กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ สตรีร่วมใจต้านภัยมะเร็งเต้านมและปากมดลูก
รหัสโครงการ 68-50117-01-009
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลนาโยง
วันที่อนุมัติ 15 มกราคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2568 - 31 กรกฎาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2568
งบประมาณ 10,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายชัยณรงค์ มากเพ็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาโยงเหนือ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.566,99.699place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2568 31 ส.ค. 2568 10,150.00
รวมงบประมาณ 10,150.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านม
10.00
2 ร้อยละของประชาชนที่มีป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก
20.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทย มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบมากอันดับ ๑ ในเพศหญิง และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยพบมะเร็งเต้านมรายใหม่ ๒๒,๑๕๘ รายต่อปี และมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งเต้านม ๘,๒๖๐ รายต่อปี สถาบันมะเร็งแห่งชาติแนะนำให้หมั่นตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน และสังเกตความผิดปกติเช่น ขนาดหรือรูปร่างของเต้านมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เป็นแผลและอาจมีน้ำเหลืองหรือของเหลวสีคล้ายเลือดไหลออกมาหรือเป็นผื่นบริเวณหัวนม หากพบแพทย์ในระยะแรกสามารถรักษาให้หายขาดได้ มะเร็งปากมดลูกถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๒ ซึ่งพบอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งปากมดลูกสูงเป็นอันดับหนึ่งในผู้หญิงไทย  จากนั้นมีการผลักดันนโยบายการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกระดับประเทศขึ้นทำให้อุบัติการณ์มะเร็งปากมดลูกมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องโดยปัจจุบันมะเร็งปากมดลูกจัดอยู่ในอันดับ ๕ ของมะเร็งที่พบบ่อยในผู้หญิงไทย มีผู้ป่วยรายใหม่เฉลี่ยวันละ ๑๕ ราย หรือ ๕,๔๒๒ คนต่อปี และเสียชีวิตเฉลี่ย วันละ ๖ รายหรือ ๒,๒๓๘ คนต่อปี ปัจจุบันการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV test ได้รับการผลักดันให้เป็นนโยบายของประเทศ ผู้หญิงไทยอายุระหว่าง ๓๐-๖๐ ปี สามารถเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV Test ได้ที่โรงพยาบาลตามสิทธิ์การรักษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่ปัญหาการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในพื้นที่ตำบลนาโยงเหนือยังคงต่ำกว่าเป้าหมาย ข้อมูล ๓ ปีย้อนหลังการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในเขตตำบลนาโยงเหนือ มีแนวโน้มสูงขึ้น พบว่า อัตราการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ปี ๒๕๖๕ ร้อยละ ๕๕.๖๗ ปี ๒๕๖๖ ร้อยละ ๕๖.๘๙ และปี ๒๕๖๗ ร้อยละ ๕๘.๘๕
โรงพยาบาลนาโยงได้เห็นถึงความสำคัญของการส่งเสริมให้สตรีในพื้นที่ตำบลนาโยงเหนือ ได้รับความรู้ สร้างความเข้าใจ เกิดความตระหนักเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก และสมัครใจเข้ารับบริการตรวจคัดกรอง จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก

ร้อยละของประชาชนที่มีป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกลดลง

20.00 10.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
13 มี.ค. 68 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก แก่แกนนำ 55 10,150.00 10,150.00
รวม 55 10,150.00 1 10,150.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

สตรีที่เข้ารับการอบรมมีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกและมีทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกวิธี สามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่สตรีคนอื่นในชุมชนได้ ส่งผลให้ลดอัตราการป่วยและการตายจากโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2568 15:31 น.