กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่าช้าง


“ โครงการการฝึกอบรมให้ความรู้แก่เยาวชนเรื่องท้องไม่พร้อม ”

ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
นางสาวอุบลรัตน์ แก้วเกตุ

ชื่อโครงการ โครงการการฝึกอบรมให้ความรู้แก่เยาวชนเรื่องท้องไม่พร้อม

ที่อยู่ ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 60-L5209-2-28 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 13 กันยายน 2560 ถึง 15 กันยายน 2560


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการการฝึกอบรมให้ความรู้แก่เยาวชนเรื่องท้องไม่พร้อม จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่าช้าง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการการฝึกอบรมให้ความรู้แก่เยาวชนเรื่องท้องไม่พร้อม



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการการฝึกอบรมให้ความรู้แก่เยาวชนเรื่องท้องไม่พร้อม " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 60-L5209-2-28 ระยะเวลาการดำเนินงาน 13 กันยายน 2560 - 15 กันยายน 2560 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 23,166.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่าช้าง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

สังคมไทยในปัจจุบันนี้ เรื่องปัญหาเด็กที่ท้องไม่พร้อมหรือตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรมีสูงมาก ซึ่งมีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายด้าน เช่น ค่านิยมในการคบเพื่อนต่างเพศเป็นเรื่องที่ปกติของวัยรุ่น การใช้ชีวิตอย่างมีอิสระ สามารถทำอะไรได้ตามใจตัวเองมากขึ้น และเรื่องเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปมากทำให้การติดต่อสื่อสารกันระหว่างเพื่อนต่างเพศเป็นเรื่องที่ง่ายมาก จากสถิติล่าสุดพบว่า ในแต่ละปีกลุ่มวัยรุ่นอายุ 15 ปี จนถึงก่อน 20 ปี มีอัตราการตั้งครรภ์และมีการคลอดบุตรอยู่ที่ 44 ต่อ 1,000 คน ของสตรีวัยรุ่นในช่วงอายุเดียวกัน หากเปรียบเทียบกับข้อมูลอัตราการตั้งครรภ์ทั้งหมดปีละ 7 แสนคน จะพบว่าการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นที่อายุต่ำว่า 20 ปี มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 15.3 หรือคิดเป็นจำนวนกว่า 1 แสนคนต่อปี ซึ่งนับเป็นตัวเลขที่น่าตกใจ นอกจากนั้นในจำนวนนี้ยังมีถึงประมาณ 3,000 คน ที่เป็นการตั้งครรภ์และคลอดบุตรโดยมารดาที่อายุยังไม่ถึง 15 ปี ทำให้ส่งผลกระทบทั้งในระดับตัวบุคคล ครอบครัว ชุมชน และสังคมโดยรวม เช่น ปัญหาขาดโอกาสในการเรียนต่อ ต้องลาออกจากทางโรงเรียน โดยเฉพาะปัญหาตรงนี้จะกระทบกับฝ่ายหญิงเป็นส่วนมาก ในขณะที่ฝ่ายชายอาจจะยังเรียนต่อได้ตามปกติ เกิดการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ วัยรุ่นส่วนมากมักจะไม่ค่อยรู้จักการป้องกันเมื่อต้องการมีเพศสัมพันธ์ความเสี่ยงที่จะติดเชื้อโรคจากอีกฝ่ายจึงเป็นเรื่องง่าย เช่น กามโรค โรคเอดส์ ในส่วนของโรคเอดส์เป็นโรคที่ร้ายแรงมากเพราะยังไม่มีการรักษาที่หายขาดได้ ไม่มีวัคซีนป้องกัน และถ้าหากฝ่ายหญิงตั้งท้องยังส่งผลให้เด็กในครรภ์เป็นโรคไปด้วย จากข้อมูลของกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (ยูนิเซฟ) (วันที่ 25 สิงหาคม 2557)กับงานวิจัยล่าสุด ซึ่งชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยกำลังประสบปัญหาระลอกใหม่จากกรณีที่มีเยาวชนติดเชื้อเอชไอวีและเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เพิ่มสูงขึ้น โดยร้อยละ 70 ของผู้ติดเชื้อรายใหม่ของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อยู่ในกลุ่มประชากรอายุระหว่าง 15-24 ปี โดยเฉพาะในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย