กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังและดูแลสตรีไทยให้ปลอดภัยจากโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านม
รหัสโครงการ 60-L5294-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพสต.นาทอน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
วันที่อนุมัติ 23 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2560 - 31 พฤษภาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 32,225.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาววนิดายาพระจันทร์
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวมณฑา นวลดำ
พื้นที่ดำเนินการ รพสต.นาทอน ตำบลนาทอน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 7.032,99.743place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1103 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์โรคมะเร็งปกล่าวได้ว่าากมดลุก พบว่าเป็นอันดับที่2ของมะเร็งที่พบในสตรีทั่วโลกรองจากมะเร็งเต้านม แต่ละปีมีสตรีทั่วโลกกว่า5แสนคนต่อปี เป็นโรคนี้และร้อยละ 80เกิดขึ้นในประเทศที่กำลังพัฒนาแต่สำหรับประเทศไทย พบว่าโดยส่วนใหญ่มักจะเกิดในผู้หญิงวัยกลางคนอายุระหว่าง 35-55 ปี ในแต่ละปีมีการตรวจพบมะเร็งปากมดลูกรายใหม่กว่า 6000รายและมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ 2600 รายต่อปี กล่าวได้ว่าทุกๆวันจะมีสตรีไทยเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกถึง 7คน นับเป็นปัญหาสำคัญของสาธารณสุขไทย จากการศึกษาวิจัยพบว่าโรคมะเร็งปากมดลูกเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี สายพันธุ์ที่16 และ18 การติดเชื้อร้อยละ 85 เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ร้อยะ 15 เกิดจากการสัมผัสแล้วเชื้อเข้าไปในเยื่อบุของอวัยวะเพศ หรือปากมดลูกที่มีรอยถลอกหรือแผลที่ทำให้เชื้อเข้าไปได้นั้น แม้ว่าไม่เคยผ่านการมีเพสสัมพันธ์มาก่อนก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อเอชพีวี เชื้อไวรัสชนิดนี้แบ่งออกเป็น2กลุ่ม คือ กลุ่มความเสี่ยงต่ำ ทำให้เกิดโรคหูดหงอนไก่ที่อวัยวะเพศและรอยโรคขั้นต่ำ ส่วนกลุ่มความเสี่ยงสูงเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงเนื้อเยื้อปากมดลูกจนกลายเป็นรอยโรคขั้นสูงและมะเร็งในที่สุด ดดยกระบวนการเกิดมะเร็งปากมดลูกใช้เวลาเฉลี่ย 5-15 ปี พบว่าสตรีที่สตรีที่ติดเชื้อไวรัส กลุ่มความเสี่ยงสูงมีโอกาสที่เกิดมะเร็งปากมดลูกสูงสุดถึง 400 เท่า เมื่อเทียบกับสตรีที่ไม่พบการติดเชื้อดังกล่าว อย่างไรก็ตาม การติดเชื้อดังกล่าว อาจจะหายเองได้ด้วยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ในกรณีที่มีการติดเชื้อยังคงอยู่ หรือฝังแน่นที่ปากมดลูกก็จะมีการพัฒนาไปเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ เนื่องจากโรคนี้มีระยะก่อนมะเร็งให้ตรวจพบก่อนได้ ดังนั้น การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่เรียกว่าการทำแป๊บสเมียร์ จะทำให้พบระยะก่อนมะเร็ง และมะเร็งระยะเริ่มแรก ช่วยให้สามารถรักษาและป้องกันไม่ให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้ตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้มีนโยบายส่งเสริมสุขภาพในการคัดกรอง โรคมเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มอายุ30-60ปี ใน75จังหวัดทั่วประเทศ ในการลดอุบัติการณ์และอัตราตายจากมะเร็งปากมดลูกของสตรีนั้นต้องมีการคัดกรองให้ครอบคลุมประชากรกลุ่มดังกล่าวให้มากที่สุด โดยต้องทำซำ้ทุก 5 ปีโดยมีแผนการป้องกันและควบคุมมะเร็งแห่งชาติตั้งแต่ปี 2541 ซึ่งมีเป้าหมายว่าจะลด อัตราตายของสตรีไทยจากมะเร็งปากมดลูกลง 50 % ภายในระยะเวลา 5ปี ซึ่งจากการดำเนินการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเริ่มตั้งแต่ปี2495โดยวิธี Papanicolaou และได้ดำเนินการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันยังไม่ครอบคลุมเป้าหมายยังพบว่าโรคมะเร็งปากมดลูกยังเป็นปัญหาสำคัญและอุบัติการณ์เกิดมะเร็งปากมดลูกยังไม่ได้ลดลงในสตรีไทย ปัจจุบันการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสามารถทำได้โดยวิธีPapanicolaou คือการค้นหาเนื้อเยื่อผิดปกติที่เปลี่ยนแปลงปากมดลูก ถ้าเซลล์ผิดปกติเหล่สนี้ไม่ได้รับการรักษา อาจเปลี่ยนแปลงไปเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ ซึ่งใช้เวลา 5-10 ปีถ้ามีภาวะเสี่ยงก็อาจเกิดอาการเร็วขึ้นการคัดกรองไม่ได้ถูกต้องร้อยเปอร์เซนต์ แต่ก็สามารถที่จะช่วยป้องกันมะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่ได้ ถ้าสามารถค้นหาเซลล์ผิดปกติก่อนที่จะกลายเป็นเซลล์มะเร็งชนิดสแควร์มัส ซึ่งเป็นชนิดที่พบมากที่สุดของมะเร็งปากมดลูก ส่วนเซลล์ผิดปกติที่อยู่ในรูเปิดของปากมดลูก Endocervical จะพบน้อย ประมาณร้อยละ20 และเซลล์ที่ผิดปกตินี้จะกลายเป็นมะเร็งปากมดลูกชนิด Adenocarcinoma ถ้าผลการตรวจคัดกรองพบว่าเซลล์ที่ปากมดลูกมีความผิดปกติ จะมีข้อบ่งชี้ว่า รักษาโดยการจี้ด้วยความเย็นหรือต้องพบแพทย์เพื่อตรวจโดยวิธรอื่นต่อไป เพื่อค้นหาความผิดปกตอื่นเพื่อแนะนำการรักษาที่ดีที่สุดและสามารถลดงบประมาณในการรักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วย และเพื่อให้การดำเนินงานการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมาย 30-60 ปีของ รพสต.นาทอน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีกลุ่มอายุ 30-60 ปี มีความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกก่อนกาตรวจคัดกรอง

