โครงการเฝ้าระวังโรคติดต่อในเด็กเล็ก
ชื่อโครงการ | โครงการเฝ้าระวังโรคติดต่อในเด็กเล็ก |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลปุโละปุโย |
วันที่อนุมัติ | 10 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 10 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 10,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ให้ความรู้ในการเฝ้าระวังและควบคุมโรคมือ เท้า ปาก โรคไข้เลือดออก โรคไอกรน โรคRSV โรคอุจจาระร่วง โรคตาแดง และโรคหัดที่อาจเกิดขึ้นในเด็กเล็ก | 60.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
เด็กเป็นทรัพยากรที่ทรงคุณค่า และมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศชาติในอนาคต การพัฒนาเด็กให้ได้รับความพร้อมด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์สังคม และสติปัญญา จึงนับเป็นภารกิจสำคัญ ที่หน่วยงานซึ่งรับผิดชอบจะต้องตะหนักและให้ความสนใจ การนำเด็กไปโรงเรียนหรือสถานรับเลี้ยงเด็ก ทำให้เด็กเจ็บป่วยได้ง่าย เพราะศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลเป็นสถานที่ที่เด็กอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งพฤติกรรมเด็กที่อยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมากในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล ส่งผลต่อการแพร่กระจายโรคได้ง่าย เช่น การเล่น การคลุกคลีใช้ของร่วมกัน ทำให้ปนเปื้อนและแพร่กระจายเชื้อโรคได้ง่าย หากเด็กเจ็บป่วยก็จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมของเด็ก รวมทั้งการเจริญเติบโตพัฒนาการของเด็ก โรคที่พบบ่อยในเด็ก ได้แก่ โรคมือ เท้า ปาก โรคไข้เลือดออก โรคไอกรน โรคRSV โรคอุจจาระร่วง โรคตาแดง โรคหวัด ไข้หวัดใหญ่และโรคหัด การป้องกันดูแลอย่างถูกต้องจะช่วยให้เด็กไปโรงเรียนได้อย่างสนุกสนานและปลอดภัยจากโรคติดต่อที่สามารถป้องกันได้
กองการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมองค์การบริหารส่วนตำบลปุโละปุโยได้เล็งเห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจาย และลดการป่วยของเด็ก จึงได้ดำเนินโครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลปุโละปุโย เพื่อให้บรรลุภารกิจในการป้องกันควบคุมโรคและผลักดันให้ศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลมีแนวทางและกลไกการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคที่ดี จึงได้จัดแนวทางการป้องกันควบคุมโรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล สำหรับครูผู้ดูแลเด็ก เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นและผู้ที่สนใจ ให้ได้รับความรู้ความเข้าใจและสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เกิดระบบการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคติดต่อที่มีประสิทธิภาพ มีการตรวจคัดกรองแยกเด็กป่วยได้รวดเร็ว และมีการรายงานเด็กป่วยที่มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น การเจ็บป่วยลดลงและไม่มีการระบาดของโรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล ส่งผลให้การพัฒนาเด็กเป็นไปอย่างมีคุณภาพ ปลอดภัยจากโรคและมาตราฐาน เหมาะสมกับวัยต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ให้ความรู้ในการเฝ้าระวังและควบคุมโรคมือ เท้า ปาก โรคไข้เลือดออก โรคไอกรน โรคRSV โรคอุจจาระร่วง โรคตาแดง และโรคหัดที่อาจเกิดขึ้นในเด็กเล็ก 1.ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และประชาชนทั่วไป มีความรู้ในการเฝ้าระวังและควบคุมโรคมือ เท้า ปาก โรคไข้เลือดออก โรคไอกรน โรคRSV โรคอุจจาระร่วง โรคตาแดง และโรคหัดที่อาจเกิดขึ้นในเด็กเล็ก |
60.00 | 80.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
10 ม.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพองค์ความรู้ด้านการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ | 0 | 10,000.00 | - | ||
10 ม.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมเรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการช่วยชีวิตผู้ป่วย | 0 | 0.00 | - | ||
รวม | 0 | 10,000.00 | 0 | 0.00 |
- ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจเเละเฝ้าระวังและควบคุมโรคมือ เท้า ปาก โรคไข้เลือดออก โรคไอกรน โรคRSV โรคอุจจาระร่วง โรคตาแดง และโรคหัดที่อาจเกิดขึ้นในเด็กเล็ก
- ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจและร่วมกันป้องกันเกี่ยวกับโรคมือ เท้า ปาก โรคไข้เลือดออก โรคไอกรน โรคRSV โรคอุจจาระร่วง โรคตาแดง และโรคหัดที่อาจเกิดขึ้นในเด็กเล็กได้อย่างถูกต้อง
- ลดอัตราการป่วยด้วยโรคมือ เท้า ปาก โรคไข้เลือดออก โรคไอกรน โรคRSV โรคอุจจาระร่วง โรคตาแดง และโรคหัดที่อาจเกิดขึ้นในเด็กเล็ก
- ลดอัตราการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากโรคต่าง ๆ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ม.ค. 2568 11:55 น.