เยาวชนที่ขายบริการทางเพศ และเยาวชนที่ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น ผลกระทบในครอบครัวสร้างความทุกข์ใจให้กับพ่อแม่ เกิดปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เกิดความขัดแย้งระหว่างพ่อแม่เมื่อประสบปัญหาลูกท้องไม่พร้อมหรือตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร เรื่องการเลี้ยงดูเด็กและเรื่องค่าใช้จ่ายที่ต้องเกิดขึ้นเกี่ยวกับตัวเด็กที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เกิดปัญหาหย่าร้างสูงขึ้นในสถาบันครอบครัวของสังคมไทย อันเนื่องจากเด็กที่ท้องไม่พร้อม ส่วนมากยังอยู่ในช่วงวัยเรียนหนังสือยังขาดความรับผิดชอบ และการตั้งครรภ์ในบางกรณีไม่ได้เพราะความรัก เป็นเพียงการอยากลอง หรือเกิดจากการถูกข่มขืน จึงทำให้ยังไม่พร้อมในการมีครอบครัวและไม่พร้อมสำหรับการที่จะเลี้ยงดูเด็ก ผลกระทบในระดับประเทศคือการขาดแคลนทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพในการพัฒนาประเทศในอนาคต คือการที่ประชากรรุ่นใหม่ไม่สามารถดูแลพึ่งพาตัวเองได้ ต้องเป็นภาระให้กับรัฐในการดูแล เยียวยา ตลอดจนการใช้งบประมาณไปกับการแก้ปัญหามากกว่าที่จะใช้ไปในการพัฒนาประเทศด้านอื่นๆ และจากการผลักดัน พ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงาน และกระทรวงมหาดไทย พร้อมทั้ง 3 กระทรวงทีคอยให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี คือกระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รวมถึงกระทรวงยุติธรรม โดยได้มุ่งให้วัยรุ่นไทยตระหนักรู้ในสิทธิและหน้าที่ของตัวเอง ตามมาตรา 5 อันเป็นหัวใจหลักของ กฎหมายฉบับนี้คือ คือ วัยรุ่นมีสิทธิในการตัดสินใจด้วยตัวเอง หรือสิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสารและความรู้ ด้านการบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ โรงเรียนต้องมีหลักสูตรการเรียนการสอนวิชาเพศศึกษา โดยบุคลากรที่ได้รับการอบรมมาเป็นอย่างดี สิทธิในการได้รับการรักษาความลับและความเป็นส่วนตัว และสิทธิในการได้รับการจัด สวัสดิการสังคม อย่างเสมอภาคและไม่ถูกเลือกปฏิบัติ เช่นเมื่อวัยรุ่นเกิดการตั้งครรภ์ต้องมีโอกาสได้รับการศึกษาต่อตามความประสงค์ หรือการฝึกอาชีพตามความสนใจและความถนัดเพื่อเอื้อประโยชน์ในการหางานได้ตามความต้องการ ซึ่งหากวัยรุ่นได้รับสิทธิและความรู้ความเข้าใจใน กฎหมายฉบับนี้อย่างชัดเจนจะส่งผลให้สถิติการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นลดลงได้ ภายในระยะเวลา 10 ปี มูลนิธิเพื่อนหญิง จึงได้จัดให้มีโครงการ ท้องนี้พร้อมม่าย เพื่อต้องการกระตุ้นด้วยคำถามให้เยาวชนได้รู้คิด ตระหนักถึงปัญหาที่จะตามมา หากยังไม่มีความพร้อมในการที่จะเป็นพ่อแม่ก่อนวัยอันควร ไม่สะดุดหรือมีอุปสรรคใดๆมาทำให้อนาคตของหยุดชะงักเพราะต้องมารับผิดชอบเลี้ยงดู โดยที่ตัวเองยังไม่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ ยังไม่มีความรู้ ความสามารถในการที่จะรับผิดชอบเลี้ยงดูลูกด้วยตัวเอง และกลายเป็นปัญหาและภาระของครอบครัว และให้ตระหนักถึงหน้าที่ในการเรียนหนังสือเพื่ออนาคตที่ดีของตัวเอง โดยมุ่งเสริมสร้างมุมมองต่อชีวิตในเชิงบวก มีทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับมาคติของสังคมที่มีต่อปัญหา ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ เนื้อตัวของฉันร่างกายของฉันบทบาทหญิงชาย การรู้เท่าทันการล่อลวง การเรียนรู้ทักษะชีวิตประจำวัน การรู้จักปฏิเสธเมื่อชักชวน การดูแลคุมกำเนิดอย่างถูกวิธี นอกจาก การได้รับคำแนะนำหรือคำปรึกษาที่ดีและใกล้ชิดจะโนเซ็กส์ หรือ เซฟเซ็กส์ ก็เป็นสิทธิ์ที่วัยรุ่นไทยเลือกได้ เพื่อป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์เมื่อไม่พร้อม

