ให้ความรู้/สร้างทักษะเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรในวัยรุ่นและเยาวชนในตำบลนาโยงเหนือ
ชื่อโครงการ | ให้ความรู้/สร้างทักษะเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรในวัยรุ่นและเยาวชนในตำบลนาโยงเหนือ |
รหัสโครงการ | 68-50117-01-007 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลนาโยง |
วันที่อนุมัติ | 15 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 31 มีนาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 เมษายน 2568 |
งบประมาณ | 12,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายชัยณรงค์ มากเพ็ง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | โรงพยาบาลนาโยง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.566,99.699place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 มี.ค. 2568 | 30 เม.ย. 2568 | 12,000.00 | |||
รวมงบประมาณ | 12,000.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นเรื่องที่ป้องกันได้ แต่วัยรุ่นจำนวนมากยังเข้าไม่ถึงข้อมูลและบริการด้านเพศทำให้วัยรุ่นขาดความรู้และทักษะการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง ไม่ได้รับการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาอย่างต่อเนื่อง ขาดความเข้าใจเรื่องการคุมกำเนิดอย่างถูกวิธี ไม่สามารถควบคุมอารมณ์หรือตนเองเมื่ออยู่กับเพศตรงข้าม ถูกกระตุ้นอารมณ์เพศจากสื่อทางลบ และใช้สารเสพติด รวมทั้งการเข้าไม่ถึงบริการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพ สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยเสริมต่อพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นที่สถานการณ์และแนวโน้มขณะนี้น่าเป็นห่วง จากการศึกษาของโรงพยาบาลรามาธิบดีชี้ให้เห็นว่า ร้อยละ ๘๐ ของการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นการตั้งครรภ์แบบไม่ตั้งใจ และ เป็นการตั้งครรภ์นอกสมรส วัยรุ่นจะมีภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์สูงกว่าผู้ที่มีอายุเกินกว่า ๒๐ ปี เช่น ภาวะโลหิตจาง ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ภาวะคลอดก่อนกำหนดสูง เจ็บครรภ์คลอดนาน การคลอดโดยใช้อุปกรณ์ช่วยคลอด เสี่ยงต่อการผ่าตัดคลอด ภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม และทารกตายในครรภ์ อัตราตายของมารดาอายุ ๑๕-๑๙ ปี สูงกว่ามารดาที่มีอายุ ๒๐-๒๔ ปี ถึง ๓ เท่า และวัยรุ่นยังไม่พร้อมด้านจิตใจสำหรับการเป็นแม่ นอกจากนี้การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นยังก่อให้เกิดปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอีกด้วยคือ การต้องหยุดหรือออกจากการศึกษา ไม่มีงานทำ ค่ารักษาพยาบาลขณะตั้งครรภ์ การคลอดบุตร และการเลี้ยงดูบุตร ปัญหาเหล่านี้ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของทั้งแม่วัยรุ่นและบุตรที่เกิดมา ทำให้ปัญหา“เด็กเกิดน้อยแต่ด้อยคุณภาพ” ของประเทศไทยทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เป็นภาวะวิกฤติหนึ่งที่มีผลกระทบทั้งด้านสุขภาพ ทั้งกาย จิต การศึกษาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ทั้งต่อตัววัยรุ่นเอง ครอบครัว และสังคมไทยในภาพรวม ข้อมูล ๓ ปีย้อนหลังในเขตอำเภอนาโยง มีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี พบว่า อัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ปี ๒๕๖๕ ร้อยละ ๑๘.๙ ปี ๒๕๖๖ ร้อยละ ๑๘.๕๔ ปี ๒๕๖๗ ร้อยละ ๒๗.๒๗
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
18 มี.ค. 68 | อบรมให้ความรู้เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรในวัยรุ่นและเยาวชน | 50 | 12,000.00 | ✔ | 12,000.00 | |
รวม | 50 | 12,000.00 | 1 | 12,000.00 |
นักเรียน ในศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ อ.นาโยง มีความรู้/สร้างทักษะในการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2568 15:07 น.