กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนห่วงใย ใส่ใจโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนในเด็ก 0-5 ปี
รหัสโครงการ 60-L2514-1-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านอูยิ
วันที่อนุมัติ 28 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 กรกฎาคม 2560 - 18 กรกฎาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 20 ธันวาคม 2560
งบประมาณ 14,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนิรมาลย์ดือราซอ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอรรถพล ขวัญเกิด
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลาโละ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.343,101.59place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 3 เม.ย. 2560 30 ก.ย. 2560 14,800.00
รวมงบประมาณ 14,800.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค หรือการให้วัคซีน ทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกัน หรือความต้านทานเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรค หรือทำให้โรคมีความรุนแรงน้อยลง วัคซีนทำหน้าที่เสมือนเป็นสิ่งกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันไว้เป็นเครื่องป้องกันให้ร่างกายต่อสู้กับเชื้อโรคบางชนิดได้ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย การให้วัคซีนเป็นวิธีการหนึ่งในการสร้างเสริมสุขภาพให้แข็งแรง ซึ่งมีความคุ้มค่ากว่าการให้การรักษาโรคเมื่อมีการติดเชื้อหรือเป็นโรคแล้ว ปัจจุบันการให้วัคซีนในเด็ก ๐-๕ ปี สามารถป้องกันโรคต่างๆ เช่น โรควัณโรค โรคตับอักเสบบีโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ โรคหัด และไข้สมองอักเสบ หากไม่ได้รับวัคซีนจะทำให้เกิดผลกระทบต่อตนเองในเรื่องความเสี่ยงของการเจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ส่วนผู้ปกครองเด็กก็จะมีผลกระทบในเรื่องรายได้ที่ต้องสูญเสียไปจากการที่ไม่สามารถประกอบอาชีพเมื่อต้องดูแลบุตรที่เข้ารับการรักษาด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนในโรงพยาบาล รวมถึงงบประมาณของสถานบริการสาธารณสุขในส่วนของยา และเวชภัณฑ์ที่ต้องใช้ไปในการดูแลรักษาผู้ป่วยแต่ละคนที่เพิ่มสูงขึ้น และจะส่งผลกระทบต่อสังคมเมื่อเกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคในพื้นที่ระบาด ข้อมูลผลการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก ๐-๕ ปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านอูยิ ตำบลลาโละ ปีงบประมาณ ๒๕๕๙ พบว่า ในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า ๑ ปี มีความครอบคลุม ร้อยละ ๕๗.๗๔ ในกลุ่มเด็กอายุครบ ๒ ปี มีความครอบคลุม ร้อยละ ๖๐.๔๖ ในกลุ่มเด็กอายุครบ ๓ ปี มีความครอบคลุม ร้อยละ ๕๐.๔๘ ในกลุ่มเด็กอายุครบ ๔ ปี มีความครอบคลุม ร้อยละ ๕๐.๕๔ (รง.ประจำปีรพ.สต.อูยิ, ๒๕๕๙) เกณฑ์มาตรฐานของการได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์อายุกำหนดไว้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๙๕ จากข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นชัดเจนว่าการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก ๐-๕ ปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านอูยิ ตำบลลาโละ เป็นหนึ่งในปัญหาสาธารณสุขที่จะต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ถึงแม้ว่ายังไม่มีรายงานอัตราป่วยตายด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนในพื้นที่ตำบลลาโละ แต่พบว่าในพื้นที่อำเภอใกล้เคียงของจังหวัดนราธิวาส ได้เกิดการระบาดของโรคคอตีบ และโรคหัด สาเหตุ และปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผลการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านอูยิ ตำบลลาโละไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดที่ค้นพบจากการทำประชาคมสุขภาพในพื้นที่ คือ ขาดความต่อเนื่องของการติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมายวัคซีนในเด็ก ๐-๕ ปี ไม่มีเวทีให้ชุมชนได้แสดงความคิดเห็น และเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ดังนั้น กลวิธีการดำเนินงานสำหรับใช้แก้ปัญหาตามเหตุ และปัจจัยที่พบในครั้งนี้ คือ การใช้หลักการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในพื้นที่ โดยเฉพาะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ซึ่งถือว่าเป็นทรัพยากรบุคคลทางสาธารณสุขที่มีความสำคัญยิ่งที่อยู่ในพื้นที่ใกล้ชิดประชากรเป้าหมายที่สุด รวมถึงผู้นำศาสนาก็เป็นอีกภาคีเครือข่ายหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามเพราะเป็นผู้ดูแลเด็กโดยตรง และนำแนวคิดหรือทฤษฎีการสร้างแรงจูงใจต่อภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานมาเสริมความเป็นบุคคลจิตอาสาของภาคีเครือข่ายที่มีอยู่แล้วเป็นทุนเดิมให้มีขวัญและกำลังใจเพิ่มมากขึ้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านอูยิ ตำบลลาโละ จึงได้จัดทำโครงการชุมชนห่วงใยใส่ใจโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนในเด็ก ๐-5 ปีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านอูยิ ตำบลลาโละ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส เมื่อดำเนินการแล้วคาดว่าจะทำให้การดำเนินงานสร้างเสริภูมิคุ้มกันโรคมีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น และจะส่งผลทำให้ไม่มีอัตราป่วย หรืออัตราตายด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนในพื้นที่ตำบลลาโละ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มอัตราความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์ในเด็ก ๐-๕ ปี

