กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวัง - ควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ประจำปี 2568
รหัสโครงการ 68 - L8429 - 01 – 01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลสิเกา
วันที่อนุมัติ 23 ธันวาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2567 - 31 มีนาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 16,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ว่าที่ร้อยตรีหญิงกนกกาญจน์ ช่วงแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.569505428,99.33580733place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ย. 2567 31 มี.ค. 2568 16,750.00
รวมงบประมาณ 16,750.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไม่ติดต่อเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชากร ถึง 41 ล้านคนทั่วโลก หรือคิดเป็นร้อยละ 71 ของการเสียชีวิตของประชากรโลกทั้งหมด ถือว่าเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ โดยเฉพาะโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 ปี 2562 พบว่า ความชุกโรคความดันโลหิตสูง เท่ากับร้อยละ 25.4 เท่ากับว่า 1 ใน 4 ของคนไทยป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงและในจำนวนนี้เกือบครึ่งหนึ่งไม่ทราบว่าตนเองป่วย ส่วนความชุกของโรคเบาหวาน เท่ากับร้อยละ 9.5 และ 1 ใน 3 ไม่ทราบว่าตนเองเป็นเบาหวานมาก่อน การพัฒนาคุณภาพการบริการจึงเป็นอีกหนึ่งบทบาทที่จำเป็นในการดูแลและจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เพื่อให้ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพที่สำคัญ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยง ลดโรค รวมถึงป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการเจ็บป่วยให้มีแนวโน้มที่ดีขึ้น (กรมควบคุมโรคไม่ติดต่อ)       จากการดำเนินงานตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง กลุ่มประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ของตำบลบ่อหิน ในปี 2565 - 2567 สามารถคัดกรองโรคเบาหวานครอบคลุมกลุ่มประชากรดังกล่าวได้ร้อยละ 87.54 ,94.62 และ 89.67 ตามลำดับ และคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงได้ครอบคลุมร้อยละ 89.88, 95.32 และ 92.19 ตามลำดับ พบอัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ร้อยละ 7.25, 1.75 และ 4.13 อัตราโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ร้อยละ 6.30 , 5.73 และ 6.0 ตามลำดับ อัตราผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ร้อยละ 22.12 , 27.47 และ 36.23 และอัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ คิดเป็นร้อยละ 22.12 , 27.47 และ 19.80 ตามลำดับ       จากแนวโน้มอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลสิเกา จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ประจำปี 2568 เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้รับการตรวจติดตามเพื่อยืนยัน และให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้และผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง และได้รับความรู้ในการจัดการสุขภาพหรือการดูแลสุขภาพตนเอง
  • ร้อยละ 90 ของประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง และได้รับความรู้เรื่องโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
2 เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการตรวจติดตามเพื่อยืนยันวินิจฉัย
  • ร้อยละ 70 ของกลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการตรวจติดตามเพื่อยืนยันวินิจฉัย
3 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีความรู้ มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสม
  • ร้อยละ 90 ผู้ป่วยมีความรู้ด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
  • ร้อยละ 40 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้
  • ร้อยละ 40 ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 1970 16,750.00 3 16,750.00 0.00
1 พ.ย. 67 - 31 ธ.ค. 67 กิจกรรมรณรงค์ตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง 1,890 0.00 0.00 0.00
5 ก.พ. 68 กิจกรรมส่งเสริมความรู้ ลดเสี่ยง ลดโรค ป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง 80 12,350.00 12,350.00 0.00
26 มี.ค. 68 กิจกรรมเสริมพลังผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง 0 4,400.00 4,400.00 0.00
รวมทั้งสิ้น 1,970 16,750.00 3 16,750.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชากรกลุ่มเป้าหมายสามารถประเมินภาวะสุขภาพของตนเองได้
  2. ลดอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป
  3. ลดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 2567 16:35 น.