โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคติดต่อในสถานศึกษาตำบล โคกม่วง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคติดต่อในสถานศึกษาตำบล โคกม่วง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L3312-1-02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลโคกม่วง |
วันที่อนุมัติ | 19 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 19 มีนาคม 2568 - 26 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 20,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายเจริญศักดิ์ ชูสง |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางวาลัยพร ด้วงคง |
พื้นที่ดำเนินการ | เขตเทศบาลตำบลโคกม่วง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 880 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | จำนวนเด็กเล็ก /โรงเรียนช่วงอายุ 0-14 ปี ป่วยด้วยโรคติดต่อ | 54.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรงเรียน และศูนย์พํฒนาเด็กเล็กเป็นสถานที่ที่เด็กนักเรียนอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก มีการคลุกคลีสัมผัสและทำกิจกรรมร่วมกัน ทำให้เชื้อโรคสามารถแพร่กระจายและติดต่อระหว่างกันได้ง่ายเมื่อเด็กเจ็บป่วย เด็กวัยก่อนเรียน เด็กวัยเรียน ได้แก่ เด็กที่มีอายุ 2-12 ปี เป็นช่วงอายุที่อยู่ระหว่างการพัฒนาทางด้านร่างกาย ด้านอารมณ์สังคม และด้านสติปัญญา เด็กยังมีภูมิต้านทานโรคต่างๆ จากการสร้างเสริมคุ้มกันโรค แต่วัยเด็กเจ็บป่วยและติดเชื้อได้ง่ายกว่าวัยอื่นๆ เนื่องจากความต้านทานโรคต่ำ โรคที่พบได้บ่อยในเด็ก ได้แก่ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อของอวัยวะต่างๆในร่างกาย เช่น โรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร โรคติดต่อทางเชื้อไวรัส และโรคติดต่อทางผิวหนัง เป็นต้น การเจ็บป่วยในวัยนี้อาจส่งผลต่อพัฒนาการและสุขภาพโดยรวมของเด็ก ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาตั้งแต่เริ่มป่วยอาจทำให้การเจ็บป่วยมีอาการหรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงถึงเสียชีวิตได้ และยังส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กทำให้ชะงักหรือล่าช้า ดังนั้นการป้องกันควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพจึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการที่จะช่วยลดและแก้ไขปัญหาการเจ็บป่วยจากโรคติดต่อที่พบได้บ่อยของเด็กวัยเรียนภายในโรงเรียนได้ จากรายงานข้อมูลจากงานระบาดวิทยาโรงพยาบาลเขาชัยสนเกี่ยวกับโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก /โรงเรียนช่วงอายุ 0-14 ปี ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน โรคไข้หวัดใหญ่ จำนวน 54 รายโรคปอดอักเสบ จำนวน 31ราย โรคไข้เลือดออก จำนวน 15 รายโรคมือ เท้า ปาก จำนวน9 รายโรคสุกใส/โรคอีสุกอีใสจำนวน2ราย ซึ่งโรคติดต่อเหล่านี้ สามารถติดต่อกันได้จากการหายใจเอาละอองอากาศที่มีเชื้อปนอยู่เข้าไป การไอหรือจามรดกัน และการใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน รวมทั้งการรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเข้าไป หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธีอาจทำให้เกิดการเรื้อรังและลุกลามได้ ก่อให้เกิดความรำคาญกับผู้ที่เป็น ทำให้เสียสมาธิในการเรียน เสียบุคลิกภาพ เสียความมั่นใจในตนเอง และยังเป็นพาหะนำไปติดผู้อื่นต่อไปได้ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลโคกม่วง ได้เล็งเห็นความสำคัญของสุขอนามัยของเด็กนักเรียน จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันโรค ลดอัตราการป่วยด้วยโรคติดต่อในโรงเรียน และได้ทราบถึงความสำคัญของสุขภาพอนามัย รวมถึงเป็นการส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีสุขภาพที่แข็งแรง และปลอดจากโรคต่างๆ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อที่ถูกวิธี และเหมาะสม นักเรียนในสถานศึกษา มีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อที่ถูกวิธี และเหมาะสม ร้อยละ 80 |
50.00 | 80.00 |
2 | เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อของนักเรียนในสถานศึกษา นักเรียนในสถานศึกษามีอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อลดลงร้อยละ 40 |
100.00 | 60.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 20,000.00 | 0 | 0.00 | 20,000.00 | |
28 พ.ค. 68 | กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อแก่ครู ผู้ปกครองและนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียน | 0 | 7,600.00 | - | - | ||
28 พ.ค. 68 - 26 ก.ย. 68 | กิจกรรมประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อ | 0 | 5,900.00 | - | - | ||
28 พ.ค. 68 - 11 มิ.ย. 68 | จัดหาวัสดุในการป้องกันโรคที่จำเป็นในสถานศึกษา | 0 | 6,500.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 20,000.00 | 0 | 0.00 | 20,000.00 |
- นักเรียนในสถานศึกษา มีความรู้ ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม
- นักเรียนในสถานศึกษากิดพฤติกรรมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในบริเวณโรงเรียนและชุมชนอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
- นักเรียนในสถานศึกษามีอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงร้อยละ 50
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 2567 15:17 น.