กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมโภชนาการผู้สูงอายุ ชะลอชรา ชีวายืนยาว ปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ 2568-L5186-02-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มอสม. หมู่ที่2 ตำบลสะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
วันที่อนุมัติ 4 เมษายน 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2568 - 31 สิงหาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2568
งบประมาณ 14,360.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางหมายมุเหน๊าะ เจ๊ะโส๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เมื่อก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุ ผู้สูงอายุจะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม โดยเฉพาะความเสื่อมถอยของระบบการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย ที่เป็นสาเหตุทำให้ผู้สูงอายุบริโภคอาหารได้น้อยลง เช่น การรับกลิ่นและรสชาติที่เปลี่ยนไป ปัญหาสุขภาพช่องปากและฟัน ภาวะกลืนลำบาก เบื่ออาหาร ความสามารถในการดูดซึมสารอาหารลดลง การเคลื่อนไหวของลำไส้ลดลง ภาวะซึมเศร้า เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุ นำไปสู่การเกิดปัญหาภาวะทุพโภชนาการ ที่เป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ผลกระทบของภาวะทุพโภชนาการในผู้สูงอายุ ทำให้เพิ่มอัตราการเจ็บป่วยอันเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพหรือโรคอื่น ๆ ตามมา ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุลดลงและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตได้อีกด้วย นอกจากนี้วัยสูงอายุยังต้องเผชิญกับปัญหาโรคเรื้อรังและเป็นภาระโรคสำคัญในผู้สูงอายุ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูง เส้นเลือดในสมองแตก โรคหัวใจขาดเลือด โรคอัมพฤกษ์อัมพาต โรคถุงลมโป่งพอง/หลอดลมปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคมะเร็งอวัยวะต่าง ๆ และโรคไตวายเรื้อรังการส่งเสริมสุขภาพให้กับผู้สูงอายุจึงมีความจำเป็นในการดูแลผู้สูงอายุเพื่อคงสภาพและชะลอความเสื่อมสภาพตามอายุให้ยืนนานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ การมีสุขภาพดีขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่อยู่นอกเหนือการควบคุม เช่น พันธุกรรม อายุ เป็นต้นอาหารและโภชนาการเป็นปัจจัยหนึ่งที่สามารถควบคุมได้และมีความสำคัญในการป้องกัน/ชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ภายในร่างกายที่จะนำไปสู่โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ดังนั้น เพื่อเป็นการรองรับสังคมผู้สูงอายุ ทางชมรม อสม. หมู่ที่ 2 ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญจึงได้จัดโครงการส่งเสริมโภชนาการผู้สูงอายุ ชะลอชรา ชีวายืนยาว ปีงบประมาณ 2568 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการเลือกอาหารที่ดีและมีความรอบรู้ด้านโภชนาการชะลอวัย ห่างไกลโรคเรื้อรัง ให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดีและคุณภาพชีวิตที่ดี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารในสัดส่วนที่เหมาะสมเพียงพอ เอื้อต่อการมีภาวะโภชนาการที่ดี เพื่อป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารในสัดส่วนที่เหมาะสมเพียงพอ เอื้อต่อการมีภาวะโภชนาการที่ดี เพื่อป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

85.00 100.00
2 2.เพื่อสร้างความรอบรู้ในการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการผู้สูงอายุที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนและมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ดี

ผู้สูงอายุมีความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการผู้สูงอายุที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนและมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ดี

85.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 พ.ค. 68 - 31 ก.ค. 68 ประชุมชี้แจงแก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ เพื่อกำหนดรูปแบบการดำเนินโครงการ 0 0.00 -
1 พ.ค. 68 - 31 ก.ค. 68 การตรวจคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และวัดรอบเอว พร้อมคำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย 0 10,100.00 -
1 พ.ค. 68 - 31 ก.ค. 68 อบรมให้ความรู้ เรื่อง โภชนาการผู้สูงอายุ ชะลอชรา ชีวายืนยาว 0 4,260.00 -
1 พ.ค. 68 - 31 ส.ค. 68 ติดตามตรวจค่าระดับน้ำตาลในเลือดและวัดความดันโลหิตซ้ำ 0 0.00 -
รวม 0 14,360.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารในสัดส่วนที่เหมาะสมเพียงพอ เอื้อต่อการมีภาวะโภชนาการที่ดี เพื่อป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

2.ผู้สูงอายุมีความรอบรู้ในการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนและมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ดี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2568 08:29 น.