โครงการป้องกันและควบคุมวัณโรค ปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันและควบคุมวัณโรค ปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L3026-01-11 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสะตา |
วันที่อนุมัติ | 28 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 12,600.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวมาเรียม โต๊ะแวอาลี |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลกอลำ อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 มี.ค. 2568 | 30 ก.ย. 2568 | 12,600.00 | |||
รวมงบประมาณ | 12,600.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยมาเป็นเวลานาน ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียหายทางสังคม และเศรษฐกิจอย่างใหญ่หลวง อุบัติการณ์ของวัณโรคเคยลดลงอย่างช้าๆ ในอดีตแต่ในระยะหลังนี้กลับเพิ่มขึ้น เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคเอดส์และการดื้อยา ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขจึงให้วามสำคัญแก่แผนงานวัณโรคแห่งชาติ ในอันที่จะพัฒนายุทธศาสตร์ที่สำคัญในการควบคุมวัณโรคโดยการดําเนินงานควบคุมวัณโรคในระยะแรกได้ เน้นไปที่การตรวจรักษาและการป้องกันโรคจากการทบทวนแผนงานวัณโรคแห่งชาติ โดยคณะผู้เชี่ยวชาญวัณโรคจากองค์การอนามัยโลก มีข้อเสนอแนะที่ต้องเร่งรัดการดําเนินงานวัณโรค เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอัตราการรักษาหายและกินยาครบหรือที่เรียกว่า อัตราความสำเร็จของการรักษาวัณโรค (Treatment Success rate) มากกว่าร้อยละ ๙๐ แนว ทางการรักษาที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลก คือ การรักษาผู้ป่วยวัณโรค โดยมีพี่เลี้ยงคอยกํากับการกินยาต่อหน้าทุกวัน ที่เรียกว่า DOTS ( Directly Observed Treatment System) ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้เสนอแนะให้ทุกประเทศทั่วโลก ใช้แนวทางการรักษาเพื่อเพิ่มอัตราความสำเร็จ ในการรักษาวัณโรคโดยพี่เลี้ยงหมายถึงเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม. หรือบุคคลในครอบครัวเพื่อคอยดูแลผู้ป่วยวัณโรคให้กินยาทุกวัน ให้กําลังใจเพื่อให้ผู้ป่วยได้กินยาจนกระทั่งหายขาด ไม่เกิดปัญหาซื้อยาวัณโรคและการแพร่เชื้อวัณโรคในชุมชนต่อไป จำนวนผู้ป่วยวัณโรคโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสะตา ตั้งแต่ปี ๒๕๕๖๓-๒๕๖๗ ทั้งหมด ๑๐ ราย เสียชีวิต ๑ ราย กําลังอยู่ในขั้นตอนการรักษา จํานวน ๑ ราย เพื่อให้มีประสิทธิภาพรวมทั้งการสร้างความตระหนักในระดับชุมชนและร่วมกันส่งเสริมป้องกันปัญหาของวัณโรค ให้ลดน้อยลงต่อไป ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสะตา จึงได้เร่งรัดดำเนินการโครงการควบคุมป้องกัน และค้นหาผู้ป่วยโรควัณโรค เพื่อคัดกรองหากลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดโรควัณโรคในชุมชน อันจะเป็นแนวทางในการป้องกันและ ควบคุมโรคและเร่งสร้างความรู้เพื่อเป็นเกราะป้องกันสุขภาพของคนในชุมชนให้ห่างไกลจากวัณโรคต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรค
|
||
2 | เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาผู้ป่วยวัณโรค
|
||
3 | เพื่อสร้างความตระหนักของชุมชนในการควบคุมป้องกันโรควัณโรค อย่างจริงจังและต่อเนื่อง
|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | อบรมให้ความรู้การป้องกันและควบคุมวัณโรค | 0 | 12,600.00 | - | ||
รวม | 0 | 12,600.00 | 0 | 0.00 |
1.ชุมชนมีความตระหนักในการควบคุมป้องกันโรคอย่างจริงจังและต่อเนื่อง 2. การค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 3.ระบบคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคได้รับการพัฒนาและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ม.ค. 2568 00:00 น.