โครงการการจัดการศพเพื่อป้องกันการติดเชื่อจากศพผู้เสียชีวิต
ชื่อโครงการ | โครงการการจัดการศพเพื่อป้องกันการติดเชื่อจากศพผู้เสียชีวิต |
รหัสโครงการ | 68-L2997-02-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมผู้สูงอายุตำบลบ้านน้ำบ่อ |
วันที่อนุมัติ | 28 พฤศจิกายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 27 มกราคม 2568 - 28 มกราคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 21 กุมภาพันธ์ 2568 |
งบประมาณ | 48,740.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางยีร๊ะ เจ๊ะแว |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายสุริยา รอซี |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบ้านน้ำบ่อ อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.817,101.563place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 120 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการอิสลามมีความเชื่อว่าพระเจ้า (อัลลอฮ์) เป็นผู้สร้างมนุษย์ขึ้นในโลก โดยกำหนดเวลาเกิด เวลาตายไว้ให้แล้ว สัจธรรมข้อหนึ่งที่ทุกคนรู้ดี คือ “ทุกชีวิตต้องลิ้มรสความตาย” แต่ในศาสนาอิสลามนั้น ความตายมิได้เป็นการสิ้นสุดหรือจุดสุดท้ายของชีวิต หากเป็นจุดเริ่มต้นที่จะก้าวไปสู่ชีวิตที่แท้จริงอันเป็นนิรันดร์ อิสลามถือว่าชีวิตในโลกนี้คือการเตรียมตัวสำหรับชีวิตในโลกหน้าอันถาวร ชาวมุสลิมเชื่อว่า เมื่อมนุษย์เสียชีวิตลง วิญญาณของทุกคนจะไปรวมตัวกันอยู่ในโลกหนึ่งที่เรียกว่า “อาลัมบัรซัค” อันเป็นโลกที่คั่นกลางระหว่างโลกนี้กับโลกหน้า ไม่ว่าพวกเขาจะได้รับการฝังอย่างถูกต้องหรือไม่ก็ตาม จนกระทั่งวันแห่งการสิ้นโลกมาถึง ทุกชีวิตจะถูกทำให้ฟื้นขึ้น เพื่อรอรับการตัดสินการกระทำต่างๆ ที่เขากระทำไว้ขณะมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ ความตายจึงไม่ใช่การสิ้นสุดชีวิต แต่เป็นการย้ายชีวิตจากโลกนี้ไปยังโลกหน้าที่สุขสบายกว่า ยั่งยืนกว่า ศาสนาอิสลามจึงสอนให้มนุษย์ระลึกถึงความตายอยู่เสมอจะได้ไม่กระทำความชั่ว ให้กระทำแต่ความดีและอดทนต่อความทุกข์ ความเจ็บป่วยที่ผ่านเข้ามา เพราะนั่นเป็นเพียงบททดสอบถึงความศรัทธา ที่มีต่อ พระเจ้า ผู้ที่ท้อแท้ สิ้นหวังกับชีวิตพึงระลึกไว้เสมอว่าพระเจ้าเป็นที่พึ่ง และทรงมีเมตตาให้อภัยมนุษย์เสมอ ดังนั้น มนุษย์จึงควรทำความดีเพื่อจะได้ใช้ชีวิตในโลกหน้าอย่างมีความสุข เมื่อมุสลิมคนใดคนหนึ่งเสียชีวิต ญาติหรือผู้เกี่ยวข้องจะต้องอาบน้ำ ห่อศพ ละหมาดขอพรและฝังศพที่สุสาน (กุโบร์) โดยต้องรีบจัดการให้เสร็จภายในเวลา ๒๔ ชั่วโมง โดยมีขั้นตอนการดำเนินการ 4 ขั้นตอน คือ 1. อาบน้ำให้คนตาย 2. การกะฝั่น(ห่อศพ) 3. การละหมาดให้คนตาย และ 4. การฝังศพในกุโบร์ ซึ่งขั้นตอนการอาบน้ำศพ (การอาบน้ำญะนาซะฮ) และห่อศพผู้เสียชีวิตนั้น จะทำ กันที่บ้านของผู้เสียชีวิต และผู้ที่จะดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการศพ การอาบน้ำศพนั้น โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นผู้ที่ได้รับการสั่งเสียจากผู้ตายเอง หรือญาติสนิท และโดยส่วนใหญ่ผู้ที่ปฏิบัติมักจะไม่มีการป้องกันอย่างถูกต้องตามหลักสุขลักษณะ เช่น ไม่มีการสวมถุงมือยาง ไม่มีการสวมผ้าปิดปาก เนื่องจากผู้เสียชีวิตมีทั้งเสียชีวิตด้วยโรคภัยไข้เจ็บ เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุ และอื่นๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อหรือแพร่กระจายเชื้อไปยังผู้ที่ทำการอาบน้ำศพได้ เป็นต้น
จากปัญหาและความสำคัญดังกล่าว สภาเด็กและเยาวชน ตำบลบ้านน้ำบ่อ จึงได้เล็งเห็นปัญหาสำคัญนี้ จึงได้จัดโครงการการจัดการศพป้องกันการติดเชื้อ ตามแนวทางศาสนาอิสลาม เพื่อให้ผู้ทำหน้าที่ในการจัดการศพ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการอาบน้ำศพ การห่อศพ การจัดการศพที่ถูกต้องตามหลักการสุขลักษณะและตามหลักศาสนาอิสลามลดการแพร่เชื้อที่อาจเกิดขึ้นแก่ผู้ทำหน้าที่ในการจัดการศพรวมทั้งให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคติดต่อต่างๆ ในการจัดการศพ และวิธีการป้องกันที่ถูกต้องตามสุขลักษณะและหลักการศาสนาอิสลามต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
. 1. ผู้นำศาสนา และประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการจัดการศพเพื่อป้องกันการติดเชื้อ 2. ประชาชนสามารถปฏิบัติจัดการศพ และตระหนักถึงการป้องกันตนเองเพื่อให้ห่างไกลจากการติดเชื้อได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2568 13:38 น.