โครงการให้ความรู้ ดูช่องปาก ผู้สูงวัยและใส่ใจผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการให้ความรู้ ดูช่องปาก ผู้สูงวัยและใส่ใจผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 2568-L3311-1-4 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาหยา |
วันที่อนุมัติ | 25 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ธันวาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 20,300.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางนวลอนงค์ สุขเกษม |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลควนขนุน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.491,100.095place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 406 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : ระบุ |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ผู้สูงอายุนับเป็นกลุ่มประชากรที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในสังคมไทยที่ทุกฝ่ายต้องให้ความสำคัญ และประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ (Complete Aged Society) คือ มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ จำเป็นต้องให้ความสำคัญในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพ สุขภาพช่องปากถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญกับสุขภาพทางด้านร่างกาย อาทิ การสูญเสียฟันจำนวนมากจะลดประสิทธิภาพการเคี้ยวอาหาร ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหาร การดำเนินชีวิตประจำวันและสุขภาพจิต เป็นต้น ดังกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ความว่า “เวลาไม่มีฟันกินอะไรก็ไม่อร่อย ทำให้ไม่มีความสุขจิตใจก็ไม่สบายร่างกายก็ไม่แข็งแรง” ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตด้านการบดเคี้ยวอย่างมาก นอกจากนี้ยังพบฟันผุที่ยังไม่ได้รับการรักษา รากฟันผุที่สัมพันธ์กับเหงือกร่นในวัยสูงอายุร้อยละ โรคปริทันต์อักเสบที่มีการทำลายของเนื้อเยื่อและกระดูกรองรับรากฟันซึ่งเป็นโรคปริทันต์อักเสบที่อยู่ในระดับรุนแรงมาก ซึ่งนอกจากจะเสี่ยงต่อการอักเสบ ปวดบวม ติดเชื้อ และสูญเสียฟันแล้ว ยังสัมพันธ์กับความรุนแรงของเบาหวานด้วย ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพช่องปากและคุณภาพชีวิตเป็นอย่างยิ่ง
ดังนั้น ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาหยา จึงเล็งเห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาโรคในช่องปากในกลุ่มดังกล่าว โดยการให้ความรู้และพัฒนาทักษะแก่ตัวบุคคล เพื่อขยายความรู้และพัฒนาทักษะให้แก่กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง และเพื่อกระตุ้นให้กลุ่มดังกล่าวตระหนักถึงการดูแลทันตสุขภาพพร้อมทั้งได้รับระบบบริการสุขภาพเชิงรุกเน้นการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากเพื่อลดปัญหาโรคในช่องปาก และทำให้ผู้สูงอายุผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง มีทันตสุขภาพที่ดีต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุข รพ.สต.บ้านนาหยา ทราบสภาวะช่องปากและสามารถนำมาวางแผนการดำเนินงานได้อย่างถูกต้อง
|
||
2 | เพื่อให้ร้อยละ70 ของผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง มีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง
|
||
3 | เพื่อให้ร้อยละ70 ของผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง มีทักษะการดูแลสุขภาพช่องปากและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ถูกต้อง
|
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | ธ.ค. 67 | ม.ค. 68 | ก.พ. 68 | มี.ค. 68 | เม.ย. 68 | พ.ค. 68 | มิ.ย. 68 | ก.ค. 68 | ส.ค. 68 | ก.ย. 68 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | 1.1 กิจกรรมให้ความรู้ แก่ ผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง 1.2 ฝึกทักษะการแปรงฟัน การดูแลสุขภาพช่องปากให้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง.(1 ธ.ค. 2567-30 ก.ย. 2568) | 0.00 | ||||||||||
รวม | 0.00 |
1 1.1 กิจกรรมให้ความรู้ แก่ ผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง 1.2 ฝึกทักษะการแปรงฟัน การดูแลสุขภาพช่องปากให้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง. | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- ผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง มีความรู้และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ม.ค. 2568 13:04 น.