โครงการป้องกันภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย |
รหัสโครงการ | 68-L5187-01-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะพานไม้แก่น |
วันที่อนุมัติ | 17 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 33,650.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวโชติมา เมืองพิล |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลสะพานไม้แก่น อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.826,100.783place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ภาวะโลหิตจางระหว่างตั้งครรภ์ หมายถึง สตรีตั้งครรภ์มีความเข้มข้นของเลือดต่ำกว่าเกณฑ์ปกติเป็นความผิดปกติทางระบบเลือดที่พบได้บ่อยที่สุดในระหว่างตั้งครรภ์ สาเหตุที่พบบ่อยมากที่สุด มักเกิดจากการขาดสารอาหารที่จำเป็น โดยเฉพาะธาตุเหล็กเนื่องจากธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง ส่งผลกระทบระหว่างการตั้งครรภ์ของมารดา ได้แก่ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด อาจมีการเสียเลือดระหว่างคลอด นำไปสู่ภาวะช็อค และเสียชีวิตได้ มีการติดเชื้อได้ง่ายและกระทบต่อทารกส่งผลต่อการเจริญเติบโต และพัฒนาการของทารกในครรภ์ ทำให้ทารกเติบโตช้า คลอดก่อนกำหนด และน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จากการศึกษาพบว่าการขาดธาตุเหล็กในสตรีตั้งครรภ์มีผลต่อความสามารถของสมองเด็กในการจดจำ และเรียนรู้สิ่งต่างๆตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยเรียน มีรายงานว่าคุณแม่ที่ขาดธาตุเหล็กตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ จะมีโอกาสทำให้เด็กที่คลอดออกมาเป็นออทิสติกสูงขึ้น และหากขาดธาตุเหล็กในช่วงไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ก็จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคจิตเภทในบุตรถึง 30 % นอกจากนี้ ยังเกี่ยวพันถึงปัญหาทางอารมณ์เมื่อเด็กเติบโตขึ้น เช่น ภาวะซึมเศร้า และวิตกกังวลอีกด้วย
จากการรวบรวมข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ ที่มารับบริการฝากครรภ์ที่ รพ.สต.สะพานไม้แก่น ต.สะพานไม้แก่น อ.จะนะ จ.สงขลา ในปีงบประมาณ 2567ที่ผ่านมาพบว่า มีหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 34.62 และมีทารกที่คลอดน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 13.16 ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะพานไม้แก่น ต.สะพานไม้แก่น อ.จะนะ จ.สงขลา จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องนี้ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | หญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการ การฝากครรภ์ในพื้นที่ มีค่าระดับความเข้มข้นของเลือด มากกว่า 33 % ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเข้มข้นเลือด 33 % |
70.00 | |
2 | เพื่อส่งเสริมให้ทารกแรกเกิดมีน้ำหนัก 2500 กรัม ร้อยละของทารกที่มีน้ำหนัก 2500 กรัมขึ้นไป |
80.00 | |
3 | เพื่อป้องกันอัตราการเกิดไร้ชีพ ร้อยละของอัตราการเกิดไร้ชีพ |
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
13 ก.พ. 68 | กิจกรรมการจัดอบรมให้ความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวของหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด และการดูแลทารกแรกคลอด | 60 | 7,800.00 | - | ||
20 ก.พ. 68 - 20 ก.ย. 68 | กิจกรรมติดตามเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด | 60 | 24,000.00 | - | ||
20 ก.พ. 68 - 20 ก.ย. 68 | กิจกรรมตรวจความเข้มข้นเลือดของหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด ที่มีความเข้มข้นเลือดต่ำกว่า 33 % | 0 | 1,850.00 | - | ||
รวม | 120 | 33,650.00 | 0 | 0.00 |
1.ร้อยละหญิงตั้งครรภ์มีภาวะ HCT ไม่ต่ำกว่า 33 % 2.ทารกแรกคลอดมีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 2500 กรัม 3.อสม.สามารถแนะนำการรับประทานอาหารที่ส่งเสริมภาวะโภชนาการให้แก่หญิงตั้งครรภ์ได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ม.ค. 2568 11:28 น.