โครงการสร้างเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน
ชื่อโครงการ | โครงการสร้างเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน |
รหัสโครงการ | 68-L2480-2-10 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนบ้านมะรือโบออก มิตรภาพที่ 199 |
วันที่อนุมัติ | 24 กันยายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 16 กรกฎาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 9,700.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางซากีนา แวยูโซ๊ะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลมะรือโบออก อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 10 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงเกี่ยวกับยาเสพติด | 70.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การเสริมสร้างสุขภาพอนามัยกับการศึกษา เป็นสิ่งที่จะต้องดำเนินการควบคู่กันไป การพัฒนาเด็กและเยาวชน จึงอยู่ที่กระบวนการจัดการศึกษาและการสร้างสุขภาพ ภายใต้ความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง นับตั้งแต่ระดับครอบครัว โรงเรียน ชุมชนและองค์กรในท้องถิ่น ซึ่งจะต้องมีการประสานความร่วมมือ ประสานประโยชน์ที่เอื้อต่อการพัฒนาเด็กให้มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขและปลอดภัย ซึ่งโรงเรียนก็เป็นสถาบันหนึ่งของสังคมมีหน้าที่ให้ความรู้และพัฒนาคนให้มีสุขภาพและศักยภาพที่ดีการส่งเสริมสุขภาพอนามัยของนักเรียนเกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพฟันและช่องปากการให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียนให้มีคุณภาพ ส่งผลให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติดในปัจจุบัน พบว่ามีเด็กและเยาวชน จำนวนไม่น้อยที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ทั้งเกิดจากความตั้งใจ และเกิดจากการหลงผิด โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อีกทั้งยังมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่จะทำให้เด็กและเยาวชน มีโอกาสเข้าไปติดยาเสพติดเพิ่มมากขึ้นอีก เช่น เด็กและเยาวชน เป็นวัยที่ต้องการเรียนรู้ อยากลอง ต้องการเรียกร้องความสนใจ การสร้างการยอมรับเป็นต้น ดังนั้นเด็กและเยาวชนจำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างเพียงพอ ต้องได้รับการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและการรู้โทษที่ร้ายแรงของยาเสพติดอย่างเหมาะสม การรู้จักการหลีกเลี่ยงสิ่งเสพติด และสิ่งสำคัญคือการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กและเยาวชน โดยผนึกกำลังทุกภาคส่วน ให้ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมแรง ร่วมใจเป็นพลังของแผ่นดิน ที่จะต่อสู้เพื่อเอาชนะปัญหายาเสพติด ซึ่งเป็นภารกิจที่ทุกภาคส่วนต้องดำเนินการร่วมกัน และในสภาพปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติด มาในรูปแบบและวิธีการต่างๆมากมาย เข้าไปสู่เด็กและเยาวชนในสถานศึกษาต่างๆมากยิ่งขึ้น ทางโรงเรียนจึงมีความจำเป็นที่จะหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดไม่ให้เกิดขึ้นในหมู่บ้านเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเยาวชนไทย รวมทั้งส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน
ด้วยเหตุนี้โรงเรียนบ้านมะรือโบออก มิตรภาพที่ 199 มีความตระหนักและให้ความสำคัญของการดูแลสุขภาพอนามัยนักเรียน และการสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดจึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียนขึ้น เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้การดูแลรักษาสุขภาพฟันและช่องปากได้ถูกต้องตลอดจนการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในเรื่องยาเสพติดให้แก่นักเรียน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อให้นักเรียนตระหนักถึงการดูแลรักษาสุขภาพฟันและช่องปาก นักเรียนร้อยละ 80 ตระหนักในการดูแลรักษาสุขภาพฟันและช่องปาก |
70.00 | 100.00 |
2 | เพื่อให้นักเรียนมีภูมิคุ้มกันในเรื่องยาเสพติด นักเรียนร้อยละ 90 มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติด |
70.00 | 100.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 9,700.00 | 0 | 0.00 | |
16 ก.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมที่ 1อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพฟันและช่องปาก | 0 | 9,700.00 | - |
- นักเรียนร้อยละ 80 ตระหนักในการดูแลรักษาสุขภาพฟันและช่องปาก
- นักเรียนร้อยละ 90มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติด
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ม.ค. 2568 00:00 น.