โครงการชาวกอลำรักษ์สะอาด ลดมลภาวะ ห่างไกลโรค
ชื่อโครงการ | โครงการชาวกอลำรักษ์สะอาด ลดมลภาวะ ห่างไกลโรค |
รหัสโครงการ | 68-L3026-02-05 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมผู้นำศาสนาตำบลกอลำ |
วันที่อนุมัติ | 28 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 60,250.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายสาลี บือแน |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลกอลำ อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 240 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การดูแลความสะอาด มีส่วนสำคัญต่อการมีสุขภาพดี ปลอดภัยจากโรคภัยไข้เจ็บ เป็นเป้าหมายสูงสุดของทุกคน ซึ่งหากประชาชนในประเทศมีสุขภาพดี ย่อมส่งผลให้ประเทศนั้นมีความเจริญมั่นคง มั่งคั่ง ทั้งทางด้านเศษฐกิจการปกครองเทคโนโลยี และความเป็นผู้นำของโลกการที่ประชาชนมีสุขภาพที่ดี จึงมีความสำคัญและเป็นพื้นฐานของการพัฒนาในด้านต่างๆ ความเจ็บป่วยของประชาชนในปัจจุบันแบ่งออกเป็นป่วยด้วยโรคติดต่อ และป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังซึ่งโรคติดต่อที่สำคัญ เช่น โรคไข้เลือดออก โรคอุจจาระร่วง โรคระบบทางเดินหายใจวัณโรค เป็นต้น ส่วนโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือกสมอง โรคหัวใจ และเจ็บป่วยด้วยอุบัติเหตุอุบัติภัย เป็นต้น โรคติดต่อ มีปัจจัยองค์ประกอบของการเกิดโรค ประกอบด้วย บุคคลเชื้อโรค พาหนะนำโรค และสิ่งแวดล้อมซึ่งในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ จะต้องควบคุมปัจจัยดังกล่าว ไม่ให้เอื้อต่อการเกิดโรค คือ บุคคลต้องสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์เชื้อโรคต้องไม่มีหรือจำนวนน้อย พาหนะนำโรคไม่มีหรือมีน้อยและที่สำคัญคือ สิ่งแวดล้อม ต้องถูกสุขลัษณะ โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของบุคคลต้องสะอาดถูกสุขลักษณะจึงจะทำให้ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธ์ของเชื้อโรค และการปรับปรุงควบคุมหรือรักษาสภาพแวดล้อม ให้สะอาดถูกสุขลักษณะเป็นสิ่งที่ประชาชนในหมู่บ้าน/ทุกชุมชนทำได้ปฏิบัติได้ในวิถีชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคลแต่ละหลังคาเรือน ซึ่งหมู่บ้านใด ชุมชนใดมีการปรับปรุงรักษาความสะอาดของที่พักอาศัยให้ได้มาตรฐานเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ก็จะเป็นการป้องกันโรคติดต่อต่างๆ ในชุมชนได้อย่างประสิทธิภาพ ส่งผลให้ประชาชนในชุมชนนั้นๆ มีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยด้วย โรคติดต่อดังกล่าว ซึ่งการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคติดต่อจะได้ผลต้องได้รับความร่วมมือจากทุกคน ทุกหลังคาเรือน ทุกภาคส่วนจึงจะได้ผลอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนมีจิตสำนึกในการรักษาความสะอาดและร่วมมือกันปรับปรุงสภาพแวดล้อมในมัสยิดและชุมชนของตนเองให้สะอาด ถูกสุขลักษณะและรักษาให้เกิดความต่อเนื่องยั่งยืน ถ้ามัสยิดมีความสะอาดแล้วโรคติต่อต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชนก็จะลดลงได้เป็นอย่างมากส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ส่งผลให้มีภาวะสุขภาพที่ดีได้ ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของศาสนาอิสลามได้บัญญัติไว้ในอัลฮาดิษและอัลกุรอาน ที่ยกมาเป็นตัวอย่างดังนี้มัสยิดคือบ้านของอัลลอฮฺ ผู้ที่รักอัลลอฮ์ก็รักบ้านของพระองค์และผู้นั้นก็คือผู้ที่เข้าไปเยี่ยมบ้านของพระองค์เป็นประจำ อัลลอฮฺตรัสในอัลกุรอาน บทอัลญิน