยละ 52.6 และมีรากฟันผุร้อยละ 16.5 ในส่วนของโรคปริทันต์ พบว่า มีการทำลายของอวัยวะปริทันต์ที่อยู่รอบรากฟันหรือมีร่องลึกปริทันต์ร้อยละ 36.3 โดยมีสภาวะปริทันต์อักเสบรุนแรงร้อยละ 12.2 ในผู้สูงอายุตอนปลายอายุ 80 - 85 ปี มีการสูญเสียฟันถาวรเพิ่มขึ้น ผู้ที่มีฟันถาวรใช้งานได้อย่างน้อย 20 ซี่ร้อยละ 22.4 และมีฟันหลังสบกัน 4 คู่สบร้อยละ 12.1 ผู้สูญเสียฟันทั้งปากร้อยละ 31.0 มีรากฟันผุร้อยละ 12.5 และมีความจำเป็นต้องใส่ฟันเทียมทั้งปากร้อยละ 13.1 ทั้งนี้ ได้มีความพยายามแก้ไขปัญหาสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ โดยได้จัดทำแผนงานทันตสุขภาพ สำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2558 – 2567 และกำหนดประเด็นปัญหาสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุไว้ 7 ประเด็นสำคัญ โดยมี 6 ประเด็น ระบุไว้ในรายงานขององค์การอนามัยโลกและมีประเด็นที่เพิ่มเติม ดังนี้ 1. การสูญเสียฟันและปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใส่ฟัน 2. ฟันผุและรากฟันผุ 3. โรคปริทันต์ 4. แผลและมะเร็งช่องปาก 5. สภาวะน้ำลายแห้ง 6. ฟันสึก และ 7. สภาวะช่องปากที่สัมพันธ์กับโรคทางระบบของผู้สูงอายุ จากการสำรวจจำนวนประชากรผู้สูงอายุในจังหวัดปัตตานี มีจำนวนผู้สูงอายุ 83,875 คน ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากจำนวน 11,363 คน คิดเป็นร้อยละ 13.55 ในอำเภอยะรัง มีผู้สูงอายุจำนวน 9,386 คน ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากจำนวน 2,190 คน คิดเป็นร้อยละ 23.33 และตำบลสะดาวา มีผู้สูงอายุจำนวน 853 คน ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากจำนวน 292 คน คิดเป็นร้อยละ 34.23 (ที่มา: HDC จังหวัดปัตตานี) ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าว จะเห็นได้ว่า มีการเข้าถึงบริการด้านทันตกรรมของกผู้สูงอายุเป็นจำนวนน้อย ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุที่ไม่ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก การคัดกรองโรคในช่องปาก การได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม รวมทั้งไม่ได้รับความรู้และคำแนะนำในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง ก่อให้เกิดโรคในช่องปากและส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุได้ จากปัญหาดังกล่าว ทำให้ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะดาวา อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานีได้เล็งเห็นถึงปัญหาการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมในผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้และความตระหนักในการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธีและเหมาะสม สามารถป้องกันปัญหาที่เกิดจากโรคในช่องปาก เป็นกระบวนการฝึกวินัยและสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่ดีแก่ผู้สูงอายุ ทั้งด้านการดูแลทางสุขภาพทั่วไปและทางทันตสุขภาพอย่างทั่วถึงเพื่อให้ผู้สูงอายุมีสภาวะสุขภาพฟันดี สุขภาวะที่ดีและสามารถดูแลตนเองได้ต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ด้านทันตสุขภาพ และมีสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ และมีความตระหนักในการดูแลสุขภาพช่องปาก |
||
2 | เพื่อให้ผู้สูงอายุมีทักษะการแปรงฟัน และการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้อย่างเหมาะสม ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการสามารถแปรงฟัน และการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้อย่างถูกต้อง |
||
3 | เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการทันตกรรมของประชาชนด้านการส่งเสริมป้องกัน ด้านการรักษาและฟื้นฟูสภาพ ร้อยละ 100 ของผู้สูงอายุได้รับบริการตรวจฟันและรับได้รับบริการทันตกรรมตามความจำเป็น |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
ด้านทันตกรรม 1. ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพปากช่องปากของตนเองได้อย่างเหมาะสม เพื่อลดการสูญเสียฟันที่จะเกิดขึ้นได้ 2. ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงการดูแลสุขภาพชองปากโดยบุคลากรทางทันตกรรมและมีคุณภาพชีวิตที่ดีจากการได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างเหมาะสม 3. ผู้สูงอายุมีฟันใช้งานได้ 20 ซี่ สามารถคงสภาพฟันที่มีอยู่ และสามารถใช้งานได้ ด้านอารมณ์ 1. ผู้สูงอายุสามาถปฏิบัติศาสนกิจได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์ (อ่านอัลกุรอ่าน) 2. ผู้สูงอายุสามารถเข้าสังคมได้อย่างมีความสุข
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2567 12:05 น.