โครงการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2568
ชื่อโครงการ | โครงการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2568 |
รหัสโครงการ | 68-l3327-02- |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | อสม.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโหล๊ะบ้า |
วันที่อนุมัติ | 1 เมษายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 7,900.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายสุวิทย์ ทองกัญญา |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ ที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสีย ทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย ปี 2567 พบผู้ป่วย 105,250 ราย (กรมควบคุมโรค,2568) ซึ่งกระจายทั่ว ทุกจังหวัดในประเทศไทย และพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่ มีอายุตั้งแต่ ๕ – ๑๔ ปี แต่ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วยในส่วนสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ปี 2567 จังหวัดพัทลุง พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 2,156 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 412.96 ต่อประชากรแสนคน (ที่มา : รายงานการเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยา (506) กองระบาดวิทยา ณ วันที่ 1 มกราคม 2568)
ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ ประชาชน องค์กรชุมชน โรงเรียน ศาสนสถาน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง การดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออก
สถานการณ์โรคไข้เลือดออกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองใหญ่ จึงได้จัดทำโครงการ “รณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2568” ขึ้น โดยเน้นการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความตระหนัก และร่วมกันรับผิดชอบ ในการดำเนินงานเพื่อป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพและเพื่อลดอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกในพืนที่อย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชากรในชุมชน อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง ร้อยละ20 |
0.00 | 0.00 |
2 | เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธีและเหมาะสม ควบคุมโรคได้ตามมาตรการ 3-3-1 |
0.00 | |
3 | เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ในชุมชน ศุนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิด หมู่บ้าน/ชุมชนสามารถควบคุมไข้เลือดออกได้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 สถานศึกษาได้รับการพ่นหมอกควันหรือละอองฝอยก่อนเปิดเทอมทุกแห่ง ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 7,900.00 | 0 | 0.00 | |
1 ก.พ. 68 - 30 ก.ย. 68 | รณรงค์ป้องกันและควบคุมโรค ให้ความรู้ และกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย | 0 | 7,900.00 | - |
1.ประชาชนมีการจัดการสิ่งแวดล้อมในบ้านเรือนตนเองไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายและใช้ทรายที่มีฟอส สเปรย์ และโลชั่นทางกันยุงหรือวิธีการอื่น ๆ ในการป้องกันโรคไข้เลือดออก
อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องโรคไข้เลือดออก
อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง
ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
3.มีการพ่นสารเคมีแบบละอองฝอยหรือหมอกควันกำจัดยุงลายตัวแก่ที่ทันเวลา ตามมาตราการ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2568 15:17 น.