โครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย กายใจเป็นสุข
ชื่อโครงการ | โครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย กายใจเป็นสุข |
รหัสโครงการ | 68-L5270-1-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดขนุน |
วันที่อนุมัติ | 15 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 15 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 6,090.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสุมาวดี ณะไชยลักษณ์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลวัดขนุน อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 15 ม.ค. 2568 | 30 ก.ย. 2568 | 6,090.00 | |||
2 | 0.00 | |||||
รวมงบประมาณ | 6,090.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ประชากรไทยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเพาะปลูก ได้แก่ การทำนา ทำสวน ทำไร่จะเห็นได้ว่าเกษตรกรส่วนใหญ่จะใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืชโดยไม่
ได้คำนึงถึงอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น ซึ่งสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทางโดยการสัมผัสทางผิวหนังจากการไม่สวมถุงมือและไม่สวมรองเท้าป้องกันขณะทำงาน การ
สูดหายใจละอองที่ฟุ้งในอากาศ การรับประทานอาหารและน้ำดื่นที่มีสารเคมีปนเปื้อน พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นพฤติกรรมที่ส่งผลต่อสุขภาพเกษตรกรทั้งสิ้นการได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะ
เป็นพิษและอันตรายต่อสุขภาพ สามารถเกิดอาการแสดงเฉียบพลันตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนระดับรุนแรงถึงแก่ชีวิต ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของความเป็นพิษ และปริมาณที่ได้รับ นอกจาก
เกษตรกรจะได้รับอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชแล้วยังมีประชาชนทั่วไปที่บริโภคผักและผลไม้ได้รับสารพิษที่ตกค้างได้ ตำบลวัดขนุน อำเภอสิงหนครจังหวัดสงขลา เป็นพื้นที่หนึ่งที่
ประชากรประกอบอาชีพเกษตรกรรมปลูกผัก และรับจ้างในการฉีดพ่นและเก็บผลผลิตจากผลการตรวจหาระดับโคลีนเอสเตอเรสในเลือดในปีงบประมาณ 2563 จำนวน 100 คน พบว่า อยู่ใน
ระดับเสี่ยง/ไม่ปลอดภัย จำนวน 64 ราย คิดเป็นร้อยละ 64.0 ในปีงบประมาณ 2566 มีผู้ตรวจจำนวน 155 คน พบว่า อยู่ในระดับเสี่ยง/ไม่ปลอดภัย จำนวน 101 ราย คิดเป็นร้อยละ 65.16
และผู้ที่มีผลเสี่ยง/ไม่ปลอดภัย มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมาตรวจซ้ำรอบที่ 2 จำนวน 45 ราย เมื่อเข้ารับการอบรมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จะอยู่ในระดับปกติ/ปลอดภัย เพิ่มขึ้นที่
จำนวน 18 ราย คิดเป็นร้อยละ 40 ส่วนใหญ่ผู้ที่มีผลการตรวจเลือดดีขึ้นจะเป็นกลุ่มที่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รับยารางจืดจากโรงพยาบาลสิงหนครและรับประทานยาสมุนไพรรางจืดเอง
ในปีงบประมาณ 2567 มีผู้ตรวจจำนวน 100 คน พบว่าอยู่ในระดับเสี่ยง/ไม่ปลอดภัย จำนวน 87 ราย คิดเป็นร้อยละ 87 ได้รับการจ่ายยารางจืดทุกคน กลุ่มที่ตรวจนี้ส่วนใหญ่จะเป็นรายใหม่
จะเห็นได้ว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นมาก
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดขนุน ได้เห็นถึงความสำคัญจึงได้จัดทำโครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย กายใจเป็นสุข เพื่อดูแลสุขภาพเกษตรกรและผู้บริโภคในชุมชน
ประกอบด้วยการสำรวจข้อมูลเบื้องต้น การเจาะเลือดคัดกรองเพื่อสืบค้นความผิดปกติในระยะแรกเริ่ม โดยการจัดซื้อชุดตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด ซึ่งในปัจจุบันจะไม่ได้รับการสนับสนุน
ชุดตรวจดังกล่าวจากหน่วยงานต้นสังกัด ถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรและผู้บริโภคเกี่ยวกับอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช การบริโภคอาหารและผักปลอดภัย ตลอดจนการแนะนำ
วิธีการรักษาเบื้องต้นโดยใช้สมุนไพรในการล้างพิษเป็นสิ่งสำคัญในการเพิ่มศักยภาพให้แก่ประชาชน เพื่อเป็นผู้นำในการส่งเสริมสุขภาพและส่งผลให้ทุกคนมีสุขภาพดี
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้เกษตรกรและผู้บริโภคมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและสมุนไพรล้างพิษ เกษตรกรและผู้บริโภคมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและสมุนไพรล้างพิษ |
1.00 | 0.00 |
2 | เพื่อให้เกษตรกรและผู้บริโภคมีความรู้ในเรื่องอาหารและผักปลอดภัย เกษตรกรและผู้บริโภคมีความรู้ในเรื่องอาหารและผักปลอดภัย |
1.00 | 0.00 |
3 | เพื่อให้เกษตรกรและผู้บริโภคได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด และมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เกษตรและผู้บริโภคได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดและสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ |
1.00 | 0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 100 | 6,090.00 | 0 | 0.00 | 6,090.00 | |
15 ม.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | จัดอบรมความรู้ เกษตรกรและผู้บริโภค | 100 | 3,690.00 | - | - | ||
15 ม.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกรและผู้บริโภค | 0 | 2,400.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 100 | 6,090.00 | 0 | 0.00 | 6,090.00 |
ขั้นวางแผน (Plan)
1.เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ
ขั้นดำเนินงาน(Do)
1.ประชาสัมพันธ์โครงการ
2.สำรวจข้อมูลเกษตรกรและการใช้สารเคมี
3.ตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกรและผู้บริโภค
4.จัดอบรมความรู้ เกษตรกรและผู้บริโภค จำนวน 100 คน ขั้นสรุปและประเมินผล(Check)
1.สรุปผลการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด
ขั้นปรับปรุงตามผลการประเมิน (Act)
1.กำหนดแนวทางในการปรับปรุงการดำเนินงานในครั้งต่อไปให้มีคุณภาพมากขึ้น
2.จัดทำข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
เกษตรกรและผู้บริโภคปลอดภัยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
ลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการเพาะปลูก
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2568 11:43 น.