รณรงค์ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของไข้เลือดออก
ชื่อโครงการ | รณรงค์ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของไข้เลือดออก |
รหัสโครงการ | 68-50117-02-015 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลนาโยงเหนือ |
วันที่อนุมัติ | 15 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กุมภาพันธ์ 2568 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 35,900.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสุชฎา เพชรขาว |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลนาโยงเหนือ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.566,99.699place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ก.พ. 2568 | 30 ก.ย. 2568 | 35,900.00 | |||
รวมงบประมาณ | 35,900.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลิอดออกเป็นโรคต่อต่อโดยมียุง เป็นพาหะ ที่สร้างความสูญเสียแก่ชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี และพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 5-14 ปี แต่ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย ดังนั้น การดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้ ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซี่งปัญหาของโรคไข้เลิอดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน โรงเรียน ศาสนสถาน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการ จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี 2567 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – เดือนพฤศจิกายน 2567 พบผู้ป่วยสะสมทั่วประเทศ จำนวน 101,581 ราย และมีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน 84 ราย ในพื้นที่ตำบลนาโยงเหนือ มีผู้ป่วยไข้เลือดออก ปี 2567 จำนวน 158 ราย อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาโยงเหนือ จำนวน 122 ราย ไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต จึงนับได้ว่าในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาโยงเหนือ เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลิอดออก อัตราการป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อเทียบจากสถิติการเกิดโรคในปีที่ผ่านมา การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนพฤษภาคม – กันยายนของทุกปี และนิสัยของยุงชอบออกหากินในเวลากลางวัน จึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน โรงเรียน ศูนย์เด็กฯ ศาสนสถาน ดังนั้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของไข้เลือดออก ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลนาโยงเหนือ จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2568 ขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้เลือดออกและให้มีการทำงานอย่างต่อเนื่องมีประสิทธิภาพ ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชน วัด โรงเรียน สถานที่ราชการ ตลอดจนทุกภาคส่วน ร่วมมือผนึกพลังแก้ไขปัญหาไข้เลือดออกร่วมกัน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
1) อัตราการป่วยด้วยโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะนำโรคในชุมชนลดลง 2) ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ 3) ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคไข้เลือดออก
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2568 15:43 น.