กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัยห่างไกลพลัดตกหกล้มเทศบาลตำบลโคกม่วง ปี 2568
รหัสโครงการ 68-L3312-3-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์ฟื้นฟูและดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรังและผู้พิการเทศบาลตำบลโคกม่วง
วันที่อนุมัติ 19 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 19 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 11,620.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรัชฏ์สุรางค์ บุญเพ็ง
พี่เลี้ยงโครงการ นางวาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 217 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย (Aging Society) อย่างสมบูรณ์ ตำบลโคกม่วงมีประชากรทั้งหมด 10,412 คน พบว่ามีผู้สูงอายุจำนวน 1,915 คน คิดเป็นร้อยละ 18.39 ของประชากรทั้งหมด จากความเสื่อมของร่างกายและโรคเรื้อรังต่างๆในผู้สูงอายุ ส่งผลให้ร่างกายไม่แข็งแรงและการทรงตัวได้ไม่ดีพอ จึงทำให้เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มได้ง่ายกว่าวัยอื่นๆ ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกระบุว่า ผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปจะมีแนวโน้มหกล้ม ร้อยละ 28-35 ต่อปีและจะเพิ่มเป็นร้อยละ 32-42 เมื่อก้าวเข้าสู่ปีที่ 70 เป็นต้นไป สามารถสรุปได้ว่าความเสี่ยงของการหกล้มจะยิ่งมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือมีโรคประจำตัว เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือมีปัญหาเรื่องการทรงตัว บางรายอาจ มีแค่อาการบาดเจ็บเล็กน้อยหลังหกล้ม แต่บางรายกลับเกิดการบาดเจ็บรุนแรง เช่น กระดูกหัก ภาวะเลือดคั่งในสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต และรุนแรงที่สุด คือ เสียชีวิต ผลกระทบของการพลัดตกหกล้มส่งผลทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ผลกระทบต่อจิตใจทำให้เกิดการกลัวต่อการหกล้ม สูญเสียความมั่นใจในการทำกิจกรรม ผลกระทบด้านเศรษฐกิจต้องเสียค่ารักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพเป็นเวลานาน และการดูแลที่ต่อเนื่อง ตลอดจนส่งผลต่อการขาดรายได้ของสมาชิกในครอบครัวที่ต้องมาดูแลผู้สูงอายุที่ได้รับบาดเจ็บจากการพลัดตกหกล้ม จากการรายงานผลการคัดกรองผู้สูงอายุ 9 ด้านตำบลโคกม่วง ผลพบว่าปกติจำนวน 1,280 คน เสี่ยง 217 คน คิดเป็นร้อยละ 16.95 ศูนย์ฟื้นฟูและดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรังและผู้พิการ เทศบาลตำบลโคกม่วงจึงมีความประสงค์จึงได้เขียนโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สงวัยห่างไกลพลัดตกหกล้มเทศบาลตำบลโคกม่วง ปี 2568 ขึ้น เพื่อให้ แกนนำผู้ดูแลผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันการเกิดภาวะพลัดตกหกล้ม และสามารถดูแลสุขภาพร่างกายของตนเองได้ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้แกนนำสุขภาพชุมชนและญาติ/ผู้สุงอายุที่เสี่ยงพลัดตกหกล้มมีความรู้ความเข้าใจ ตวามตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลตนเอง สามารถปฏิบัติตัวในการป้องกันพลัดตกหกล้ม

แกนนำ ญาติ/ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเองการป้องกันพลัดตกหกล้ม ร้อยละ90

60.00 90.00
2 เพื่อลดจำนวนการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ

อัตราการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการลดลง

217.00 10.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
21 มี.ค. 68 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แกนนำสุขภาพชุมชนและญาติผู้สุงอายุที่เสี่ยงพลัดตกหกล้ม 0 3,500.00 -
24 มี.ค. 68 - 19 ก.ย. 68 ลงพื้นที่ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุที่ภาวะเสี่ยงในการพลัดตกหกล้ม 0 8,120.00 -
23 เม.ย. 68 - 14 มี.ค. 68 คัดกรองสภาพผู้สูงอายุและประเมินปัญหาสุขภาพและความเสี่ยง วิเคราะห์ความเสี่ยงจากการคัดกรองแยกกลุ่มเสี่ยงภาวะพลัดตกหกล้ม 0 0.00 -
19 - 30 ก.ย. 68 สรุปผลการปฏิบัติงานโครงการ และประเมินผลโครงการ 0 0.00 -
รวม 0 11,620.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แกนนำสุขภาพ ผู้ดูแล/ผู้สูงอายุ มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถปฏิบัติตัวในการป้องกันการพลัดตกหกล้มได้ถูกต้อง
  2. ผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยงสูงต่อการพลัดตกหกล้มได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