โครงการส่งเสริมการแพทย์แผนไทย ประจำปี 2568 “เจ็บปวดคราใด คิดถึงยาไทยก่อนไปหาหมอ”
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมการแพทย์แผนไทย ประจำปี 2568 “เจ็บปวดคราใด คิดถึงยาไทยก่อนไปหาหมอ” |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก |
วันที่อนุมัติ | 26 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 27,050.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางอโนชา เลาหวิริยานนท์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 80 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การป้องกัน และส่งเสริมสุขภาพ เป็นกระบวนการปฏิบัติเพื่อให้เกิดสุขภาพทั้งกายและใจให้แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ แต่ขาดในเรื่องความตระหนักและจะกลับมาใส่ใจสุขภาพ เมื่อมีการเจ็บป่วยเกิดขึ้นทั้งกับตนเองหรือคนในครอบครัวจึงไม่สามารถช่วยเหลือเบื้องต้นได้อย่างทันท่วงที ประกอบกับการดำรงชีวิตในปัจจุบันที่มีความเร่งรีบ และให้ความสำคัญการทำงานเพื่อหาปัจจัยยังชีพ การพัฒนาทางด้านการแพทย์ที่ประชาชนไม่สามารถพึ่งพาตนเองหรือคนในครอบครัว ประชาชนไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ในการดูแลรักษาสุขภาพ ทำให้การดูแลความเจ็บป่วยเบื้องต้นเหล่านั้นไปอยู่ในความดูแลของบุคลากรทางการแพทย์
กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายส่งเสริมการใช้การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกในระบบบริการสาธารณสุขทุกระดับ โดยมียุทธศาสตร์ในการดำเนินงาน เพื่อส่งเสริมสุขภาพตามกลุ่มวัย ด้วยการบริการทางการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก การใช้ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสมุนไพร เพื่อเป็นการรักษาภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทยและส่งเสริมการใช้สมุนไพร นอกจากนี้กระทรวงสาธารณสุขยังมีนโยบายที่สนับสนุนการใช้ยาสมุนไพรเป็นลำดับแรกของการรักษา จึงเกิดประโยคที่ว่า “เจ็บปวดคราใด คิดถึงยาไทยก่อนไปหาหมอ” จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายสมศักดิ์ เทพสุทิน เพื่อเป็นการยกระดับการแพทย์แผนไทยให้มีคุณภาพ และให้ประชาชนเข้าถึงยาสมุนไพรเพิ่มมากขึ้น ลดการนำเข้ายาจากต่างประเทศได้อีกทางหนึ่งด้วย
พื้นที่ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก ประกอบด้วย 5 หมู่บ้าน คือ หมู่ 4, 6, 9, 10 และ 12 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชุมชนกึ่งเมือง มีประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ประมาณ 13,000 คน นอกจากนี้ยังมีประชากรแฝงอีกเป็นจำนวนมาก เมื่อประชาชนมีอาการเจ็บป่วยมักเลือกซื้อยาได้เองจากร้านสะดวกซื้อ หรือร้านขายยาทั่วไป ซึ่งประชาชนจะเลือกซื้อยาแผนปัจจุบันมากกว่ายาสมุนไพร ทั้งนี้ประชาชนเล็งเห็นว่าการใช้ยาแผนปัจจุบันจะทำให้หายเร็วกว่ายาสมุนไพร แต่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับผลที่จะเกิดขึ้นภายหลังจากการรับประทานยาแผนปัจจุบันติดต่อกันเป็นเวลานานๆ เช่น มีการดื้อยาเกิดขึ้นในตัวผู้ป่วย หรือมีโรคที่ไม่คาดขึ้นเกิดขึ้นมาหลังจากรับประทานยาแผนปัจจุบันเป็นเวลานานๆ หรือในประชาชนบางกลุ่มที่อาจเลือกใช้ยาสมุนไพร โดยการซื้อยาจากร้านสะดวกซื้อ ซึ่งเป็นการอ่านสรรพคุณตามฉลากยาข้างกล่อง โดยไม่ทราบรายละเอียดการใช้ยาอย่างแน่ชัด จึงทำให้เกิดการใช้ยาที่ผิดทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายมากกว่าผลดี งานแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเลือกซื้อ เลือกใช้ยาของประชาชนในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก เพื่อให้ประชาชนเลือกใช้ยาสมุนไพรให้ถูกต้องตามอาการ ใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์แผนไทย และให้ประชาชนเข้าถึงบริการด้านการแพทย์แผนไทยอย่างปลอดภัย ได้มาตรฐานและเลือกใช้ยาสมุนไพรในการรักษาโรคเบื้องต้นและเป็นลำดับแรกก่อนที่จะใช้ยาแผนปัจจุบัน ความสำคัญดังกล่าวทำให้เกิดโครงการส่งเสริมการแพทย์แผนไทย ประจำปี 2568 “เจ็บปวดคราใด คิดถึงยาไทยก่อนไปหาหมอ” ให้แก่กลุ่มประชาชนทั่วไปทุกกลุ่มวัยทั้งวัยรุ่น วัยทำงาน เพื่อให้เข้าถึงยาสมุนไพรได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม กลุ่มแกนนำอสม.เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปใช้ในครัวเรือน และเป็นกระบอกเสียงให้กับประชาชนในชุมชนได้รับทราบ กลุ่มผู้สูงอายุที่ให้ความสนใจในเรื่องของการใช้ยาสมุนไพรเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ทั้งนี้เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจในการใช้ยาสมุนไพรในการดูแลสุขภาพเบื้องต้น และสามารถเผยแพร่ความรู้ให้แก่คนในครอบครัวและชุมชนได้อย่างถูกต้องอีกด้วย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อให้กลุ่มแกนนำประชาชน อสม.และกลุ่มผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาสมุนไพรในการดูแลสุขภาพเบื้องต้น
|
0.00 | |
2 | 2. เพื่อให้กลุ่มแกนนำประชาชน อสม.และกลุ่มผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาสมุนไพรประจำบ้านในการรักษาโรคเบื้องต้น
|
0.00 | |
3 | 3. เพื่อให้กลุ่มแกนนำประชาชน อสม.และกลุ่มผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของการใช้ยาสมุนไพรผิดวิธี และสามารถเลือกซื้อยาสมุนไพรอย่างถูกต้องได้
|
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 27,050.00 | 0 | 0.00 | |
??/??/???? | กิจกรรมที่ 1 จัดนิทรรศการความรู้เกี่ยวกับยาสมุนไพรประจำบ้าน แนะนำยาสมุนไพรที่มีใช้ใน รพ.สต. ยาสมุนไพรที่มีขายตามท้องตลาด โดยเจ้าหน้าที่ รพ.สต.สะเตงนอก | 0 | 0.00 | - | ||
??/??/???? | กิจกรรมที่ 2 จัดอบรม | 0 | 27,050.00 | - |
- กลุ่มแกนนำประชาชน อสม.และกลุ่มผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาสมุนไพรในการดูแลสุขภาพเบื้องต้น และเลือกใช้ยาสมุนไพรประจำบ้านในการรักษาโรคเบื้องต้น รวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ให้กับคนในครอบครัว และรอบข้างได้อย่างถูกต้อง
- กลุ่มแกนนำประชาชน อสม.และกลุ่มผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของการใช้ยาสมุนไพรผิดวิธี สามารถเลือกซื้อยาสมุนไพรอย่างถูกต้องได้ และสามารถเผยแพร่ความรู้ให้กับคนในครอบครัว บุคคลรอบข้าง และสามารถเป็นแกนนำหลักในการกระจายความรู้ให้กับคนในชุมชนได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2568 10:04 น.