กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมพัฒนาการและสร้างวินัยเชิงบวก โดยครอบครัวมีส่วนร่วม
รหัสโครงการ 68-L2536-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสวัสดิการสังคม องค์การบริหารส่วนตำบลปูโยะ
วันที่อนุมัติ 24 กันยายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 84,225.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนูรอัยซะห์ เจ๊ะหะมะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางวรรณนา บูแมนิแล
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปูโยะ อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.109,101.993place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 43 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 43 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กปฐมวัยเป็นช่วงโอกาสทองของชีวิต ที่สมองและการเรียนรู้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว หรือที่เรียกว่า “หน้าต่างแห่งโอกาส” การลงทุนในเด็กปฐมวัยจะให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าถึง 7 เท่าในวันที่เขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ และหากเด็กมีปัญหาพัฒนาการล่าช้าโดยเฉพาะด้านภาษา ด้านการช่วยเหลือตัวเองและทักษะทางสังคม เมื่อเข้าสู่วัยเรียนหากเด็กไม่พร้อมที่จะพึ่งตัวเองและมีทักษะทางสังคมน้อยก็จะมีปัญหาทางจิตใจและพฤติกรรมที่ต้องแก้ไข เช่น รู้สึกว่าตัวเองด้อยกว่าคนอื่น ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา เป็นต้น การปลูกฝังลักษณะนิสัยที่ดีเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา คนทุกคนควรได้การพัฒนาอีคิวหรือความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Quotient : EQ) ตั้งแต่ปฐมวัย ซึ่งจะทำให้เด็กมีคุณสมบัติของการมีอีคิวที่ดีติดตัวไปและสามารถนำมาใช้ในการดำเนินชีวิต ทุกช่วงวัยได้อย่างอัตโนมัติ การเสริมสร้างอีคิวเด็กปฐมวัยจึงเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นและมีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยผู้ที่มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการและอีคิวในเด็กปฐมวัยนั้นคือ พ่อแม่ผู้ปกครอง และด้วยสภาพสังคมและเศรษฐกิจปัจจุบันที่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องทำงานนอกบ้านทำให้มีเวลาในการดูแลเด็กน้อยลง ดังนั้นการพัฒนานวัตกรรมเพื่อช่วยเสริมพลังพ่อแม่ผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการจึงมีความสำคัญ     ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาทางจิตใจและพฤติกรรมที่อาจเกิดขึ้นและเพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนาการและสร้างวินัยเชิงบวกในเด็กปฐมวัยโดยครอบครัวมีส่วนร่วม ให้แก่ประชาชนในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลปูโยะร่วมกับกองทุนสุขภาพตำบลปูโยะ จึงเล็งเห็นความสำคัญในการจัดโครงการส่งเสริมพัฒนาการและสร้างวินัยเชิงบวก โดยครอบครัวมีส่วนร่วมขึ้นตามแผนปฏิบัติการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นตำบลปูโยะ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๘ กิจกรรมประเภทที่ ๑ กิจกรรมสนับสนุนหน่วยบริการ หรือสถานบริการ หรือหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก (กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมพัฒนาการและความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยผ่านการฝึกทักษะการเลี้ยงดูสำหรับพ่อแม่ ผู้ปกครองและผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัย

 

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้พ่อแม่ ผู้ปกครองและผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัย มีการเลี้ยงดูแบบส่งเสริมพัฒนาการและความฉลาดทางอารมณ์ ลดความรุนแรงในการเลี้ยงดูเด็ก

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 84,225.00 0 0.00
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมอบรมให้ความรู้การส่งเสริมพัฒนาการเด็กและการสร้างวินัยเชิงบวกแก่ผู้ปกครอง 0 9,945.00 -
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 ประชุมเชิงปฏิบัติการ "สร้างสายใย" 0 18,320.00 -
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 ประชุมเชิงปฏิบัติการ "สร้างวินัย" 0 18,320.00 -
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 ประชุมเชิงปฏิบัติการ "สร้างเด็กเก่ง 1" 0 18,320.00 -
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 ประชุมเชิงปฏิบัติการ "สร้างเด็กเก่ง 2" 0 19,320.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กปฐมวัยได้รับการส่งเสริมพัฒนาการและความฉลาดทางอารมณ์
  2. พ่อแม่ ผู้ปกครองและผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัย มีการเลี้ยงดูเด็กแบบส่งเสริมพัฒนาการและความฉลาดทางอารมณ์ ลดความรุนแรงในการเลี้ยงดูเด็ก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2568 00:00 น.