โครงการ อย.น้อย รู้เท่าทันสื่อ ประจำปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการ อย.น้อย รู้เท่าทันสื่อ ประจำปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 68L70080114 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี |
วันที่อนุมัติ | 13 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 6 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 21,144.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางอามีหน๊ะ มะดีเยาะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายไพรจิตร บุญช่วย |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 40 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันสื่อออนไลน์ได้เข้ามีบทบาทอย่างมากในการดำเนินชีวิต ทำให้ประชาชนสามารถตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคได้อย่างเสรี ซึ่งต่างจากในอดีตประชาชนมักดำรงชีวิตแบบเอื้ออาทรอีกทั้งด้านการผลิต ยังคงใช้วัสดุจากธรรมชาติเป็นส่วนประกอบมากกว่ารวมถึงมีการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคด้วยกลวิธีต่างๆ ของ ผู้ผลิตยังไม่มากเช่นปัจจุบัน เด็กที่อยู่ในวัยเรียนส่วนใหญ่มักมีพฤติกรรมในการเลือกซื้อเลียนแบบสื่อ โดยมิได้คำนึงถึงประโยชน์ อันตราย หรือความปลอดภัย หากเด็กนักเรียนเหล่านี้มีความรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆ จะทำให้ได้รับสินค้าที่มีความปลอดภัย เพราะผู้ผลิตส่วนใหญ่ผลิตสินค้าออกมา เพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคสินค้าบางอย่างผลิตได้ถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนดแต่ก็ยังคงมีสินค้าบางอย่างที่ผู้ผลิตได้แอบอ้างสรรพคุณมีการโฆษณาชวนเชื่อเกินความเป็นจริง หรืออาจมีผลิตภัณฑ์ที่มีสารปนเปื้อนเป็นอันตราย ปะปนอยู่เป็นจำนวนมาก พร้อมกันนี้การให้ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหาร และการอ่านข้อมูลโภชนาการจากฉลากผลิตภัณฑ์ จะเป็นประโยชน์ต่อเด็กกลุ่มดังกล่าว เมื่อมีความรู้และมีทักษะในการเลือกซื้อใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆ จะทำให้สามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ และความรู้ดังกล่าวสามารถ่ายทอดไปยังสมาชิกในครอบครัวและในชุมชนต่อไป โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปู ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของเด็กที่อยู่ในวัยเรียน ซึ่งเป็นผู้ที่กระตือรือร้นในการทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ โครงการอย.น้อย ประกอบด้วยกิจกรรมอย่างหลากหลายเพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ และเกิดทักษะ ในการเลือกซื้อเลือกใช้อาหาร ยา และเครื่องสำอางที่เป็นประโยชน์ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม อีกประการหนึ่งเพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนแกนนำ อย.น้อย ได้รู้จักการทำงานเป็นทีม การวางแผนในการปฏิบัติงาน กล้าแสดงออกในการเผยแพร่ความรู้แก่นักเรียนเครือข่าย อย.น้อย ผู้แทนเครือข่ายผู้ปกครอง และประชาชน ทั่วไปได้อย่างมั่นใจ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้นักเรียนมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกหลักอนามัยและเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัย เช่น ไม่บริโภคน้ำอัดลม ไม่ทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ อ่านฉลากอาหาร ยา เครื่องสำอางก่อนใช้ ร้อยละ 100 ของนักเรียนที่เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้ ในการเลือกซื้ออาหาร เลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ได้อย่างถูกต้องปลอดภัย |
0.00 | |
2 | เพื่อให้นักเรียนสามารถใช้ชุดทดสอบสารปนเปื้อนในอาหาร ,ชุดทดสอบสารสเตียรอยด์ในยาชุด, ยาสมุนไพร รวมทั้งเครื่องสำอางได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 100 ของนักเรียนที่เข้าร่วมอบรมสามารถตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร และในผลิตภัณฑ์ต่างๆได้ด้วยตนเองอย่างถูกต้อง ปลอดภัย |
0.00 | |
3 | เพื่อให้นักเรียนได้มีการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง สามารถเป็นตัวแทนในการเผยแผร่ความรู้จากการอบรม ถ่ายทอดไปยังสมาชิกในครอบครัวรวมไปถึงเผยแพร่ความรู้ดังกล่าวไปยังชุมชนต่อไป นักเรียนได้มีการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง สามารถเป็นตัวแทนในการเผยแผร่ความรู้จากการอบรม ถ่ายทอดไปยังสมาชิกในครอบครัวรวมไปถึงเผยแพร่ความรู้ดังกล่าวไปยังชุมชนต่อไป |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 176 | 21,144.00 | 0 | 0.00 | |
3 ก.พ. 68 - 30 ก.ย. 68 | ติดตามพฤติกรรมการเลือกซื้อหรือใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพตามโฆษณาชวนเชื่อ | 44 | 0.00 | - | ||
1 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | ตรวจสอบคุณภาพอาหารที่จำหน่ายภายใน หรือรอบๆ โรงเรียน และตลาดสดหรือชุมชน | 44 | 5,634.00 | - | ||
1 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | การรณรงค์ให้ความรู้ในชุมชน แจกเอกสารความรู้ ในหัวข้อการซื้อหรือใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพตามโฆษณาชวนเชื่อ | 44 | 5,000.00 | - | ||
2 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องการเลือกอาหารปลอดภัย การใช้ยา การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพ การใช้สมุนไพร และการใช้ชุดทดสอบตรวจหาสารปนเปื้อนในอาหาร ชุดทดสอบสารสเตียรอยด์ในยาชุด รวมทั้งเครื่องสำอาง | 44 | 10,510.00 | - |
- นักเรียนได้รับความรู้ ในการเลือกซื้ออาหาร เลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ได้อย่างถูกต้องปลอดภัย ร้อยละ 100
- นักเรียนสามารถตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร และในผลิตภัณฑ์ต่างๆได้ด้วยตนเองอย่างถูกต้อง ปลอดภัย ร้อยละ 100
- มีประกาศนโยบายข้อตกลงในชุมชนในหัวข้อการซื้อหรือใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพตามโฆษณาชวนเชื่อ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2568 00:00 น.