กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ผู้ก่อการดี(Merit Maker)การดำเนินงานป้องกันการจมน้ำ
รหัสโครงการ 61-L3318-1-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมตำบลโตนดด้วน
วันที่อนุมัติ 27 ธันวาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2561 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 34,540.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนฤมล แป้นด้วง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโตนดด้วน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.718,100.036place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเสียชิวิตจากการตกน้ำ จมน้ำ ของเด็กมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนี่ยงตั้งแต่ปี 2542-2548 และเริ่มลดลงตั้งแต่ปลายปี 2549 หลังจากกรมควบคุมโรคและภาคีเครือข่ายเริ่มดำเนินการป้องกัน อย่างไรก็ตามแม้ว่าจำนวนการจมน้ำจะลดลงแต่ยังคงลดลงอย่างช้าๆ โดยเฉพาะช่วงเด็ก 5-14ปี พบว่าลดลงน้อยมาก ท้งนี้หากยังเป็นเช่นนี้ต่อไปในอีก 10ปี ข้างหน้า ประเทศไทยจะยังคงสูญเสียเด็กไปอีกเกือย 13,000 คน จากสาเหตุการจมน้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุที่สามารถป้องกันได้และกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้การเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด้ก อายุต่ำกว่า 15ปี เป็นตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2558 เป็นต้นมา ในปีงบประมาณ 2559 ได้กำหนดเป้าหมายลดอัตราการเสียชีวิตการการจมน้ำของเด็ก อายุต่ำกว่า 15ปี ไม่เกิน 6.5 ต่อประชาการเด็กแสนคนระดับเขตบริการสุขภาพ ที่12 ได้กำหนดเป้าหมายดำเนินงาน พ.ศ.2560 อัตราตายต่อประชากรเด้กแสนคน ไม่เกิน 5.1 ต่อประชากรเด้กแสนคนจากข้อมูลสถิติปี 2559 ของจังหวัด มีเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำ จำนวน๗ ราย จากประชากรเด็กทั้งหมด ๙๗,00๒ คน คิดเป็นอัตราตาย ๘.2 ต่อประชากรเด็กแสนคน ซึ่งในปี 2560 ได้กำหนดเป้าหมายเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำไม่เกิน ๖ ราย อัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็ก อายุต่ำกว่า 15ปี เท่ากับ 6.2 ต่อประชากรเด็กแสนคน อำเภอควนขุน ตั้งแต่ปี 2557-31 มีนาคม 2560 ไม่มีเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำ ประกอบกับรัฐบาลมีข้อเสนอเชิงนโยบายที่สำคัญ 3 ประเด็น สำหรับการดำเนินงานป้องกันเด็กจมน้ำ 1.) ควรให้เด็กทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป ได้เรียนหลักสูตรว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด(ความรู้เรื่ิงความปลอยภัยทางน้ำการเอาชีวิตรอด และวิธีการช่วยเหลือ)เป็นหลักสูตรภาคบังคับสำหรับเด็ก 2.)ควรออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ สำหรับท้องถิ่นในการขุดแหล่งน้ำเพื่่อใช้ประโยชน์ในพื้นที่ ต้องมีมาตรการในการป้องกันเพื่ิ่อไม่ให้แหล่งน้ำดังกล่าวน้ำเสี่ยงของชุมชน เช่นเดียวกับแหล่งน้ำที่จัดให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว (น้ำตก ทะเล อ่างเก็บน้ำ สวนน้ำ)และสระน้ำว่ายน้ำ จำเป็นต้องกำหนดใหมีมาตรความปลอยภัย เช่น การมีเจ้าหน้าที่(Lifeguard) ดูแล การมีกฎระเบียบให้ผู้มารับบริการทุกคนต้องสวมเสื้อชูชีพทุกครั้งที่เดินทางหรือทำกิจกรรมทางน้ำ การมีอุปกรณ์ช่วยคนตกน้ำติดตั้งไว้เป็นระยะและสามารถเข้าถึงได้ง่าย การมีป้าย/ธงแจ้งเตือน (ห้ามลงเล่นน้ำ น้ำลึก น้ำวน)ป้ายบอกระดับความล฿กของน้ำ 3.)ควรให้ทุกหน่วยงานในพื้นที่มีการสร้างทีมเครือข่ายผู้ก่อการดี (Merit Maker) เพื่อดำเนินงานป้องกันการจมน้ำ อย่างน้อยตำบลละ 1 ทีมเพื่อให้เกิดการบูรณาการการดำเนินงานป้องกันการจมน้ำของหน่วยงานและภาคส่วนต่างๆ ครอบคลุมทุกมาตรการในระดับพื้นที่ และเน้นการใช้ทรัพยากรร่วมกันดังนั้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.มีการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก/เด็ก 2.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีการดำเนินงานการป้องกันเด็กจมน้ำ ร้อยละ50 3.ชุมชนมีกิจกรรมการถ่ายทอดความรู้เรื่องการป้องกันเด็กจมน้ำในชุมชนรูปแบบต่างๆ อย่าต่อเนื่อง อย่างน้อย 4ครั้ง/ปี 4.มีวิทยากรหลักสูตรว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดเพิ่มขึ้น 30 คน/ปี 5.เด็ก 6-14 ปีในตำบลโตนดด้วน ได้รับเรียนรู้หลักสูตว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดอย่างน้อย 100 คน 6.มีการจัดการสิ่งแวดล้อมบริเวณแหล่งน้ำเสี่ยงในตำบลโตนดด้วน ร้อยละ 50 หรืออน่างน้อย 10 แห่ง

 

2 เพื่อเพิ่มทักษะการเอาตัวรอดจากการจมน้ำแก่เด็กวัยเรียน(อายุ 6 ปีขึ้นไป)

จำนวนเด็กวัยเรียน(อายุ 6 ปีขึ้นไป) เสียชีวิตจากการจมน้ำ (คน)

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ศึกษาข้อมูลสถานการณ์การเสียชีวิตจากการจมน้ำ 2.น้ำเสนอข้อมูลต่อผู้บริหารเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ 3.จัดประชุมทีมผู้ก่อการดีภาคีโตนดด้วน จำนวน 1 รุ่น ระยะเวลา 1 วัน 4.จัดอบรมสอนหลักสูตร "ว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด" จำนวน คนๆละ 1 วัน 5.สื่อสาร ประชาสัมพัธ์ ผ่านหอกระจายข่าว และจัดนิทรรศกรรณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำในหมู่บ้าน/ชุมชน สถานศึกษา/ศูนย์เด็กเล็ก เดือนละ 1 ครั้ง 6.จัดประชุมติดตามการดำเนินงานภาคีเครือข่ายการดำเนินงานป้องกันเด็กจมน้ำ จำนวน 2 ครั้ง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลลัพธ์ (Out Come) 1.มีการบริหารจัดการให้มีการดำเนินงานป้องกันเด็กจมน้ำอย่างมีสิทธิภาพ มีการดำเนินงานตามมาตรการดำเนินงานการป้องกันเด็กชีวิตจากการจมน้ำภายใต้อำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน ผ่านการรับรองตามมาตรฐาน จากสำนักงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ 2.ตำบลโตนดด้วน ไม่มีเด็กอายุต่ำกว่า 15ปี จมน้ำเสียชีวิต ผลกระทบ (lmpact) 1.ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนัก เห็นสำคัญ และสามารถบริหารจัดการในการดำเนินงานการป้องกันเด็กจมน้ำตามบทบาทของตนเองได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ม.ค. 2561 10:22 น.