โครงการธนาคารสร้างสุขชุมชน สนับสนุนอุปกรณ์ให้ยืมใช้เพื่อฟื้นฟูสุขภาพที่บ้าน
ชื่อโครงการ | โครงการธนาคารสร้างสุขชุมชน สนับสนุนอุปกรณ์ให้ยืมใช้เพื่อฟื้นฟูสุขภาพที่บ้าน |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการเทศบาลเมืองสะเตงนอก |
วันที่อนุมัติ | 26 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | - |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 113,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายนัฏศาสตร์ เลาะแม |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคเรื้อรังเป็นโรคไม่ติดต่อที่เป็นปัญหาสุขภาพ อันดับหนึ่งของโลก ทั้งในมิติของจำนวนผู้เสียชีวิตและภาระโรคโดยรวม จากรายงานขององค์การอนามัยโลกพบว่า ประชากรทั่วโลกร้อยละ 71 เสียชีวิตจากโรคเรื้อรัง สำหรับ ประเทศไทยพบว่าแนวโน้มการเจ็บป่วยของประชากรด้วย โรคเรื้อรังและโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไปซึ่งผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มวัยที่มีการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังมากกว่าประชากร กลุ่มอื่นและจำนวนโรคเรื้อรังที่เป็นจะเพิ่มมากขึ้นตามอายุเมื่อมีการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังต่างๆ มีโอกาสจะเกิดภาวะแทรกซ้อน ทำให้ทุพลภาพ มีความพิการ มีปัญหาทางการเคลื่อนไหว และหากไม่ได้รับการดูแล หรือการฟื้นฟูสภาพที่ถูกต้อง ส่งผลให้เสียชีวิตในที่สุด สถานการณ์ผู้สูงอายุของประเทศไทย จากการสำรวจในปี พ.ศ.2564-2567มีข้อมูลผู้สูงอายุจำนวน 1,491,881 รายพบสัดส่วนที่ทีภาวะพึ่งพิงร้อยละ 3 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งการดูแลผู้ป่วยติดเตียงระยะยาวส่งผลต่อผู้ดูแล และครอบครัวเป็นอย่างมากเพราะผู้ป่วยติดเตียงไม่สามารถ ช่วยเหลือตัวเองได้จำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ทั้งด้านการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลและการดูแลรักษา ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดนโยบายการดูแลผู้สูงอายุป่วยติดเตียง ในระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว (Long Term Care) โดย ให้ครอบครัว ชุมชน และหน่วยงานระดับท้องถิ่นเข้ามา มีส่วนร่วม ทั้งนี้ก็ยังพบปัญหาบางส่วน เนื่องจากกลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้ต้องใช้อุปกรณ์ที่จำเป็นในการฟื้นฟูสภาพร่างกายให้เหมาะสม ในตำบลสะเตงนอก มีจำนวนผู้ป่วยทีมีปัญหาทางการเคลื่อนไหว ติดบ้าน ติดเตียง ประมาณ 120 คน ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่ยังมารับการรักษาที่ศูนย์บริการเวชกรรมฟื้นฟูเทศบาลเมืองสะเตงนอก โดยผู้ป่วยบางคนยังขาดแคลนอุปกรณ์ในการช่วยเหลือตัวเอง และมีฐานะยากจน ต้องยืมใช้จากผู้อื่น และสถิติผู้ป่วยรายใหม่ที่จำหน่ายออกจากรพ.ยะลา มีจำนวนเฉลี่ยอย่างน้อย 5 ราย/เดือน และหลังจากจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลมีความจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ในการฟื้นฟูสุขภาพที่บ้าน ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการ เป็นศูนย์ที่ตั้งขึ้นเพื่อการดูแลผู้สูงอายุและผู้พิการ ให้สามารถมีคุณภาพชีวิตในสังคมได้ปกติ จึงเห็นความสำคัญของปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีปัญหาทางการเคลื่อนไหว ผู้พิการ โดยส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุ จึงได้จัดทำโครงการธนาคารสร้างสุขชุมชน สนับสนุนอุปกรณ์ให้ยืมใช้เพื่อฟื้นฟูสุขภาพที่บ้าน เพื่อบรรเทาทุกข์ของประชาชนที่มีปัญหาทางการเคลื่อนไหว สามารถมีอุปกรณ์ที่จำเป็นในการฟื้นฟูสุขภาพร่างกายที่บ้าน จนกว่าสุขภาพจะดีขึ้น หรือแม้จะเป็นการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิตให้ไม่ต้องทนทุกข์ ทรมานกับการเจ็บป่วยเรื้อรังอย่างอนาถาเกินไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้ที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว ที่ขาดแคลนอุปกรณ์ฟื้นฟูที่จำเป็น ได้ใช้อุปกรณ์ช่วยฟื้นฟูสุขภาพที่บ้าน 1.ร้อยละ 60 ของผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้ที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวที่ขาดแคลนอุปกรณ์ฟื้นฟูที่จำเป็น มีอุปกรณ์ช่วยฟื้นฟูสุขภาพที่บ้าน |
0.00 | |
2 | 2.เพื่อให้ผู้ป่วยมีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว มีคุณภาพชีวิตที่ดี ลดความพิการ และลดภาวะพึ่งพิงได้
|
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 113,000.00 | 0 | 0.00 | |
??/??/???? | กิจกรรมที่ 1 ลงเยี่ยมบ้านผู้ป่วยที่มีปัญหาทางการเคลื่อนไหวและผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ พร้อมทีมสหวิชาชีพทางสาธารณสุข (พยาบาลวิชาชีพ นักกายภาพบำบัด อสม. เป็นต้น) เพื่อประเมินสุขภาพ และสอนให้ความรู้ในการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน | 0 | 0.00 | - | ||
??/??/???? | กิจกรรมที่ 2 จัดซื้ออุปกรณ์ฟื้นฟูสุขภาพที่บ้าน ให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาทางการเคลื่อนไหวยืมใช้ เพื่อฟื้นฟูสุขภาพตนเองที่บ้าน | 0 | 113,000.00 | - |
ผู้ป่วยที่มีปัญหาทางการเคลื่อนไหว และผู้ป่วยโรคเรื้อรังทีไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ มีอุปกรณ์ฟื้นฟูสุขภาพตนเองที่จำเป็น และสามารถฟื้นฟูสภาพร่างกายให้ดีขึ้นได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2568 11:19 น.