โองการที่ 18 ความว่า “และบรรดามัสยิดนั้น เป็นสิทธิของอัลลอฮฺ ดังนั้น พวกเจ้าต้องไม่เชิญชวนให้ผู้ศรัทธาผู้ใดนอกจากอัลลอฮฺเท่านั้น” ผู้ที่เป็นแขกนั้น เมื่อได้รับเชิญและเข้าไปยังงานสำคัญ ๆ ที่เป็นงานระดับชาติหรืองานที่มีแต่แขกผู้มีเกียรติทั้งสิ้น แน่นอนเมื่อเข้าสู่ในงานดังกล่าวในฐานะแขก ก็ย่อมต้องได้รับการต้นรับเป็นอย่างดีสมเกียรติของงาน แล้วเมื่อมัสยิดเป็นบ้านของอัลลอฮ์ผู้ที่เข้าไปยังมัสยิด คือ แขกของพระองค์ จะไม่ให้อัลลอฮ์ต้อนรับอย่างดีเป็นพิเศษได้อย่างไร มีหะดีษจากอะบีสะอีด ท่านนบีกล่าวถึงดำรัสของอัลลอฮ์พระองค์ตรัสว่า “บ้านของข้าในภาคพื้นดินนี้คือบรรดามัสยิด ผู้ที่ถูกนับว่าเป็นแขกผู้เยี่ยมเยียนมัสยิด คือ บรรดาผู้สร้าง พัฒนามัสยิด ดังนั้น สวรรค์สำรองไว้แล้วสำหรับผู้ที่ได้ชำระความสะอาดแต่บ้านแล้วไปยังบ้านของข้าจึงเป็นหน้าที่ของผู้ถูกเยี่ยมต้องให้เกียรติและต้อนรับเขาแน่นอน” (บันทึกโดยอบูนะอีม) ไม่ต้องสงสัยเลยว่า เกียรติอันยิ่งใหญ่นี้ พระองค์อัลลอฮ์จะทรงให้เขาได้อรรถรสในการเข้าเฝ้าพระองค์และประทานใบรับรองความมีศรัทธาให้ มีหะดีษของอะบีสะอีด ความจากท่านนบีกล่าวว่า “เมื่อพวกท่านเห็นบุคคลที่เข้ามัสยิดเป็นประจำ ก็จงประกาศยืนยันได้เลยว่า ผู้นั้นเป็นผู้มีศรัทธาอย่างแท้จริง อัลลอฮฺตรัสว่า : "อันที่จริงผู้ที่ศรัทธาในอัลลอฮฺและวันปรภพเท่านั้น ที่ได้สร้างและพัฒนามัสยิด...” (บันทึกหะดีษโดยติรมิซี) เกียรติยศและตำแหน่งของผู้เข้ามัสยิดประจำนั้น ได้รับเกียรติให้อยู่ภายใต้ร่มเงาอะรัซ (บัลลังก์) ของ อัลลอฮฺอย่างมีความสุขและความสงบ มีหะดีษจากอะบีฮุรอยเราะฮฺ ท่านนบี กล่าวความว่า “มีคนอยู่ 7 กลุ่มคนที่จะได้อยู่ภายใต้ร่มเงาของอัลลอฮฺในวันที่ไม่มีร่มเงาใดนอกจากร่มเงาของพระองค์เท่านั้น ท่านได้นับหนึ่งในเจ็ดว่า คนที่หัวใจของเขาผูกพันอยู่กับมัสยิด” (บันทึกโดยบุคอรีและมุสลิม)ดังนั้น ชมรมผู้นำศาสนาตำบลกอลำ จึงได้จัดทำโครงการชาวกอลำรักษ์สะอาด ลดมลภาวะ ห่างไกลโรค ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อควบคุมป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพในกรณีเกิดจากการรักษาความสะอาดของบ้านเรือน มัสยิด และพื้นที่สาธารณะ
|
||
2 | เพื่อสร้างความตระหนักของการรักษาความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญของการดำรงชีวิต
|
||
3 | เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของเยาวชน ประชาชนในพื้นที่ในการรักษาความสะอาดในชุมชน
|
||
4 | เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้มีความตระหนัก ร่วมมือกันรักษาความสะอาด และร่วมกันปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้สะอาดถูกสุขลักษณะอยู่เสมอ
|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | โครงการชาวกอลำรักษ์สะอาดห่างไกลโรค | 0 | 60,250.00 | - | ||
รวม | 0 | 60,250.00 | 0 | 0.00 |
- สามารถควบคุมป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพในกรณีเกิดจากการรักษาความสะอาดของบ้านเรือน มัสยิดและพื้นที่สาธารณะ
- สามารถสร้างความตระหนักของการรักษาความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญของการดำรงชีวิต
- สามารถสร้างการมีส่วนร่วมของเยาวชน และประชาชนในพื้นที่ในการรักษาความสะอาดของชุมชนหมู่บ้านตำบล
- ประชาชนมีความรู้มีความตระหนักและร่วมมือกันรักษาความสะอาดในบ้านเรือน/ชุมชนของตนเองและร่วมกันปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้สะอาดถูกสุขลักษณะอยู่เสมอ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ม.ค. 2568 00:00 น.