พิชิตยุงร้าย ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ ป้องกันไข้เลือดออก ปี2568
ชื่อโครงการ | พิชิตยุงร้าย ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ ป้องกันไข้เลือดออก ปี2568 |
รหัสโครงการ | 68-L3042-02-12 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตาแกะ |
วันที่อนุมัติ | 4 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 1 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 20,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวเจะรอฮายา กาเดร์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางวรรณาพร บัวสุวรรณ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลตาแกะ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกนับว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ มีความรุนแรงสามารถทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้และมีผลต่อการสูญเสียทางเศรษฐกิจ ปัจจุบันพบว่ายังมีการแพร่ระบาดอยู่เป็นจำนวนมาก ในขณะที่การป้องกันและการควบคุมโรคโดยการกำจัดและลดจำนวนยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคด้วยการทำลายลูกน้ำและแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายนั้นอาจไม่จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีสูงๆใดๆเลย แต่ก็ยังไม่สามารถควบคุมโรคนี้ให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยได้ การแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกนับว่าเป็นเป้าหมายหลักของทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องดูแลและป้องกันไม่ให้มีการแพร่ระบาดของโรคในพื้นที่อีกทั้งยังต้องได้รับความร่วมมือทุกภาคีเครือข่ายในชุมชน ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตาแกะ ถือเป็นอีกหหนึ่งเครือข่ายในชุมชน ที่มีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดในพื้นที่ จึงได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก มีการวางกำหนดเป้าหมายการควบคุมโรคโดยเน้นการดำเนินการในบ้าน ชุมชน โรงเรียน ตลอดจนสถานที่ราชการต่างๆเป็นเขตปลอดยุงลาย รวมทั้งการรณรงค์ให้ประชาชนร่วมกันกำจัดยุงลายและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายเพื่อเป็นการปลูกฝังพฤติกรรมการป้องกันโรคเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีต่อไป ดังนั้น ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตาแกะ จึงได้จัดทำโครงการ พิชิตยุงร้าย ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ ป้องกันไข้เลือดออก ปี 2568 เพื่อจัดอบรม สัมมนาให้ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐานประจำหมู่บ้าน (อสม.) และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำความรู้ไปขยายผลต่อ เผยแพร่ให้กับประชาชนให้มีความรู้ความเข้าใจจะได้ช่วยกันป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกไม่ให้มีการแพร่ระบาดในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อพัฒนาทักษะ อสม. และเจ้าที่ที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องไข้เลือดออก สามารถช่วยกันป้องกัน ดูแลไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ
|
||
2 | เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ในบ้านตนเองอย่างสม่ำเสมอ
|
||
3 | เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน วัดและชุมชน
|
||
4 | เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
|
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | ต.ค. 67 | พ.ย. 67 | ธ.ค. 67 | ม.ค. 68 | ก.พ. 68 | มี.ค. 68 | เม.ย. 68 | พ.ค. 68 | มิ.ย. 68 | ก.ค. 68 | ส.ค. 68 | ก.ย. 68 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | กิจกรรมอบรม/สัมมนาความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง(1 ต.ค. 2567-31 ธ.ค. 2567) | 8,520.00 | ||||||||||||
2 | กิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ โดย อสม.(2 ม.ค. 2568-30 ก.ย. 2568) | 11,480.00 | ||||||||||||
รวม | 20,000.00 |
1 กิจกรรมอบรม/สัมมนาความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 60 | 8,520.00 | 0 | 0.00 | |
1 ต.ค. 67 - 31 ธ.ค. 67 | อบรมให้ความรู้ | 60 | 8,520.00 | - | ||
2 กิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ โดย อสม. | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 60 | 11,480.00 | 0 | 0.00 | |
2 ม.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | รณรงค์ทำลายกำจัดยุงลาย | 60 | 11,480.00 | - | ||
- อสม.ในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องไข้เลือดออกมากขึ้น สามารถช่วยป้องกันดูแลไม่ให้มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
- ประชาชนได้ตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออกและให้ความร่วมมือในการดูแลตนเองและช่วยกันป้องกันไม่ให้มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก
- พื้นที่เป้าหมายไม่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2567 00:00 น.