I see the future คืนดวงตาสดใส ให้เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านควนพนางตุง(สินประชา) ปี 68
ชื่อโครงการ | I see the future คืนดวงตาสดใส ให้เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านควนพนางตุง(สินประชา) ปี 68 |
รหัสโครงการ | 68-L3323-02-07 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนบ้านควนพนางตุง(สินประชา) |
วันที่อนุมัติ | 19 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 15 พฤษภาคม 2568 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 1 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 28,988.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวสาริสา มากศรี |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 238 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 19 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สายตาและการมองเห็นถือเป็นจุดเริ่มต้นในการเรียนรู้ พัฒนาการทางด้านสมอง บุคลิกภาพ ตลอดจนถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยเฉพาะเด็กอนุบาลและประถมศึกษา อายุ 3-12 ปี เด็กที่มีภาวะสายตาผิดปกติและไม่ได้รับการแก้ไขจะมีผลกระทบในเชิงลบต่อการศึกษา และโอกาสการทำงานในอนาคต ซึ่งอาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของตนเอง ครอบครัว และคนในสังคมด้วยเช่นกัน ความผิดปกติของสายตา นับเป็นปัญหาสำคัญประการหนึ่งต่อการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเกิดขึ้นกับเด็กซึ่งเป็นอนาคตของชาติ และอาจเป็นอุปสรรคในการศึกษาเล่าเรียน ทำให้มีผลสืบเนื่องในระยะยาวซึ่งปัญหานี้สามารถแก้ไขได้โดย "การสวมแว่นสายตา” การคัดกรอง การวินิจฉัย และแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติโดยการสวมแว่นสายตา เป็นสิทธิประโยชน์สำหรับเด็กอายุ 3-12 ปี และรัฐบาลได้ผลักดันให้โรงเรียนดำเนินโครงการเด็กไทยสายตาดีปี 2564 - 2568 และในปี 2568 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีนโยบายเชิงรุก ขยายช่วงอายุในการคัดกรองสายตา จากเดิมคัดกรองสายตาให้กับเด็ก 3-12 ปี เป็น 3 - 15 ปี
โรงเรียนบ้านควนพนางตุง มีนักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 238 คน แยกเป็น ชั้นอนุบาล จำนวน 47 คน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 27 คน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 27 คน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 27คน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 32 คน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 44 คน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 34 คน และบุคลากร จำนวน 19 คน ดังนั้นโรงเรียนบ้านควนพนางตุง จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพทางด้านสายตาและการมองเห็นให้กับเด็ก จึงได้จัดทำโครงการ I see the future คืนดวงตาสดใส ให้เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านควนพนางตุง ปี 2568 ขึ้น โดยนักเรียนได้รับการตรวจคัดกรองสายตาโดยครูและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หากพบนักเรียนที่มีสายตาผิดปกติ (VA แย่กว่า 20/30 ขึ้นไป) หรือมีความผิดปกติทางตาด้านอื่น ๆ จะได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยนักทัศนมาตรอีกครั้ง หากพบนักเรียนที่มีสายตาผิดปกติที่สามารถแก้ไขได้ด้วยแว่นตาจะต้องได้รับการวัดค่าสายตา และตัดแว่นตาเด็กที่ได้รับวินิจฉัยสายตาผิดปกติ และหากพบความผิดปกติทางสายตาด้านอื่นดำเนินการส่งต่อแพทย์เพื่อวินิจฉัยต่อไป โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลพนางตุงเพื่อดำเนินโครงการ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเพิ่มการคัดกรองสายตาเด็กอายุ 5-12 ปี หรือ อนุบาล - ประถมศึกษา ด้วย E-chart ร้อยละ 90 ได้รับการคัดกรองสายตา ด้วย E-chart |
0.00 | |
2 | เพื่อเพิ่มการแก้ปัญหาทางด้านสายตาด้วยแว่นสายตา เด็กอาย 5-12 ปี หรือ อนุบาล-ประถมศึกษาปีมีความผิดปกติทางสายตา ร้อยละ 90 ของเด็ก อายุ 5-12 ปี หรือ อนุบาล-ประถมศึกษา ที่มีความผิดปกติทางสายตา Va>20/30 ได้รับการแก้ปัญหาด้วยแว่นสายตา |
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
??/??/???? | ประชุมผู้ปกครอง เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการ | 0 | 8,228.00 | - | ||
??/??/???? | คัดกรองซ้ำด้วยเครื่อง Auto refraction สำหรับเด็กที่มีความผิดปกติ (ค่า va 20/30) | 0 | 10,800.00 | - | ||
??/??/???? | กิจกรรมส่งต่อเด็กนักเรียนที่มีปัญหาทางด้านสายตาพบแพทย์ | 0 | 0.00 | - | ||
25 มี.ค. 68 | อบรมให้ความรู้และตรวจคัดกรองสายตาเด็กอนุบาล-ชั้นประถมศึกษา อายุ 5-12 ปี ด้วย E-chart/lea chart | 0 | 9,960.00 | - | ||
รวม | 0 | 28,988.00 | 0 | 0.00 |
- เด็กอายุ 5-12 ปี ได้รับการตรวจสายตาเบื้องต้น
- เด็ก 5-12 ปี ได้รับการแก้ปัญหาด้านสายตา
- เด็กที่มีความผิดปกติทางด้านสายตาที่ไม่สามารถแก้ปัญหาด้วยการตัดแว่น ได้รับการส่งต่อเพื่อพบแพทย์
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2568 13:20 น.