กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสายใยครอบครัวล้อมรั้วรักก่อนวัย ปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของรัฐ เช่น สสอ.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอตะโหมด
วันที่อนุมัติ 24 ธันวาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 25,376.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายพิลือ เขียวแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ เนื่องจากการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นไม่เพียงแต่เป็นปัญหาด้านสุขภาพ แต่ยังเป็นปัญหาด้านประชากร ที่ส่งผลต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ จากการายงานขององค์กรอนามัยโลกกล่าวว่า ประมาณ 16 ล้านคนในวัยรุ่นหญิงอายุ 15-19 ปี และ 2.5 ล้านคนในวัยรุ่นหญิงที่อายุต่ำกว่า 16 ปี มีการตั้งครรภ์คลอดในแต่ละปีในประเทศกำลังพัฒนาซึ่งในประเด็นความตั้งใจที่จะตั้งครรภ์หรือไม่นั้น จากผลการสำรวจ 80 ประเทศทั่วโลก พบว่ามีหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น 208 ล้านคน ประมาณร้อยละ 41 เป็นการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแบบไม่ตั้งใจ(unintended teenage pregnancy) ถึงแม้ในภาพรวมจะพบว่าอัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแบบไม่ตั้งใจลดลง ทั้งในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว และกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาแต่หากการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นความพลาดพลั้งหรือเป็นการตั้งครรภ์แบบไม่ตั้งใจก็มักจะหาทางออกด้วยการทำแท้งผิดกฏหมาย หรือหากดำรงครรภ์ต่อไปมารดาวัยรุ่นอาจต้องออกจากโรงเรียนกลางคันเนื่องจากเกิดภาวะบีบคั้นทางสังคม และอาจจะเป็นมารดาที่ต้องเลี้ยงลูกตามลำพังเนื่องจากฝ่ายชายปฏิเสธการรับผิดชอบและอาจตามมาด้วยปัญหาด้านสภาพจิตใจต่อไป สภาพปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจังหวัดพัทลุง ปีงบประมาณ 2564-2567 พบว่าอัตราคลอดมีชีพในหญิง อายุ 15-19 ปี คิดเป็น 8.62,8.57,8.51 และ 8.53 ต่อประชากรหญิง 15-19 ปี พันคนตามลำดับ ปีงบประมาณ 2564-2567 ร้อยละการตั้งครรภ์ซ้ำในหญิงอายุน้อยกว่า 20 ปี เท่ากับ 50.00,0.00 ,33.33 และ 14.29 ตามลำดับ จากสถานการณ์ดังกล่าวปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นยังเป็นปัญหาสำคัญของพื้นที่ ดังนั้นการป้องกันปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรและการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น จึงเป็นปัญหาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับวัยรุ่นในอนาคต สำนักงานสาธารณสุขอำเภอตะโหมด จึงจัดโครงการสายใยครอบครัวล้อมรั้วรักก่อนวัยเทศบาลตำบลตะโหมด ปีงบประมาณ 2568 ขึ้น เพื่อเป็นการสร้างองค์ความรู้เรื่องอนามัยเจริญพันธ์ุและเพศศึกษาให้วัยรุ่นมีภูมิคุ้มกันและทักษะในการปฏิเสธต่อพฤติกรรมเสี่ยงในเรื่องเพศและส่งเสริมความรักความผูกพันในครอบครัว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้วัยรุ่นได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาผลกระทบที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และรู้จักวิธีปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร

ประมวลผลจากแบบสอบถามและแบบประเมินความรอบรู้ด้านเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิตสำหรับวัยรุ่นหลังการอบรม

0.00
2 เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยและป้องกันโรคที่มาจากการมีเพศสัมพันธ์ เช่น เอชไอวี (HIV) ซิฟิลิส เป็นต้น

ประมวลผลจากแบบสอบถามและแบบประเมินความรอบรู้ด้านเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิตสำหรับวัยรุ่นหลังการอบรม

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 25,376.00 0 0.00
1 ม.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 1 รุ่น 0 25,376.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1วัยรุ่นมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และมีทักษะการปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรเพิ่มขึ้น 2อัตราการตั้งครรภ์ซ้ำในหญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี ลดลง 3ผู้ปกครองและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านสามารถให้คำปรึกษาและให้การช่วยเหลือปัญหาเรื่องเพศแก่วัยรุ่นในชุมชนได้ในเบื้องต้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 2567 00:00 น.