โครงการควบคุมป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2568 เขตเทศบาลตำบลบางแก้ว อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
ชื่อโครงการ | โครงการควบคุมป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2568 เขตเทศบาลตำบลบางแก้ว อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง |
รหัสโครงการ | 006 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ามะเดื่อ |
วันที่อนุมัติ | 25 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 25 เมษายน 2568 - |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 19,150.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวกฤติยา ชำมริ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลท่ามะเดื่อ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ข้อมูลจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พบว่าโรคเร้อรังหรือโรคไม่ติดต่อเป็นโรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การไม่ออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็มจัด รวมถึงความเครียด ที่เป้นสาเหตุของการเกิดโรคร้าย ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองและหัวใจ มะเร็ง ถุงลมโป่งพองและอ้วนลงพุง และทำให้อายุไขของคนป่วยกลุ่มนี้จะมีอายุต่ำกว่า 60 ปี โดยจากสถิติพบว่า คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคกลุ่มดังกล่าวมากกว่าปีละ 3 แสนคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยคิดเป็นร้อยละ 73 ของสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทย โดยทั่วโลกสาเหตุการตายด้วยโรคกลุ่มดังกล่าวคิดเป็นร้อยละ 63 ของสาเหตุการตายของประชากรโลก ปัจจุบันพบว่าอัตราป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านท่ามะเดื่อ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ถึงแม้ว่าโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ส่วนใหญ่ไม่ทำให้สูญเสียชีวิตทันที แต่ทำให้คุณภาพชีวิตลดลง เกิดความสูญเสียทั้งทางด้านสังคม และเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเมื่อป่วยมี ภาวะแทรกซ้อน ทำให้เกิดข้อจำกัดด้านสามารถหรือมีความพิการหรือเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ดังนั้นการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ระดับความดันโลหิตมีความสำคัญในการควบคุมความรุนแรงของโรค และป้องกันการ เกิดภาวะแทรกซ้อน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยกิจกรรม 3อ 2ส. จึงเป็นวิธีการที่สำคัญในการช่วยให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงสามารถดูแลตนเองและควบคุมโรคได้ ในปีงบประมาณ 2567 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ามะเดื่อมีผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ร้อยละ 54.10 และผู้ป่วยความดันโลหิตสูงไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ร้อยละ 28 อีกทั้งพบอัตราป่วยรายใหม่ของโรคความดันโลหิตสูงต่อแสนประชากรเท่ากับ 2,003.82 และอัตราป่วยรายใหม่ของโรคเบาหวานต่อแสนประชากรเท่ากับ 381.68 จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ผู้ป่วยโรคเรื้อรังในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่ามะเดื่อ มีอัตราการป่วยที่สูง ซึ่งมาตราการในการดูแลรักษาผู้ป่วยจำเป็นต้องอาสํยความรู้ความสามารถของผู้ให้การรักษาและความร่วมมือของผู้ป่วยในการดูแลสุขภาพและป้องกันภาวะแทรกซ้อน เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุขดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่ามะเดื่อ จึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง เพื่อมุ่งเน้นให้มีความรอบรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองได้ถูกต้องและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจนเป็นสาเหตุการเสียชีวิต
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำในการดูแลกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง 2.เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สามารถดูแลตนเองไม่ป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ 3. เพื่อให้กลุ่มป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด/ระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ 4. เพื่อส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโรคเรื้อรัง
|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด/ระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ 2.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมโรคได้ ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน 3.ลดอัตราการเกิดผู้ป่วยเบาหวาน / ความดันโลหิตสูงรายใหม่ 4. มีเครือข่าย/แกนนำด้านสุขภาพในการชุมชนที่มีศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2568 11:40 น.