กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ๓ ประสานสร้างหมู่บ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย ตำบลวังมะปรางเหนือ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๘
รหัสโครงการ 68-L1519-2-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ทีมเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่อ อบต.วังมะปรางเหนือ
วันที่อนุมัติ 21 พฤศจิกายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2567 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 113,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุทิน สงหนู
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลวังมะปรางเหนือ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.746,99.398place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 1๖ ส.ค. 256๖ พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกแล้วรวม 65,552 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 99.05 ต่อประชากรแสนคน เพิ่มขึ้นสัปดาห์ละกว่า 5,000 ราย ยิ่งมีผู้ป่วยมากก็ยิ่งมีผู้เสียชีวิตมาก ถึงขณะนี้มีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้แล้ว 58 ราย จำนวนผู้ป่วยปี 2566 มากกว่าปี 2565 ณ ช่วงเวลาเดียวกันถึง 3 เท่า และคาดการณ์ว่าปีนี้สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกจะมีการระบาดมากขึ้นตามวงรอบของปีที่จะระบาด ซึ่งโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อนำโดยแมลง ที่มียุงเป็นพาหะนำโรค สามารถพบผู้ป่วยได้ตลอดทั้งปี แต่มักพบการระบาดมากในช่วงฤดูฝนผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงลอยตลอดเวลา หน้าแดง ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร อาเจียน ซึม ถ้ารักษาไม่ทันอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้

        ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกกำลังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยเนื่องจากสถานการณ์ของโรค  พบแนวโน้มสูงขึ้น โดยกระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๓๕ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งการป้องกันก่อนถึงฤดูกาลระบาด ในช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อให้ทุกพื้นที่ช่วยกันลดจำนวนแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายที่มักอาศัยในภาชนะที่มีน้ำท่วมขัง การป้องกันการระบาดของโรคเป็นการยากที่จะอาศัยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของรัฐเพียงฝ่ายเดียว การที่จะให้ได้ผลอย่างเต็มที่จะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกครัวเรือนร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้นำชุมชนช่วยกันป้องกันโรคในหลากหลายรูปแบบ เช่น การรณรงค์ การร่วมมือกับโรงเรียน ชุมชน การจัดหาสารฆ่าลูกน้ำ การพ่นหมอกควันและสารเคมี การกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย และสำคัญที่สุดคือการรู้จักป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด

        เพื่อป้องกันการระบาดของโรคที่อาจจะเกิดต่อเนื่อง จึงต้องมีการดำเนินการป้องกันและควบคุม โรคไข้เลือดออกอย่างยั่งยืน โดยมีการประสานงานของสามส่วนที่สำคัญในการจัดกิจกรรมและการสนับสนุนให้ชุมชนสามารถเฝ้าระวัง    และป้องกันโรคไข้เลือดออก อันได้แก่ ภาคราชการ คือ โรงพยาบาลวังวิเศษ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ องค์การบริหารส่วนตำบลวังมะปรางเหนือ โดย ทีมเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่อ อบต.วังมะปรางเหนือ และและภาคประชาชน โดยมี อาสาสมัครสาธารณสุข เป็นแกนนำในการสำรวจลูกน้ำยุงลาย สร้างความตื่นตัวมีความรับผิดชอบร่วมกันในการป้องกันและควบคุมการเกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออก ทีมเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่อ อบต.วังมะปรางเหนือ จึงได้จัดทำ โครงการ ๓ ประสานสร้างหมู่บ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย ตำบลวังมะปรางเหนือ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๘ ขึ้นเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชน ชุมชน เกิดความร่วมมือในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย และตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคปวดข้อยุงลาย และวิธีการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำ เป็นการตัดวงจรพาหนะ นำโรคไข้เลือดออกได้ดีที่สุดและเป็นการควบคุมป้องกันการระบาดของโรคได้แบบยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

พื้นที่เสี่ยงได้รับการพ่นยาละอองฝอย ภายใน 24 ชม.และพื้นที่ทั่วไปในตำบลได้รับการพ่นยาละอองฝอยและพ่นหมอกควัน

100.00
2 เพื่อกระตุ้นและปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนเกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการป้องกัน โรคไข้เลือดออก

ประชาชนมีความตระหนักและเห็นความสำคัญของการป้องกันโรคไข้เลือดออก

70.00
3 เพื่อรณรงค์ การป้องกันโรคไข้เลือดออกได้อย่างทั่วถึง

ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2567 13:16 น.