๑ ความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนในเด็ก๐-๕ป๊ ครบชุดตามเกณฑ์ ร้อยละ๙๐

2 เพื่อให้อสม. และผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชนและผู้ปกครองเด็ก ๐-๕ ปี มีส่วนร่วมในการสรุปปัญหา อุปสรรค

๒.อสม. ผู้นำศาสนาและผู้นำชุมชนและผู้ปกครองเด็ก ๐-๕ ปี มีส่วนร่วมในการสรุปปัญหา อุปสรรค ร้อยละ ๑๐๐

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นวางแผน(Plan) ๑.ตรวจสอบ และปรับปรุงบัญชีรายชื่อเด็กอายุ ๐-๕ ปี ให้เป็นฐานข้อมูลปัจจุบัน ๒.ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ ๓.เขียนโครงการและเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ ๔.แต่งตั้งผู้รับผิดชอบงาน ๕.. ประชุม/ประสานอสม.แกนนำชุมชนเพื่อชี้แจงและปรึกษาหารือในการจัดทำโครงการ ขั้นดำเนินการ(Do) ๑. ประชุมเชิงปฏิบัติการแก่ อสม. ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนาและผู้ปกครองเด็ก ๐-๕ปี เพื่อให้มีความรู้ และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับวัคซีน ตลอดจนแนวทางการดำเนินงานของโครงการฯ 2.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ปกครองเด็ก ๐-๕ ปี ๓.จัดทำบัตรติดตามเด็กที่ไม่มารับวัคซีนตามนัด ซึ่งรายละเอียดในบัตรประกอบด้วย ชื่อ – นามสกุล(เด็ก) ที่อยู่ และเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับวัคซีนนั้นๆ
๔.ประชาสัมพันธ์แจ้งรายชื่อเด็กในประชุมอสม.ของแต่ละเดือน พร้อมกับส่งบัตรติดตาม(ในกรณีเด็กไม่มารับวัคซีนตามนัด)
๕.มีเบอร์โทรศัพท์ติดต่อผู้ปกครองเด็กในเขตรับผิดชอบทุกหลังคาเรือน ๖.อสม.และเจ้าหน้าที่ ผู้นำศาสนาและนำชุมชน ดำเนินการเยี่ยมติดตามกลุ่มเป้าหมายเด็ก ๐-๕ ปี ที่ไม่มาฉีดวัคซีนให้มาฉีดวัคซีนตามนัดในแต่ละเดือน ไม่ต่ำกว่า ๑ ครั้ง/ราย
ขั้นตรวจสอบและประเมินผล(Check) ๑.ทบทวนปรับปรุงแก้ไขฐานข้อมูลทุกเดือน ๒. สรุปความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนในเด็ก ๐-๕ ปี ครบชุดตามเกณฑ์อายุ เมื่อสิ้นปี งบประมาณ ๒๕๖๐

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑ ผู้ปกครองเด็ก ๐-๕ ปี และประชาชนทั่วไปในหมู่บ้านให้ความสำคัญในการพาบุตรหลานไปรับบริการฉีดวัคซีนตรงตามนัดทุกครั้ง ๒ อสม.ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนามีส่วนร่วมในการวางแผน และดำเนินการแก้ปัญหาอุปสรรคของการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2560 11:07 น.