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. เพื่อเสริมสร้างมุมมองต่อชีวิตในเชิงบวก มีทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับมาคติของสังคมที่มีต่อปัญหา ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ เนื้อตัวของฉันร่างกาย บทบาทหญิงชาย การรู้เท่าทันการล่อลวง การเรียนรู้ทักษะชีวิตประจำวัน เช่นการรู้จักปฏิเสธเมื่อชักชวน
  2. 2. เพื่อส่งเสริมให้สถานบันการศึกษาหรือโรงเรียน มีครูที่มีความเข้าใจ สามารถให้คำแนะนำหรือคำปรึกษาที่ดี เพื่อเป็นการแก้ปัญหาและมีทางออกที่ถูกต้อง ไม่เสียสิทธิโอกาสทางการศึกษาและสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างมีคุณภาพ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 66
    กลุ่มวัยทำงาน
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1.นักเรียนที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ถูกต้อง เกี่ยวกับปัญหาท้องไม่พร้อมและป้องกันตัวเองจากปัญหาท้องไม่พร้อมและปัญหาทางเพศได้ 2.คุณครูมีมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับปัญหาท้องในวัยเรียน สามารถให้ความช่วยเหลือแนะนำในเบื้องต้นได้


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ประชุมคณะทำงาน

    วันที่ 11 กันยายน 2560

    กิจกรรมที่ทำ

    ดำเนินการประชุมเพื่อแบ่งหน้าที่  โดยมีสมาชิกสตรีบ้านดินลานเข้าร่วมประชุมเตรียมความพร้อมเรื่องสถานที่ อาหาร อุปกรณ์ประกอบกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

     

     

    10 0

    2. การอบรมให้ความรู้แก่เยาวชนเรื่องเยาวชนเรื่องท้องไม่พร้อม

    วันที่ 15 กันยายน 2560

    กิจกรรมที่ทำ

    การจัดกิจกรรม เน้นการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม โดยแบ่งกิจกรรมเป็น 2 ช่วงคือ ช่วงเช้าจะเป็นกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เสริมสร้างทักษะการใช้ชีวิตรวมกลุ่ม ช่วงบ่าย เป็นกิจกรรมรับความรู้จากวิทยากรเรียนรู้ ทำความเข้าใจ บทบาทหญิง-ชาย  การวิเคราะห์กรณีศึกษา  เพื่อเข้าใจปัญหาท้องไม่พร้อมและปัญหาเยาวชนในมิติอื่นๆ  โดยทีมงานสหวิชาชีพ (ผู้เชี่ยวชาญ)

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

     

     

    66 0

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    นักเรียนที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ มีทัศนคติ ที่ถูกต้อง เกี่ยวกับปัญหาท้องไม่พร้อมและป้องกันตัวเองจากปัญหาท้องไม่พร้อมและปัญหาทางเพศได้  และคุณครูมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับปัญหาท้องในวัยเรียน สามารถให้ความช่วยเหลือ แนะนำได้ในเบื้องต้นได้

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 1. เพื่อเสริมสร้างมุมมองต่อชีวิตในเชิงบวก มีทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับมาคติของสังคมที่มีต่อปัญหา ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ เนื้อตัวของฉันร่างกาย บทบาทหญิงชาย การรู้เท่าทันการล่อลวง การเรียนรู้ทักษะชีวิตประจำวัน เช่นการรู้จักปฏิเสธเมื่อชักชวน
    ตัวชี้วัด : 1.นักเรียนที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ถูกต้อง เกี่ยวกับปัญหาท้องไม่พร้อมและป้องกันตัวเองจากปัญหาท้องไม่พร้อมและปัญหาทางเพศได้

     

    2 2. เพื่อส่งเสริมให้สถานบันการศึกษาหรือโรงเรียน มีครูที่มีความเข้าใจ สามารถให้คำแนะนำหรือคำปรึกษาที่ดี เพื่อเป็นการแก้ปัญหาและมีทางออกที่ถูกต้อง ไม่เสียสิทธิโอกาสทางการศึกษาและสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างมีคุณภาพ
    ตัวชี้วัด : 2.คุณครูมีมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับปัญหาท้องในวัยเรียน สามารถให้ความช่วยเหลือแนะนำในเบื้องต้นได้

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 66
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 66
    กลุ่มวัยทำงาน -
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อเสริมสร้างมุมมองต่อชีวิตในเชิงบวก มีทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับมาคติของสังคมที่มีต่อปัญหา ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ เนื้อตัวของฉันร่างกาย บทบาทหญิงชาย การรู้เท่าทันการล่อลวง การเรียนรู้ทักษะชีวิตประจำวัน เช่นการรู้จักปฏิเสธเมื่อชักชวน (2) 2. เพื่อส่งเสริมให้สถานบันการศึกษาหรือโรงเรียน มีครูที่มีความเข้าใจ สามารถให้คำแนะนำหรือคำปรึกษาที่ดี เพื่อเป็นการแก้ปัญหาและมีทางออกที่ถูกต้อง ไม่เสียสิทธิโอกาสทางการศึกษาและสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างมีคุณภาพ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการการฝึกอบรมให้ความรู้แก่เยาวชนเรื่องท้องไม่พร้อม จังหวัด สงขลา

    รหัสโครงการ 60-L5209-2-28

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางสาวอุบลรัตน์ แก้วเกตุ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด