กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดตั้ง “แกนนำเฝ้าระวังภัยสิ่งเสพติดและสร้างสุขภาพจิตที่ดี”
รหัสโครงการ 68-L8302-2-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มจิตอาสารักษ์มะรือโบ
วันที่อนุมัติ 16 มกราคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2568 - 31 พฤษภาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 33,650.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมูฮำหมัดสุกรี มูฮามา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ เทศบาล ตำบลมะรือโบตะวันตก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน
10.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม ทั้งทางด้านชีวิตและทรัพย์สิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 1 ตำบลมะรือโบตก ซึ่งมีประชากรประมาณ 2,300 คน โดยจากการสำรวจและประเมินพบว่ามีผู้ที่ติดยาเสพติดและผู้ที่เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติดประมาณ 65 - 70 % ของเยาวชนอายุ 15 – 30 ปี โดยใช้ดัชนีชี้วัดจากกลุ่มตัวอย่างคือ จำนวนเยาวชนทุก ๆ 10 คนจะมีเยาวชนที่ติดยาเสพติดและเยาวชนกลุ่มเสี่ยงต่อการใช้สารเสพติดประมาณ 6 – 7 คน และทุก ๆ ปี จะมีบุคคลที่กลายเป็นคนวิกลจริตจากการใช้สารเสพติดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งสาเหตุหลักของการใช้สารเสพติด คือ ความอยากลองและปัญหาครอบครัว ประกอบกับสิ่งแวดล้อมรอบข้างที่มีการใช้ยาเสพติดอย่างแพร่หลายโดยไม่เกรงกลัวกฎหมายและพิษภัย จึงทำให้เกิดปัญหาสังคมอีกหลาย ๆ ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อบุคคลในสังคมทุกเพศและทุกวัย       ทางกลุ่ม ฯ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้าง “แกนนำเฝ้าระวังภัยสิ่งเสพติดและสร้างสุขภาพจิตที่ดี” ขึ้น โดยรวบรวมเยาวชนที่สนใจและเยาวชนที่มีความเสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด ตลอดจนกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ในพื้นที่ เช่น คณะกรรมการชุมชน คณะกรรมการมัสยิด กลุ่มอสม. เป็นต้น มาร่วมกันขับเคลื่อนประเด็นปัญหายาเสพติดและการป้องกันที่ยั่งยืน ตลอดจนกำหนดภารกิจและเป้าหมายของกลุ่มแกนนำ ฯ เพื่อสร้างสังคมที่น่าอยู่และปลอดภัยต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน

จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน

10.00 50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 เม.ย. 68 - 31 พ.ค. 68 อบรมให้ความรู้ยาเสพติด บุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้าและกิจกรรม ศิลปะบำบัด Art therapy 0 11,850.00 -
1 เม.ย. 68 - 31 พ.ค. 68 กิจกรรมเดินป่า ศึกษาธรรมชาติ อาหารเป็นยาและกิจกรรม walk rally เกี่ยวกับยาเสพติด 0 8,400.00 -
1 เม.ย. 68 - 31 พ.ค. 68 กิจกรรม Play & Show day 0 6,500.00 -
1 เม.ย. 68 - 31 พ.ค. 68 กิจกรรมศาสนบำบัด “บรรยายธรรมเกี่ยวยาเสพติดในมุมมองอิสลาม” และกิจกรรม Team building 0 6,900.00 -
รวม 0 33,650.00 0 0.00
  • มีแกนนำอาสาในการเผยแพร่พิษภัยและเฝ้าระวังยาเสพติดที่มีประสิทธิภาพ
  • ผู้เข้าร่วมเข้าใจปัญหายาเสพติดอย่างลึกซึ้งและพร้อมที่จะร่วมกันแก้ปัญหา
  • มีพื้นที่ปลอดภัยในการขับเคลื่อนประเด็นปัญหายาเสพติด
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • มีแกนนำอาสาในการเผยแพร่พิษภัยและเฝ้าระวังยาเสพติดที่มีประสิทธิภาพ
  • ผู้เข้าร่วมเข้าใจปัญหายาเสพติดอย่างลึกซึ้งและพร้อมที่จะร่วมกันแก้ปัญหา
  • มีพื้นที่ปลอดภัยในการขับเคลื่อนประเด็นปัญหายาเสพติด
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ม.ค. 2568 09:44 น.