โรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste) พาชีวิตดี มีความสุข ป้องกันโรคที่เกิดจากขยะ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘
ชื่อโครงการ | โรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste) พาชีวิตดี มีความสุข ป้องกันโรคที่เกิดจากขยะ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘ |
รหัสโครงการ | 68-L1519-2-5 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | |
วันที่อนุมัติ | 21 พฤศจิกายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ธันวาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 12,050.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวฉวีวรรณ แสงหิรัญ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลวังมะปรางเหนือ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.746,99.398place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 102 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันทั่วโลกกำลังเผชิญกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากปริมาณ ขยะที่เพิ่มขึ้น จากการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการขยายตัวของเมืองที่เข้าสู่การพัฒนาเมืองอย่างรวดเร็ว ร่วมกับมีความต้องการบริโภคสินค้าและบริการเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย จากการสำรวจในปี พ.ศ. 2555 พบว่า ทั่วโลกมีปริมาณขยะมูลฝอยเกิดขึ้น 1,300 ล้านตัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2559 มีปริมาณขยะมูลฝอยเกิดขึ้น 2,010 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.62 โดยเฉลี่ยมนุษย์ทำให้เกิดขยะมูลฝอย 0.74 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน โดยคาดการณ์ว่าในปี ค.ศ. 2050 จะมีปริมาณขยะมูลฝอยเกิดขึ้นถึง 3 ,400 ล้านตันโดยเฉลี่ยมนุษย์ทำให้เกิดขยะมูลฝอยเพิ่มขึ้นเป็น 0.96 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน ซึ่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกเป็นภูมิภาคที่มีปริมาณขยะมูลฝอยเกิดขึ้นมากที่สุดในโลก
“ขยะมูลฝอย" อีกหนึ่งปัญหาที่สำคัญประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ ซึ่งหากได้รับการจัดการอย่างไม่ถูกต้อง จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดมลพิษในด้านต่าง ๆ อาทิ กลิ่นเหม็นน้ำเสีย สัตว์พาหะนำโรค รวมถึงการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิในชั้นบรรยากาศของโลก ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากปริมาณ ขยะที่เพิ่มขึ้น จากการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการขยายตัวของเมืองที่เข้าสู่การพัฒนาเมืองอย่างรวดเร็ว ร่วมกับมีความต้องการบริโภคสินค้าและบริการเพิ่มมากขึ้น จากการสำรวจในย้อนหลัง 5ปีย้อนหลัง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562-2566 พบว่า ประเทศไทยมีปริมาณขยะมูลฝอยเกิดขึ้น 131.7 ล้านตัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2566 มีปริมาณขยะมูลฝอยเกิดขึ้น 26.95 ล้านตัน เพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ยมนุษย์ทำให้เกิดขยะมูลฝอย 1.12 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน ถูกกลับมาใช้ประโยชน์ 9.31 ล้านตัน ขยะมูลฝอยที่ถูกกำจัดถูกต้อง ร้อยละ 10.17 ล้านตัน และ ถูกกำจัดไม่ถูกต้อง 7.47 ล้านตัน ทั้งนี้ชุมชนยังคงมีปัญหาในการจัดการขยะมูลฝอย ณ ต้นทาง โดยการคัดแยกขยะมูลฝอยยังคง ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ เนื่องจากขยะบรรจุภัณฑ์บางประเภทมีราคารับซื้อต่ำหรือไม่มีการรับ ซื้อโดยร้านรับซื้อของเก่า ทำให้ประชาชนทิ้งรวมกับขยะอื่น ๆ เพื่อนำไปกำจัดซึ่งเกิดจากการที่ไม่มี เครื่องมือ กลไกที่จะให้ผู้ประกอบการรับผิดชอบสินค้าและผลิตภัณฑ์ของตนเอง อีกทั้งกฎหมายในปัจจุบันไม่มีผลบังคับให้ประชาชนคัดแยกขยะมูลฝอย (กองจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ,/2566) เมื่อเราจำแนกปริมาณขยะมูลฝอยรายภูมิภาค พบว่า ปริมาณมูลขยะฝอยมากที่สุดเป็นของภาคกลาง จำนวน 18,591 ตัน/วัน รองลงมาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 17,873 ตัน/วัน และภาคใต้ จำนวน 9,705 ตัน/วัน
พื้นที่รับผิดชอบ อบต.วังมะปรางเหนือ ยังไม่มีการเก็บขนขยะ ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้นักเรียนโรงเรียนสวนป่าประชาอุปถัมภ์ เกิดโรคจากขยะมูลฝอย จึงต้องมีการจัดการแหล่งขยะที่ถูกสุขลักษณะเพื่อการป้องกันโรค โดยการสร้างความเข้าใจ ความตระหนักของประชาชน ภายใต้ความร่วมมือของชุมชนอย่างจริงจัง นำไปสู่การป้องกันโรคภัยที่จะเกิดจากขยะได้
ทางโรงเรียนมีความตระหนักและเห็นความสำคัญของการจัดการขยะเพื่อป้องกันการเกิดโรคจากขยะมูลฝอย และให้นักเรียนมีความรู้ในการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง ปลูกจิตสำนึกการลด การคัดแยกขยะและการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ในโรงเรียน ตามหลัก Zero Waste “การจัดการขยะให้เหลือศูนย์” ตามหลัก 3Rs คือ reduce Reuse และ Recycle ส่งผลต่อ การมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์ และ แข็งแรง มีความพร้อมด้าน จิตใจ สติปัญญา ความรู้ นักเรียน เรียนรู้อย่างมีความสุข และจะส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทางโรงเรียนสวนป่าประชาอุปถัมภ์จึงได้จัดทำโครงการโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste) พาชีวิตดี มีความสุข ป้องกันโรคที่เกิดจากขยะ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้นักเรียน มีความรู้ในการคัดแยกขยะที่ถูกต้องและประโยชน์ของขยะ นักเรียนชั้น อนุบาล ๑ ถึง ป. ๖ มีความรู้ในการคัดแยกขยะ และประโยชน์ของขยะหลังเรียนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80 |
80.00 | |
2 | เพื่อให้นักเรียนเห็นความสำคัญและร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน นักเรียนชั้น อ.๑ – ป.๖ เห็นความสำคัญและรู้จักรักษาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ร้อยละ 80 |
80.00 | |
3 | เพื่อให้นักเรียนสามารถสำรวจ คัดแยกขยะ สามารถจัดการขยะตามแนวทาง 3Rs เบื้องต้นอย่างถูกต้องและเหมาะสม นักเรียนชั้น อ.๑ – ป.๖ สามารถสำรวจ คัดแยกขยะ ได้ประเภทได้ถูกต้อง สามารถจัดการขยะตามแนวทาง 3Rs ร้อยละ 80 |
80.00 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2567 15:24 น.