โครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเด็กและเยาวชน (เข้าสุนัต) ประจำปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเด็กและเยาวชน (เข้าสุนัต) ประจำปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L2533-1-06 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลร่มไทร |
วันที่อนุมัติ | 27 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 29 เมษายน 2568 - 29 เมษายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 53,810.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายรูสลาน อูมา |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลร่มไทร อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 35 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 35 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (การเข้าสุนัต) คือ การทำความสะอาดร่างกายที่ต้องตัดแต่งเพื่อขจัดความสกปรกและเหตุผลทางการแพทย์เกี่ยวกับเรื่องนี้ ท่านนบีมูฮำหมัดศ็อลฯ ได้ให้โอวาทไว้ดังนี้ ธรรมชาติ 5 สิ่ง (ในร่างกายมนุษย์) ที่ต้องได้รับการตกแต่ง คือ การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย
การโกนขนในร่มผ้า การตัดเล็บ การถอนขนรักแร้ และการขลิบหนวด (บันทึกโดยบุคอรีย์และมุสลิม)
การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายเพื่อความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญจากงานวิจัย พบว่า การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย สามารถลดความเสี่ยงการติดเชื้อ HIV ได้ร้อยละ 50-60 เนื่องจากผิวหนังบริเวณนี้
จะมีต่อมซึ่งจะสร้างสารที่เรียกว่า smegma หรือขี้เปียก หากมีหนังหุ้มไม่สามารถเปิดออกล้างได้ จะทำให้สารดังกล่าวคั่ง ซึ่งจะก่อให้เกิดกลิ่น การติดเชื้อ รวมทั้งเกิดมะเร็งที่องคชาติได้ (นพ.อนุพงศ์ ชิตวรากร)
นอกจากนี้ การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายจะลดโอกาสเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส
แผลริมอ่อน และลดความเสี่ยงของมะเร็งองคชาติ และถ้าหากขลิบในเด็กทารก ก็จะลดโอกาสเกิดการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะในเด็กได้ ผู้หญิงที่เป็นคู่ของผู้ชายที่ขลิบฯ จะลดความเสี่ยงของการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และลดอัตราเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปากมดลูก จากบริบทพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ พบว่า
การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย หรือ “คีตาล” (ภาษาอาหรับ) หรือ “ทำสุนัต” (ภาษามลายู)
มักทำหมอบ้าน หรือ “โต๊ะมูเด็ง” ซึ่งที่ผ่านมาพบว่า การทำสุนัตกับโต๊ะมูเด็งมักจะมีเหตุการณ์เลือดออกมาก(active bleeding) ทำให้เกิดภาวะช็อคและการติดเชื้อ เช่น ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ เชื้อ HIV จากการใช้เครื่องมือร่วมกันโดยไม่ได้ล้างทำความสะอาดและผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อ (sterile) อย่างถูกวิธี
สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลร่มไทร ได้เล็งเห็นความสำคัญของการขลิบ
หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายหรือการเข้าสุนัตในกลุ่มเด็กและเยาวชนในพื้นที่ โดยบุคลากรทางการแพทย์
ที่มีความรู้และทักษะด้านการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายแบบปราศจากเชื้อ จึงจัดโครงการขลิบ
หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเด็กและเยาวชน (เข้าสุนัต) ประจำปีงบประมาณ 2567 เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับบริการที่ปลอดภัยและมีคุณภาพมากขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อบริการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายแก่เด็กและเยาวชนในพื้นที่อย่างถูกหลักทางการแพทย์ เพื่อลดการติดเชื้อ และภาวะเลือดออกมาก ร้อยละ 100 ของผู้รับบริการ ไม่เกิดการติดเชื้อ และภาวะเลือดออกมากภายหลังการรับบริการ |
100.00 | |
2 | เพื่ออบรมให้ความรู้ และสร้างความตระหนักแก่ผู้ปกครองในการดูแลและป้องกันโรคติดต่อ ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลและป้องกันโรคติดต่อ |
80.00 | |
3 | เพื่อให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่สามารถเข้าถึงบริการด้านการส่งเสริมและป้องกันโรค ร้อยละ 100 ของเด็กและเยาวชนกลุ่มเป้าหมายได้รับบริการด้าน การส่งเสริมและป้องกันโรค |
100.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 53,810.00 | 1 | 53,810.00 | |
14 - 18 เม.ย. 68 | การเตรียมความพร้อม | 0 | 0.00 | - | ||
29 เม.ย. 68 | การดำเนินงานโครงการ | 0 | 53,810.00 | ✔ | 53,810.00 | |
6 พ.ค. 68 | การติดตามและประเมินผลโครงการ | 0 | 0.00 | - | ||
6 พ.ค. 68 | สรุปผลการดำเนินงานโครงการ | 0 | 0.00 | - |
- เด็กและเยาวชนได้รับการทำสุนัต (ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย)
- สามารถลดการเกิดภาวะเลือดออกมากภายหลังทำหัตถการและภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น การอักเสบที่รุนแรงและการติดเชื้อ
- ผู้ปกครองเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลและป้องกันโรคติดต่อ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2568 00:00 น.