โครงการลดขยะ"เก็บให้เกลี้ยงไม่เลี้ยงยุงลาย"
ชื่อโครงการ | โครงการลดขยะ"เก็บให้เกลี้ยงไม่เลี้ยงยุงลาย" |
รหัสโครงการ | 2568-L3311-2-2 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านไสนายขัน |
วันที่อนุมัติ | 25 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 16,500.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางพรรณี นวลขาว |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลควนขนุน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.491,100.095place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากข้อมูลย้อนหลังของ รพ.สต.บ้านไสนายขัน การระบาดของโรคไข้เลือดออกในปี พ.ศ. 2567 มีผู้ป่วย 7 ราย อัตราป่วย 239.89 ต่อแสนประชากร ซึ่งเกินค่ามัธยมฐาน เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมป้องกันการระบาดของโรค ไข้เลือดออกจากการจัดทำประะชาคม ปัญหาโรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาด้านสุขภาพใน 5 ลำดับ โดยพบว่ามีความชุกของลูกน้ำยุงลายอยู่ ซึ่่งก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออก และจากการสำรวจชุมชนมีสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่ไม่เหมาะสม บางครัวเรือนจัดวางสิ่งของไม่เป็นระเบียบ ทิ้งขยะไม่ถูกที่ และภาชนะรองรับน้ำไม่มีฝาปิดมิดชิด ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านไสนายขัน จึงได้จัดทำโครงการลดขยะ "เก็บให้เกลี้ยงไม่เลี้ยงยุงลาย" ลดไข้เลือดออก เพื่อลดความชุกของลูกน้ำยุงลายและ เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนใน ชุมนและทุกภาคส่วนร่วมมือในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกและการจัดการสภาพแวดล้อม ขยะมูลฝอย บริเวณที่อยู๋อาศัยให้สะอาดถูกสุขลักษณะด้วยหลัก 5 ส. 3 ก.
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 1.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก มากกว่าร้อยละ 80 |
||
2 | 2.เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคระบาดให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน ให้มีศักยภาพในการช่วยกันดุแลและลดการแพร่ระบาดของโรค 2.ลดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อลงได้ |
||
3 | 3.เพื่อลดอัตราการเจ็บป่วยและการเกิดโรคของผู้ป่วยรายใหม่ในชุมชน 3.อัตราการเจ็บป่วยและการเกิดโรคของผู้ป่วยรายใหม่ในชุมชนลดลง |
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | ต.ค. 67 | พ.ย. 67 | ธ.ค. 67 | ม.ค. 68 | ก.พ. 68 | มี.ค. 68 | เม.ย. 68 | พ.ค. 68 | มิ.ย. 68 | ก.ค. 68 | ส.ค. 68 | ก.ย. 68 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | กิจกรรมสนับสนุนการทำงาน อสม.เชิงรุกโดยการจัดกิจกรรมรณรงค์การเก็บ ลดขยะ 3 เดือนครั้ง และติดตามประเมินลูกน้ำยุงลายทุก 1 เดือน(1 ต.ค. 2567-30 ก.ย. 2568) | 0.00 | ||||||||||||
รวม | 0.00 |
1 กิจกรรมสนับสนุนการทำงาน อสม.เชิงรุกโดยการจัดกิจกรรมรณรงค์การเก็บ ลดขยะ 3 เดือนครั้ง และติดตามประเมินลูกน้ำยุงลายทุก 1 เดือน | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
1.ประชาชนในชุมชนมีความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 2.ประชาชนในชุมชนมีพฤติกรรมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกที่ถูกต้อง 3.เพื่อลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 2567 11:25 น.