โครงการแม่ลูกสุขภาพดี ทุกชีวีมีสุข
ชื่อโครงการ | โครงการแม่ลูกสุขภาพดี ทุกชีวีมีสุข |
รหัสโครงการ | 68-L2995-1-3 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลาง |
วันที่อนุมัติ | 14 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 29,450.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอัมราน เบ็ญอิสริยา |
พี่เลี้ยงโครงการ | คณะกรรมการกองทุนหลังประกันสุขภาพตำบลบ้านกลาง |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.839,101.521place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด | 80 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีส่งผลให้สภาพสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปผู้หญิงเมื่อแต่งงานมีครอบครัวผลที่ตามมาคือการตั้งครรภ์จะโดยพึงประสงค์หรือไม่พึงประสงค์ก็ตามแต่ สภาพสังคมปัจจุบันผู้หญิงได้เข้ามามีบทบาทในการทำงานมากขึ้น ไม่ว่าจะทำงานบ้านและทำงานนอกบ้านควบคู่กับการดูแลครอบครัวไปด้วยทำให้ขาดการดูแลเอาใจใส่ตัวเอง บางครั้งลักษณะของงานที่ทำบางอย่าง และการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ที่ไม่ถูกต้อง จึงส่งผลกระทบต่อสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ด้วย ดังนั้นหญิงมีครรภ์ควรต้องรู้จักวิธีการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ที่ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดอย่างมีคุณภาพ มารดาและทารกปลอดภัยและมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงต่อเนื่องถึงการให้การดูแลเด็กในช่วงปฐมวัย ซึ่งเป็นทรัพยากรอันทรงคุณค่าและเป็นอนาคตของชาติ ควรให้การเลี้ยงดูให้เจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่สมวัย การส่งเสริมเรื่องต่างๆ ได้แก่ การรับประทานอาหาร การออกกำลังกายการดูแลสุขภาพอนามัย การเลือกใช้ยา การประเมินภาวะเสี่ยงขณะตั้งครรภ์และการปฏิบัติตนต่าง ๆ รวมไปถึงการเตรียมตัวเป็นคุณแม่ การเตรียมตัวเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การดูแลตัวเองหลังคลอด และการดูแลเด็กแรกเกิด เป็นต้น การมีส่วนร่วมของชุมชนให้มีเครือข่ายที่เข้มแข็งได้แก่ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) มีบทบาทสำคัญในการดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบครอบคลุมทุกเพศ ทุกวัย และทุกกลุ่มอายุ และอยู่ใกล้ชิดกับชุมชนมากที่สุด เป็นอาสาสมัครที่ผ่านการอบรมพัฒนาศักยภาพอย่างสม่ำเสมอ สามารถให้ความรู้ด้านสุขภาพเบื้องต้นแก่เพื่อนบ้านได้
จากข้อมูล ย้อนหลัง 3 ปี ตั้งแต่ปี 2565 - 2567 พบว่า มีอัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2500 กรัม ร้อยละ 10.00 ,22.72 และ 4.35 (เป้าหมายไม่เกินร้อยละ 7) อันเนื่องมาจากภาวะโภชนาการ การได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ พฤติกรรมการบริโภคของหญิงตั้งครรภ์ การทำงาน และการพักผ่อนของหญิงตั้งครรภ์
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลาง จึงได้จัดทำโครงการแม่ลูกสุขภาพดี ทุกชีวีมีสุข ขึ้นเพื่ออบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์หรือสามีหรือญาติ หญิงหลังคลอด และอสม. มีความรู้ ความเข้าใจมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และการดูแลสุขภาพแม่ลูกหลังคลอด เพื่อให้เด็กที่อยู่ในครรภ์และที่จะเกิดมาในอนาคต ได้รับการดูแลที่ถูกวิธี เพื่อให้มีสุขภาพกายสุขภาพจิตที่ดี สร้างสายใยรักความผูกพันของครอบครัว และเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติในอนาคตบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์จนกระทั่งหลังคลอด
2.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์หรือสามีหรือญาติ และหยิงหลังคลอดได้มีความรู้ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดี เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์และการดูแลตนเองและทารกหลังคลอดได้อย่างถูกต้อง
3.เพื่อให้เด็กเจริญเติบโตตามวัยและมีพัฒนาการสมวัย
4.เพิ่มศักยภาพ อสม. ในการดูแลหญิงตั้งครรภืและหญิงหลังคลอด จนถึงการประเมินเด็ก 0-5 ปี
5.เพ่อสร้างขวัญและกำลังใจให้กับมารดาหลังคลอดในชุมชน
|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
กลุ่มแม่และเด็กได้รับบริการที่ได้มาตรฐานมีคุณภาพ ส่งผลให้มีสุขภาพดี ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักมากกว่า 2,500 กรัม แม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน และเด็กเจริญเติบโตตามวัยและมีพัฒนาการที่สมวัย
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2568 15:38 น.