โครงการลดละเลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ในพื้่นที่บ้านป่าเล
ชื่อโครงการ | โครงการลดละเลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ในพื้่นที่บ้านป่าเล |
รหัสโครงการ | 2568-L3311-2-16 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมคนหัวใจเพชร บ้านป่าเล หมู่ 7 ต.ควนขนุน อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง |
วันที่อนุมัติ | 25 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 30 พฤศจิกายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 23,505.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายปราณี บัวนุ่ม |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลควนขนุน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.491,100.095place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 15 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
……การดื่มสุราหรือเหล้าเป็นปัญหาสำคัญที่แฝงอยู่กับประเพณีและวัฒนธรรมของพื้นที่มานานจนก่อให้เกิดค่านิยมการดื่มเหล้าในโอกาสต่างๆ เช่นปีใหม่ สงกรานต์ ขึ้นบ้านใหม่ แต่งงาน งานบวชงานกฐิน หรือผ้าป่า รวมถึงงานศพ ล้วนแล้วแต่มีการบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทั้งสิ้น โดยเฉพาะงานศพเป็นงานที่พบว่ามีปริมาณการใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากในลำดับต้นๆ เนื่องจากงานศพเป็นงานที่เกิดขึ้นโดยที่เจ้าภาพไม่ได้ตั้งใจและไม่อยากให้เกิดขึ้นกับครอบครัว เมื่อเกิดขึ้นแล้วจำเป็นที่จะต้องจัดการตามประเพณี ซึ่งเจ้าภาพจะต้องจัดหาอาหารพร้อมเครื่องดื่ม เหล้า เบียร์ มาเลี้ยงแขกที่มาช่วยงาน บางคนเก็บศพไว้นานต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากพองานเสร็จ บางครอบครัวต้องติดหนี้ ยิ่งถ้าผู้เสียชีวิตเป็นผู้นำครอบครัวด้วยแล้ว ผู้อยู่เบื้องหลังต้องลำบากเดือดร้อน นำไปสู่ความยากจนและปัญหาสังคม สาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนในพื้นที่นิยมดื่มเหล้าในเทศกาลงานบุญต่างๆ จนแทบจะเป็นเรื่องปกติในวิถีชีวิตประจำวันนั่นก็คือ การมีเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ชนิดต่างๆวางจำหน่ายอยู่โดยทั่วไปและหาซื้อได้ง่ายโดยไม่รู้สึกว่าเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพ ชีวิต และทรัพย์สิน สิ่งสำคัญที่ก่อปัญหาเช่นนี้คือสืบเนื่องมาจากประเพณี วัฒนธรรมและบริบทของสังคมเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประชาชนรู้สึกว่าการดื่มเหล้าเป็นเรื่องปกติในชีวิต โดยไม่ได้คิดถึงพิษภัยของการดื่มเหล้าที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพสร้างปัญหาด้านเศรษฐกิจให้กับครอบครัว นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดการเล่นการพนัน และนำพาไปสู่การเกิดปัญหาสังคมอื่นๆตามมา เช่นอุบัติเหตุจราจร การลักขโมย การทะเลาะวิวาท และความยากจน ประชาชนม.7 บ้านป่าเล ตำควนขนุน มีการดื่มเหล้ากันมาช้านานจากดื่มน้ำตาลเมา มาเป็นเหล้า , เหล้าขาว และเมื่อก่อนที่ดื่มจะเป็น ผู้ใหญ่วัยทำงานในปัจจุบันขยายวงกว้างมาถึงเด็กวัยรุ่น ทำให้เกิดผลเสียสุขภาพ ปัญหาสังคม จากปัญหาและผลเสียของการดื่มสุราดังกล่าว ทางชมรมคนหัวใจเพชรบ้านป่าเล เล็งเห็นความสำคัญ จึงได้ร่วมกันจัดทำโครงการลดละเลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นเพื่อรณรงค์ส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน ประชาชนทั่วไปลด ละเลิกการดื่มสุราและบุหรี่ซึ่งจะส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกาย จิตใจ ซึ่งไม่เฉพาะร่างกายจิตใจของตนเองเท่านั้น แต่ยังทำให้สถาบันครอบครัวและสังคมเกิดความเข้มแข็ง โดยมุ่งเน้นกระตุ้น เตือนให้ประชาชน ตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนำไปสู่สุขภาพดี และสนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลสุขภาพ มีความรู้ ความเข้าใจ มีการตัดสินใจที่ดี รวมถึงการจัดการตนเองอย่างถูกต้องเหมาะสม จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง จากการทำโครงการในปี 2567 ปรากฏว่ามีผู้เข้าร่วมโครงการงดเหล้าเข้าพรรษาจำนวน 60 คน จึงได้เห็นความสำคัญที่จะทำโครงการนี้ต่อเพื่อชักชวนให้ประชาชน ที่ดื่มเหล้ามาเข้าโครงการเพิ่มขึ้น ต่อไปอย่างต่อเนื่อง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ที่ต้องการลด ละ และเลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จำนวนผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปัจจุบัน ทั้งดื่มประจำและครั้งคราว ที่ต้องการลด ละ และเลิกดื่ม เพิ่มขึ้นเป็น 60 คน |
||
2 | เพื่อลดอัตราการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป อัตราการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป ลดลงเหลือ(ร้อยละ)85 % |
||
3 | เพื่อลดอัตราการสูบยาสูบของผู้ใหญ่ อัตราการสูบบุหรี่ของผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไปลดลงเหลือ(ร้อยละ) 85 % |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
1.มีพื้นที่ต้นแบบ
2.มีผู้ลงนามปฏิญาณตนงดเหล้าเข้าพรรษา จำนวน 60 คน
3.มีผู้เข้าร่วมงดเหล้าเข้าพรรษา จำนวน 60 คน อยู่ครบพรรษาจำนวน 60 คน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ม.ค. 2568 14:39 น.