โครงการค่ายส่งเสริมสุขภาพเด็กและเยาวชน ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการค่ายส่งเสริมสุขภาพเด็กและเยาวชน ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L5311-02-10 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | สภาเด็กและเยาวชนตำบลน้ำผุด |
วันที่อนุมัติ | 15 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 55,710.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวณัฐณิชา สำเร |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ม.ค. 2568 | 30 ก.ย. 2568 | 55,710.00 | |||
รวมงบประมาณ | 55,710.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
เด็กและเยาวชนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและเป็นอนาคตของชาติต้องได้รับการพัฒนาเต็มตามองค์รวมครบทุกด้านทั้งร่างกายอารมณ์สังคมสติปัญญาและจริยธรรมคุณธรรมทั้งนี้การพัฒนาเด็กและเยาวชนต้องอาศัยการบูรณาการผสมผสานกับวิถีชีวิตของเด็กและเยาวชน โดยสถานการณ์เกี่ยวกับปัญหาเด็ก พบว่า มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในประเด็นของการถูกทอดทิ้งไม่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างพอเพียง ทั้งนี้อาจสืบเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ สำหรับประเด็นปัญหาด้านเด็กเป็นผู้กระทำผิดเองก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทั้งปัญหาเด็กและเยาวชน ในเรื่องของปัญหายาเสพติด ปัญหาความความก้าวร้าว ปัญหาการใช้ความรุนแรง เป็นต้น
จากการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาดังกล่าว พบว่า ครอบครัวและชุมชนยังขาดศักยภาพในการดูแลสมาชิกของตนเองและยังมีขีดความสามารถจำกัดในการจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ที่จะเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชนในครอบครัวและชุมชนได้ สถานการณ์เยาวชนในพื้นที่ตำบลน้ำผุดในปัจจุบัน สภาพวิถีชีวิตของประชาชนมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก ทั้งปัญหาเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมประเพณี และการเมืองการปกครอง ความรีบเร่งในการทำงาน และการประกอบอาชีพส่งผลต่อชีวิตประจำวันของประชาชนโดยรวม ตัวอย่างเช่น การไม่ให้ความสำคัญกับเวลาที่มีคุณค่ากับลูก การไม่รู้จักและตระหนักถึงภัยจากสื่อโฆษณา มีแหล่งจูงใจในทางที่ไม่สร้างสรรค์ ขาดความรู้ ขาดทักษะในการชี้แนะ เชื่อมโยงโน้มน้าวให้ลูกเกิดความรู้สึกนึกคิดที่ดีในการเข้ามาช่วยทำงานร่วมกับครอบครัว บ้านและโรงเรียนยังไม่สามารถทำงานร่วมกันในการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสภาพเงื่อนไขดังกล่าวก่อให้เกิดพื้นที่มั่วสุมพื้นที่เสี่ยง แหล่งอบายมุข สิ่งเสพติดของเด็กเยาวชน ทำอย่างไรที่จะให้เด็กและเยาวชนได้รู้จักคุณค่าของเวลามีทักษะในการดำรงชีวิต มีทักษะในการทำงาน มีจิตอาสาในการร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ เพื่อชุมชน วิธีการ ให้เด็กและเยาวชนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ใช้เวลาว่างในการแก้ปัญหาและพัฒนาระบบสุขภาวะของตนเองและของบุคคลในชุมชน เช่น กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ การทำงานร่วมกันเป็นทีม เป็นต้น สิ่งเหล่านี้สามารถที่จะทำให้เด็กและเยาวชน มีการส่งเสริมสุขภาพทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม
สภาเด็กและเยาวชนตำบลน้ำผุด จึงได้จัดทำโครงการค่ายส่งเสริมสุขภาพเด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นการสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนมีโอกาสในการแสดงออกตามความถนัดของตนเองเพื่อสร้างคุณค่าการมีส่วนร่วมที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมเพื่อห่างไกลยาเสพติด การส่งเสริมการออกกำลังกาย เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีสมรรถภาพร่างกายและจิตใจที่เข้มแข็งและ ได้ตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญในการที่จะร่วมป้องกันและพัฒนาเด็กและเยาวชนในพื้นที่ตำบลน้ำผุดให้เติบโตเป็นสมาชิกที่มีคุณภาพของสังคมต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีสมรรถภาพร่างกายและจิตใจที่เข้มแข็ง เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80 มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงขึ้น เจ็บป่วยน้อยลง |
0.00 | |
2 | เพื่อปลูกจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชน รู้จักใช้เวลาว่างให้ประโยชน์ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติด เด็กและเยาวชนที่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดลดลง รู้จักใช้เวลาว่างให้ เป็นประโยชน์มากขึ้น |
0.00 | |
3 | เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพการป้องกันโรคและสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ เด็กและเยาวชนสามารถดูแลสุขภาพตัวเองได้ถูกต้อง |
0.00 | |
4 | เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันเกิดความรักความสามัคคีในหมู่คณะ เด็กและเยาวชนเกิดการรวมกลุ่มทำกิจกรรมกันมากขึ้น |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 55,710.00 | 0 | 0.00 | |
1 ม.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานตามโครงการ | 0 | 0.00 | - | ||
1 ม.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมอบรมให้ความรู้ | 0 | 55,710.00 | - | ||
1 ม.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | สรุปและประเมินผล | 0 | 0.00 | - |
- เด็กและเยาวชนมีสมรรถภาพร่างกายและจิตใจที่เข้มแข็ง
- เด็กและเยาวชนรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ไม่ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติด
- เด็กและเยาวชนมีความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคและสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้
- เด็กและเยาวชนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เกิดความรักความสามัคคีในหมู่คณะ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 2567 00:00 น.