สตรีกลุ่มอายุ 30-60 ปี มีความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกก่อนกาตรวจคัดกรอง ร้อยละ 100

2 เพื่อให้สตรีกลุ่มอายุ 30-70 ปี มีความรู้เรื่องมะเร็งเต้านมก่อนตรวจเต้านมด้วยตนเอง

สตรีกลุ่มอายุ 30-70 ปี มีความรู้เรื่องมะเร็งเต้านมก่อนตรวจเต้านมด้วยตนเอง ร้อยละ 100

3 เพื่อให้สตรีกลุ่มอายุ 30-60 ปี รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

ให้สตรีกลุ่มอายุ 30-60 ปี รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสะสม 5 ปี ร้อยละ 80

4 เพื่อให้สตรีกลุ่มอายุ 30-70 ปี ตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกวิธี

สตรีกลุ่มอายุ 30-70 ปี ตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกวิธี ร้อยละ 90

5 ในรายที่ตรวจพบความผิดปกติในระยะก่อนการเป็นมะเร็งได้รับการส่งต่อและรับการรักษาที่ถูกต้องพร้อมได้รับการติดตามเยี่ยมโดยทีมสุขภาพ

ในรายที่ตรวจพบความผิดปกติในระยะก่อนการเป็นมะเร็งได้รับการส่งต่อและรับการรักษาที่ถูกต้องพร้อมได้รับการติดตามเยี่ยมโดยทีมสุขภาพร้อยละ 100

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ 1 ประชุมชี้แจงอาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน 2 จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ 3 จัดทำทะเบียนกลุ่มสตรีเป้าหมาย 4ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขั้นดำเนินการ 1 ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านอสม แกนนำ ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนาหอกระจายข่าว คลื่นวิทยุชุมชน 2 จัดประชุมชี้แจงอาสาสมัครสาธารณสุขทั้งตำบลในพื้นที่ดำเนิโครงการและจัดทำหนังสือประชาสัมพันธ์การตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมายให้ อสม. ทุกคนเพื่อร่วมประชาสัมพันธ์โครงการในชุมชน หอกระจายข่าว 3 จัดทะเบียนรายชื่อสตรีกลุ่มเป้าหมายให้ประธาน อสม. แต่ละหมู่เพื่อชี้แจง อสม.แต่ละคนติดตามกลุ่มเป้าหมายในหลังคาเรือนที่รับผิดชอบมารับบริการตรวจคัดกรอง และติดตามกลุ่มเป้าหมายที่ไปรับบริการที่สถานบริการอื่น 4เจ้าหน้าที่ร่วมกับอสม.และครอบครัวสตรีร่วมค้นหากลุ่มค้าหาเป้าหมายในชุมชน 5จัดอบรมให้ความรู้ก่อนตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมแก่สตรีกลุ่มเป้าหมาย 6 การดำเนินการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก - อสม.และคู่สมรสนำส่งสตรีกลุ่มเป้าหมายเข้ารับบริการ - จัดเตรียมบคลากรในสถานบริการเพื่อช่วยในการให้บริการ - จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับให้บริการการตรวจอย่างเพียงพอ - จัดคลีนิกให้บริการการตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี pap smear - ในกรณีที่พบเนื้อเยื้อผิดปกติดำเนินการจัดทำใบส่งต่อเพื่อการรักษา - ทีมสุขภาพติดตามเยี่ยมและให้คำแนะนำการให้ความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมร่วกับอาสาสมัครสาธารณสุข

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 สตรีในกลุ่มอายุ 30-60 ปี ได้รับบริการตรวจกรองมะเร็งปากมดลูกสะสม 5 ปี ร้อยละ 80 2 สตรีในกลุ่มอายุ 30-70 ปี ได้รับบริากรตรวจเต้านมด้วยตนเองร้อยอละ 90 3 ในรายทีี่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษาที่ถูกต้องพร้อมๆด้รับการติดตามเยี่ยมโดยทีมสุขภาพร้อยละ 100 4 บุคคลในครอบครัวร่วมดูแลและพาสตรีกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมากขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ม.ค. 2560 15:12 น.