โครงการบางปูร่วมใจ ลด ละ บุหรี่เทศบาล ตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ2568
ชื่อโครงการ | โครงการบางปูร่วมใจ ลด ละ บุหรี่เทศบาล ตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ2568 |
รหัสโครงการ | 68L70080104 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลบางปู ร่วมกับ อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบางปู |
วันที่อนุมัติ | 11 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 31 พฤษภาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 32,040.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายนิรันดร์ แวจูนา |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายไพรจิตร บุญช่วย |
พื้นที่ดำเนินการ | |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 84 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบัน ปัญหาจากการสูบบุหรี่ทำให้เกิดผลกระทบในระบบสุขภาพของประชาชนทั้งทางตรงคือผู้สูบบุหรี่เอง และทางอ้อมผู้ที่รับพิษจากควันบุหรี่ที่ผู้ใกล้ชิดเป็นผู้สูบ คือบุหรี่มือสอง ทั้งที่ประเทศไทยมีการรณรงค์การควบคุมการบริโภคยาสูบเกิดขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ. 2517 แต่ในปี พ.ศ. 2551 บุหรี่คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกมากกว่า 5 ล้านคนซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่มากกว่าผู้เสียชีวิตจากโรควัณโรค โรคเอดส์และไข้มาลาเรียรวมกัน และคาดว่าในปี พ.ศ. 2573 จำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดจะเพิ่มขึ้นเป็น 8 ล้านคนต่อปีโดยพบว่ามะเร็งที่มีอุบัติการณ์สูงขึ้นในผู้สูบบุหรี่ได้แก่มะเร็งปอดที่เป็นมะเร็งที่พบบ่อยในผู้ชายไทยอีกทั้งการสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่องจะทำให้ผู้สูบเกิดภาวะหลอดเลือดตีบตันและเกิดปัญหาการสูญเสียการทำงานของหลอดเลือดโคโรนารีที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ การสูบบุหรี่ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยงทำให้ผู้ป่วยมีอาการแน่นหน้าอกและหัวใจวาย โรคความดันโลหิตสูง และหัวใจเต้นผิดปกติ และได้มีการประมาณการทุกครั้งที่มีผู้สูบบุหรี่เสียชีวิตครบ 8 ราย จะมีผู้รับควันบุหรี่จากสิ่งแวดล้อมเสียชีวิตไปด้วย 1 ราย ผู้ที่ได้รับควันบุหรี่จากสิ่งแวดล้อมจะมีโอกาสเกิดโรคโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงกว่าคนที่ไม่เคยได้รับ 1.3 เท่า และจะมีโอกาสเกิดมะเร็งปอดได้มากขึ้นประมาณ 1.8 เท่าโดยกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นพิเศษในการได้รับควันบุหรี่จากสิ่งแวดล้อมได้แก่ทารกในครรภ์และเด็กหากมารดาตั้งครรภ์สูบบุหรี่หรือได้รับควันดังกล่าวจะมีโอกาสเกิดผลเสียต่อทารกในครรภ์และเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์สูง เช่นทารกน้ำหนักตัวน้อยคลอดก่อนกำหนดเด็กหากได้รับควันดังกล่าวจะมีโอกาสเกิดภาวะไหลตาย ปอดอักเสบติดเชื้อ โรคภูมิแพ้โรคหอบหืดได้มากกว่าเด็กทั่วไป สำนักงานสถิติแห่งชาติได้สำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ปี 2564 พบว่า ประชากรไทยที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า มีจำนวน 78,742 คนคิดเป็นอัตรา 0.14 % ของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป ที่มีจำนวนทั้งหมด 57 ล้านคน เป็นคนที่สูบทุกวัน 40,724 คน และสูบแบบไม่ทุกวัน 38,018 คนโดยผู้ที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า 24,050 คน อายุระหว่าง 15-24 ปี คนไทยที่รู้จักบุหรี่ไฟฟ้า เชื่อว่าบุหรี่ไฟฟ้าอันตรายมากกว่าบุหรี่ธรรมดา 26.7% เชื่อว่าอันตรายน้อยกว่า 11.3% และเชื่อว่าบุหรี่ไฟฟ้าและบุหรี่ธรรมดามีอันตรายเท่ากัน 62.0% ทั้งนี้ ข้อมูลจำนวนและอัตราคนไทยที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพประชากร ปี 2564 ที่เก็บข้อมูลจากทั้งสิ้น 73,654 ครัวเรือนทั่วประเทศ ครอบคลุมประชากรตัวอย่าง 164,406 คน นับเป็นการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาชี้ให้เห็นว่า อายุของนักสูบบุหรี่หน้าใหม่มีอายุน้อยลง จึงต้องมีมาตรการเฝ้าระวังในกลุ่มเยาวชนมากขึ้น และในประเทศไทยมีคนเสียชีวิตจากโรคที่เกิดจากบุหรี่คิดเป็น 12 % ของการตายทั้งหมดรัฐบาลสูญเสียทางเศรษฐกิจกับค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคที่เกิดจากบุหรี่ถึง 43.6 พันล้านบาท คิดเป็น 0.5% ของ GDP ถ้ายังไม่มีมาตรการใดๆในการป้องกันและเฝ้าระวังนักสูบบุหรี่หน้าใหม่อีกทั้งบุหรี่เป็นเพียงสินค้าชนิดเดียวที่ถูกกฎหมาย แต่เป็นอันตรายต่อทุกคนทั้งที่เป็นผู้สูบบุหรี่ และผู้ไม่สูบบุหรี่ แต่ได้รับควันบุหรี่มือสอง จึงมีความจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนให้ลด ละ เลิก การสูบบุหรี่โดยยึดหลักการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งการดูแลสร้างเสริมสุขภาพ การแนะนำให้มาบำบัด จัดระบบเฝ้าระวังไม่ให้กลับไปเสพซ้ำ โดยการสร้างแรงจูงใจ การตระหนักในปัญหา ร่วมกันให้คำปรึกษา ติดตาม ดูแล และการให้ความรู้แก่ประชาชนให้
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อสร้าง/ขยายเครือข่ายเฝ้าระวังควบคุมการบริโภคยาสูบในหมู่บ้าน/ชุมชน ตำบลบางปู
|
0.00 | |
2 | 2. เพื่อลดอัตราการสูบบุหรี่ของประชาชนในชุมชน
|
0.00 | |
3 | 3. เพื่อลดจำนวนผู้สูบรายใหม่
|
0.00 | |
4 | 4. เพื่อลดจำนวนผู้สัมผัสควันบุหรี่มือสองในบ้านของตนเอง
|
0.00 | |
5 | 5. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ดี
|
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 32,040.00 | 0 | 0.00 | |
24 ธ.ค. 67 - 31 พ.ค. 68 | กำหนดการอบรม โครงการบางปูร่วมใจ ลด ละ เลิกบุหรี่ เทศบาลตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2568 | 0 | 32,040.00 | - |
- เกิดเครือข่ายภาคประชาชนเพื่อร่วมดำเนินงานเฝ้าระวังควบคุมการบริโภคยาสูบในหมู่บ้าน/ชุมชน
- ลดอัตราการสูบบุหรี่ของผู้สูบรายใหม่และลดจำนวนผู้สัมผัสควันบุหรี่มือสอง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 2567 09:59 น.